ผู้ที่มีความยำเกรง(ตักวา)ที่สุด คือผู้ที่เข้าถึงในการทำความดีมากที่สุด
Powered by OrdaSoft!
No result.
ผู้ที่มีความยำเกรง(ตักวา)ที่สุด คือผู้ที่เข้าถึงในการทำความดีมากที่สุด

    อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงตรัสว่า

إِنَّ أَکْرَمَکُمْ عِنْدَ اللَّهِ أَتْقاکُمْ

“แท้จริงผู้ที่มีเกียรติที่สุดในหมู่พวกเจ้า ณ อัลลอฮ์ คือผู้ที่มีความยำเกรงที่สุดในหมู่พวกเจ้า”

(อัลกุรอานบทอัลฮุญุรอต โองการที่ 13)

     ปวงบ่าวผู้ใกล้ชิดอัลลอฮ์หรือเอาลิยาอุลลอฮ์ มีคำพูดที่สวยงามเกี่ยวกับพระดำรัสที่สวยงามของอัลลอฮ์ (ซบ.) โองการนี้ ซึ่งพวกเขากล่าวว่า “ผู้ใดก็ตามที่มีตักวาต่ออัลลอฮ์มากกว่า ความดีงามของเขาที่ส่งผลต่อเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ ก็จะมีมากกว่า” ด้วยเหตุนี้เองอัลลอฮ์ (ซบ.) จึงถือว่าพวกเขามีเกียรติมากกว่าคนอื่น ฉะนั้นความดีงามและความมีเกียรติของมนุษย์นั้นวางรากฐานอยู่บนตักวา คนมีตักวาจะรุดหน้าบุคคลอื่นๆ ในการทำความดี ด้วยกับความมีตักวานี่เองที่จะเป็นปัจจัยกระตุ้นเร้าให้เขาทำความดีต่างๆ อย่างไม่รู้เหนื่อยหน่าย

     ในทัศนะของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ผู้มีตักวาคือมนุษย์ที่มีความดีงามมากที่สุด มีผู้ถามท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า “มนุษย์ที่ดีที่สุดคือใคร” ท่านตอบว่า

أَخْوَفُهُمْ لِلَّهِ وَ أَعْمَلُهُمْ بِالتَّقْوَى وَ أَزْهَدُهُمْ فِی الدُّنْیَا

“ผู้ที่กลัวอัลลอฮ์มากที่สุดในหมู่พวกเขา และกระทำอะมั้ล (ความดีงาม) ด้วยความตักวามากที่สุดในหมู่พวกเขา และเป็นผู้มีความสมถะต่อชีวิตทางโลกมากที่สุดในหมู่พวกเขา”

      คำว่า “กลัวอัลลอฮ์” หมายถึงอะไร?

      ความเกรงกลัวอัลลอฮ์ในทัศนะของบรรดาเอาลิยาอุลลอฮ์นั้น ไม่ได้หมายถึงกลัวในความกริ้วโกรธหรือการลงโทษ (อะซาบ) ของพระองค์ แต่มันหมายถึง “กลัวจากการที่ตนเองจะต้องออกห่างจากความใกล้ชิดพระองค์” ความชั่วและการกระทำที่เป็นการละเมิดฝ่าฝืนนั้น คือสื่อที่จะทำให้มนุษย์ออกห่างจากอัลลอฮ์ (ซบ.) บรรดาเอาลิยาอุลลอฮ์จึงกลัวสิ่งนี้

      ในดุอาอ์กุเมล ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า

يااِلهى ..... صَبَرْتُ عَلى عَذابِكَ فَكَيْفَ اَصْبِرُ عَلى فِراقِكَ

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! ข้าพระองค์อาจจะอดทนต่อการลงโทษของพระองค์ได้ แต่ข้าพระองค์จะอดทนต่อการจำพรากจากพระองค์ได้อย่างไร!”

      คำพูดประโยคนี้ชี้ให้เห็นว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) มีความรักและความผูกพันที่สูงส่งต่อพระผู้เป็นเจ้า สิ่งที่ท่านอิมามอะลี (อ.) กลัวมากที่สุดนั้นไม่ใช่กลัวการลงโทษของพระองค์ แต่ท่านกลัวจากการที่จะต้องจำพรากและออกห่างจากความใกล้ชิดของพระองค์ ความกลัวดังกล่าวนี้เองที่ทำให้บรรดาเอาลิยาอุลลอฮ์หลีกห่างจากความชั่วและการกระทำที่เป็นการละเมิดฝ่าฝืนต่อพระองค์


ที่มา : ส่วนหนึ่งจากคุตบะฮ์วันศุกร์ มัสยิดซอฮิบุซซะมาน (อ.) 

เรียบเรียงโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2017 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้อิสลามสำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 626 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

9844759
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
50127
66939
320304
9045061
1696293
2060970
9844759

พฤ 25 เม.ย. 2024 :: 18:26:19