ลัทธิล่าอาณานิคมยุคใหม่ โดยใช้ประโยชน์จากยุคสุดท้าย (อาคิรุ้ซซะมาน) ตอนที่1
Powered by OrdaSoft!
No result.

ลัทธิล่าอาณานิคมยุคใหม่ โดยใช้ประโยชน์จากยุคสุดท้าย (อาคิรุ้ซซะมาน) ตอนที่1

ลัทธิล่าอาณานิคมยุคใหม่โดยมหาอำนาจตะวันตก เป็นลัทธิที่พยายามหาความชอบธรรมจากศาสนา ลัทธิล่าอาณานิคมมิได้เป็นเรื่องเพ้อเจ้อ เหลวไหลไร้สาระ แต่ทว่ามันคือยุคหนึ่งของประวัติศาสตร์ของโลก......

     จากยุคดังกล่าวได้ทำให้เกิดโลกทั้งสองแบบขึ้น คือ โลกที่พัฒนาแล้วและโลกที่กำลังพัฒนา เป็นยุคที่จะสนองผลประโยชน์ของคนกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ลัทธิล่าอาณานิคมที่มหาอำนาจตะวันตกยกทัพไปบุกประเทศที่อ่อนแอกว่าและปกครองแบบเมืองขึ้นนั้น เกิดจากลัทธิเศรษฐกิจทุนนิยมที่พัฒนาสูงสุด มีความจำเป็นต้องหาดินแดนใหม่เพื่อหาตลาด วัตถุดิบ และค่าแรงที่ต่ำกว่า ลัทธิล่าอาณานิคมจึงเป็นจุดพัฒนาสูงสุดของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม จึงกลายเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนจำนวนมากกว่า 15 ล้านคน ในทวีปอเมริกาต้องถูกทำลาย และทำให้ประชาชนผู้ยากไร้จำนวน 18 ล้านคนในทวีปแอฟริกาต้องตกเป็นทาส (ซึ่งแน่นอนว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นจากผลกระทบอันเป็นความเสียหายของยุคสมัยดังกล่าว)

     เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาร์โนลด์ โจเซฟ ทอยน์บี (Arnold Joseph Toynbee) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ กล่าวว่า "ประเทศที่ยากจนอย่างเช่นอังกฤษ จะไม่สามารถบรรลุสู่ความเป็นจักรวรรดิโลกและเป็นแนวหน้าของการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้หากปราศจากการปล้นสะดม"

     ใช่แล้ว! การล่าอาณานิคม การสะสมความมั่งคั่ง และบรรดานักล่าอาณานิคมผู้มั่งคั่ง เพื่อที่จะดำรงสถานะและการมีอยู่ของตนเอง พวกเขาจำเป็นต้องอาศัยการปล้นสะดมและการฉกชิงทรัพย์! และสิ่งนี้เองที่ซามูเอล ฮันติงตัน (Samuel Huntington) ในกลยุทธ์ของเขาเพื่อที่จะดำเนินชีวิตให้อยู่รอดต่อไปได้ของบรรดานักสะสมความมั่งคั่งของโลกตะวันตก เขาได้กล่าวไว้เช่นนี้ว่า

     "ตะวันตกจำเป็นต้องมีอำนาจทางเศรษฐกิจและการทหารเท่าที่จำเป็นสำหรับการปกป้องผลประโยชน์ต่าง ๆ ของตนเอง ในความสัมพันธ์ที่มีต่ออารยธรรมเหล่านี้ (หมายถึงอิสลามและขงจื้อ)" (1)

     ส่วนหนึ่งจากพื้นที่ต่าง ๆ ที่สำคัญสำหรับสนองตอบเป้าหมายของบรรดานักล่าอาณานิคม ก็คือภูมิภาคตะวันออกกลาง ด้วยเหตุผลของน้ำมันที่มีอยู่ในปริมาณถึง 70% ของโลก และมีแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติในปริมาณ 40% ของโลก จึงกลายเป็นแหล่งสร้างเงินที่สำคัญที่สุด และดึงดูดสายตาของบรรดานักสะสมความมั่งคั่ง และกลายเป็นว่า เพื่อที่จะรักษาความเป็นจักรวรรดิของตนเอาไว้ (โดยเฉพาะในสหัสวรรษที่สามซึ่งเป็นยุคของวิกฤตเชื้อเพลิง ตามคำพูดของเฮนรี่ บรานช์ (Henry Branch) "ประเทศที่มีน้ำมันเท่านั้นที่จะครองความเป็นจักรวรรดิ") พวกเขาจึงจำเป็นต้องหาทางครอบงำเหนือภูมิภาคนี้ ประเด็นดังกล่าวนี้ทำให้เกิดแรงจูงใจอย่างรวดเร็วในการก่อตั้งรัฐอิสราเอลและการอุปโลกน์คำที่แสนอัปยศว่า “ลัทธิไซออนิสต์” (Zionism) ขึ้นมา โดยอาศัยความเชื่อในเรื่องของ “ผู้ช่วยให้รอด” จึงทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า อิสราเอลจะมีบทบาทสำคัญอย่างไรในภูมิศาสตร์ทางการเมืองนี้?

