สิทธิของเพื่อนมนุษย์ (ฮักกุนนาส)
Powered by OrdaSoft!

สิทธิของเพื่อนมนุษย์ (ฮักกุนนาส)

       ในคำสอนของอิสลามได้แบ่งสิทธิโดยรวมไว้สองประการ ที่มุสลิมจะต้องระวังรักษาหรือปฏิบัติตามสิทธิดังกล่าว ได้แก่ หนึ่ง "ฮักกุลลอฮ์" (สิทธิของอัลลอฮ์) และสอง "ฮักกุนนาส" (สิทธิของเพื่อนมนุษย์) การละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์ที่พระองค์ทรงกำหนดเหนือมนุษย์แม้จะเป็นเรื่องที่ใหญ่หลวงก็ตาม แต่โอกาสที่พระองค์จะทรงอภัยโทษให้แก่บ่าวของพระองค์นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายดายกว่าการอภัยโทษต่อบ่าวที่ละเมิดสิทธิของเพื่อนมนุษย์

       อัลลอฮ์ทรงให้ความสำคัญต่อการระวังรักษาสิทธิของเพื่อนมนุษย์มากกว่าสิทธิของพระองค์เอง และโดยธรรมชาติแล้ว ใครก็ตามที่ไม่ระวังรักษาสิทธิของเพื่อนมนุษย์ ก็เป็นเรื่องยากที่เขาจะระวังรักษาสิทธิของอัลลอฮ์ได้อย่างสมบูรณ์

      ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวว่า :

 جَعلَ الله سُبحانه حُقوقّ عبادِهِ مُقدّمهً علَی حُقُوقهِ فَمنْ قامَ بِحقُوقُ عبادالله کانَ ذلك مودّیاً الی القیامِ بِحقوقِ الله

      อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงกำหนดให้สิทธิของปวงบาวของพระองค์มาก่อนสิทธิของพระองค์ ดังนั้นผู้ใดที่ดำรงรักษาสิทธิต่างๆ ของปวงบ่าวของพระองค์ สิ่งดังกล่าวก็จะนำไปสู่การดำรงรักษาสิทธิต่างๆ ของอัลลอฮ์

(มีซานุ้ลฮีกมะฮ์ เล่ม 2 หน้า 480)

      ในวจนะอีกบทหนึ่ง ท่านกล่าวว่า :

 اَمّا الظّلم الّذی لا یُترکُ، فَظلمُ العباد بَعضُهُم بعضاً

 สำหรับความอธรรม (และการละเมิดสิทธิ์) ที่จะไม่ถูกละเว้น (และไม่ได้รับการอภัยโทษ) นั้นคือความอธรรมที่ปวงบ่าวมีต่อกันและกัน

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ คุฏบะฮ์ที่ 175)

       คัมภีร์อัลกุรอานได้อธิบายถึงวิธีการชดใช้สิทธิที่ถูกละเมิดของปวงบ่าวที่จะเกิดขึ้นในวันกิยามะฮ์ (ปรโลก) ไว้อย่างชัดเจน โดยกล่าวว่า :

 يَوْمَ يَرَوْنَ الْمَلَائِكَةَ لَا بُشْرَىٰ يَوْمَئِذٍ لِّلْمُجْرِمِينَ وَيَقُولُونَ حِجْرًا مَّحْجُورًا وَقَدِمْنَا إِلَىٰ مَا عَمِلُوا مِنْ عَمَلٍ فَجَعَلْنَاهُ هَبَاءً مَّنثُورًا

       วันที่พวกเขาจะเห็นมะลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) ในวันนั้นจะไม่มีข่าวดีสำหรับผู้ที่กระทำความผิด และมะลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) จะกล่าวว่า

“สวรรค์จะถูกห้ามอย่างเด็ดขาดสำหรับพวกเขา” และเรามุ่งสู่ (ตรวจสอบ) การงานที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ แล้วเราจะทำให้มันไร้คุณค่ากลายเป็นละอองผุ่นที่ปลิวว่อน"

(อัลกุรอานบทอัลฟุรกอน โองการที่ 22-23)

       บนพื้นฐานของโองการนี้ มนุษย์บางคนในวันกิยามะฮ์ (ปรโลก) นั้น อะมั้ล (การกระทำ) และความดีงามต่างๆ ที่พวกเขาเคยปฏิบัติไว้ อย่างเช่น การอิบาดะฮ์ต่างๆ และการบริจากทาน เขาจะพบเห็นมันปลิวว่อนเหมือนฝุ่นละอองที่ไร้ค่า กล่าวคือ ความดีงามที่เขากระทำไว้นั้นจะเป็นโมฆะและสูญเปล่า เขาจะไม่ได้รับผลของความดีงามต่างๆ ที่เขาปฏบัติไว้ เหตุผลดังกล่าวสามารถรับรู้ได้จากวจนะและคำสอนของอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.)

      มีผู้ถามท่านอิมามซัจญาด (อ.) ว่า "หากบุคคลผู้หนึ่งได้ละเมิดสิทธิของพี่น้องมุสลิมของเขา (ในวันกิยามะฮ์) เขา (ผู้ถูกละเมิดสิทธิ) จะทวงสิทธิของเขาคืนได้อย่างไร" ท่านอิมาม (อ.) ได้ตอบว่า "ในวันกิยามะฮ์ สิทธิของผู้ถูกอธรรมจะถูกเอาคืนจากความดีงามของผู้อธรรมในปริมาณเดียวกัน และจะถูกเพิ่มเข้ากับความดีงามของผู้ถูกอธรรม"

      พวกเขาได้ถามต่อไปอีกว่า "หากผู้อธรรมไม่มีความดีงามใดๆ ที่เขากระทำไว้เลย จะเป็นอย่างไร" ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวตอบว่า :

 ان لم یکن للظالم حسنات فانَّ للمظلوم سیئات یوخذ من سیئات المظلوم فتزاد علی سیئات الظالم

 หากผู้อธรรมไม่มีความดีงามใดๆ และผู้ถูกอธรรมมีความชั่วอยู่ ดังนั้นความชั่วของผู้ถูกอธรรมจะถูกยกออกไป และจะถูกนำไปเพิ่มลงในความชั่วของผู้อธรรม

(อัลกาฟี เล่ม 8 หน้า 106)

สิทธิต่างๆ ของเพื่อนมนุษย์ที่เราจะต้องระวังรักษานั้น สามารถสรุปได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. การระวังรักษาและการเคารพในทรัพย์สินของผู้อื่น
  2. การระวังรักษาและการเคารพในชีวิตของผู้อื่น
  3. การระวังรักษาและการเคารพในเกียรติศักดิ์ศรีและชื่อเสียงของผู้อื่น

      ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า :

 مَن کسَرَ مۆمِناً فَعلَیْه جَبْرُهُ

 ผู้ใดที่ทำลายเกียรติของผู้ศรัทธา ดังนั้นจำเป็นที่เขาจะต้องชดใช้มัน

(บิฮารุ้ลอันวาร เล่ม 22 หน้า 351)


ส่วนหนึ่งจากคุตบะฮ์นมาซวันศุกร์ มัสยิดซอฮิบุซซะมาน (อ.)

เรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับ

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 644 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

9801014
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
6382
66939
276559
9045061
1652548
2060970
9801014

พฤ 25 เม.ย. 2024 :: 02:08:10