     ธีโอดอร์ เฮอร์เซิล (Theodore Herzel) ผู้ก่อตั้งลัทธิไซออนิสต์ได้ให้คำตอบไว้เช่นนี้ว่า “ทุก ๆ รัฐบาลที่ให้การสนับสนุนการก่อตั้งรัฐยิวนั้น ไม่เพียงแต่จะได้รับความเหนือกว่าบรรดาคู่แข่งทั้งหมดของตนเท่านั้น ทว่ารัฐยิวจะปูทางที่เรียบง่ายให้แก่พวกเขาให้มีอิทธิพลในตะวันออกกลาง”

     ในปี ค.ศ. 1895 เขาได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาซึ่งมีชื่อเรื่องว่า "รัฐยิว" เขากล่าวว่า "ในที่นั้น (ภูมิภาคตะวันออกกลาง) เราจะเป็นเสมือนสนามเพลาะให้แก่ยุโรปในการเผชิญหน้ากับเอเชีย และเราจะยอมเป็นหน้าด่านให้กับอารยธรรมตะวันตกในการเผชิญหน้ากับความป่าเถื่อนของตะวันออก"

     และเช่นนี้เองที่อิสราเอลจะเล่นบทบาทของตำรวจในแหล่งน้ำมันต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง

     ท่ามกลางสิ่งนี้ รัฐบาลอังกฤษในปี 1845 โดย เอ็ดเวิร์ด แอล. มิลฟอร์ด จากกระทรวงอาณานิคมของอังกฤษ ได้หยิบยกข้อเสนอนี้ขึ้นมาว่า "การก่อตั้งชาติยิวในปาเลสไตน์ในรูปของรัฐหนึ่งที่อยู่ในอาณัติและภายใต้การคุ้มครองของบริเตนใหญ่ ซึ่งการคุ้มครองนี้จะถูกยกเลิกในทันทีที่ชาวยิวสามารถดูแลตัวเองได้ ทั้งนี้เนื่องจากการมีรัฐยิวอยู่ในลิแวนต์ (ชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) จะทำให้เราตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นต่อที่จะสามารถสอดส่องทุก ๆ การจู่โจม การรุกล้ำและการคุกคามของบรรดาศัตรูของเราได้" (2)

     อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรมองข้ามความจริงที่ว่า แม้นาย “ธีโอดอร์ เฮอร์เซิล” (Theodore Herzel) ที่ทุกคนรู้จักเขาในนาม "บิดาของลัทธิไซออนิสต์" แต่ขบวนการที่ยุยงส่งเสริมชาวยิวให้อพยพเคลื่อนย้ายไปยังปาเลสไตน์นั้น เขาไม่ใช่ผู้เริ่มต้นและไม่ใช่ผู้ที่ทำให้เกิดขึ้น แต่ชาวคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ของอังกฤษและพวกเคร่งศาสนา ซึ่งในช่วงสามศตวรรษที่ผ่านมาจากการจัดประชุมครั้งแรกของชาวยิว พวกเขาได้กระทำการเช่นนี้

     ในช่วงกลางศตวรรษที่ 16 ชาวโปรเตสแตนต์เริ่มเขียนตำราต่าง ๆ ซึ่งในตำราเหล่านั้นมีการประกาศว่า ชาวยิวทั้งหมดจำเป็นจะต้องออกจากยุโรปไปสู่แผ่นดินปาเลสไตน์

     Puritanism (ลัทธิพวกเคร่งครัดศาสนาในอังกฤษ) มรดกในยุคสมัยของเอลิซาเบธที่ 1 (นางคือธิดาของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ซึ่งเป็นราชินีแห่งอังกฤษในช่วงปี 1558-1606) เอลิซาเบธได้ดำเนินตามบิดาของตนในการต่อต้านคริสตจักรคาทอลิก ซึ่งนับว่าเป็นผู้สนับสนุนอุดมการณ์จักรวรรดิโลกของสเปน ที่ออกมาในรูปของลัทธิพิวริแทนิสม์ (Puritanism) ที่เปลี่ยนนิกายโปรเตสแตนต์ให้เป็นอุดมการณ์การขยายอาณานิคมของอังกฤษ อุดมคติต่าง ๆ ของศาสนาคริสต์ที่บ่งชี้ถึง "การสิ้นโลก" คือการมาของพระคริสต์และสถานปนา “รัฐบาลโลกของศาสนาคริสต์” ซึ่งเป็นหนึ่งในความเชื่อสำคัญของแนวคิดของพวกพิวริแทน (Puritan) ท่ามกลางความเชื่อเช่นนี้ "ดินแดนไซออน" (Zion) มีสถานะที่สำคัญยิ่ง มันคือดินแดนที่จะต้องถูกเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโลกของศาสนาคริสต์ ผลก็คืออุดมคติต่าง ๆ ของครูเสดจากด้านในของนิกายโปรเตสแตนต์จะปรากฏขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

    ในช่วงต้นของศตวรรษที่สิบเจ็ด อุดมคติต่าง ๆ ของพวกพิวริแทน (Puritan) ได้รับการแพร่ขยายและกลายเป็นธงสัญลักษณ์ทางด้านจริยธรรม และเป็นค่านิยมของลัทธิอาณานิคมบริเตนใหญ่ไปในที่สุด การผจญภัยของผู้หื่นกระหายและนักล่า อย่างเช่นชาวโปรตุเกสและชาวสเปนนิกายคาทอลิก ที่ได้สวมใส่เสื้อคลุมแห่งศาสนาให้แก่การเป็นนักล่าของตนเอง และสำแดงมันออกมาในทิศทางที่จะทำให้บรรลุซึ่งพันธะกิจทางศาสนาคริสต์ของตน

    และด้วยเหตุนี้เองที่ ดร.เชม ไวซมานน์ (Chaim Weizmann) นายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอล (มีชีวิตอยู่ระหว่าง ปี ค.ศ.1874 - 1952) ได้กล่าวถึงเหตุผลของการสนับสนุนของบริเตนใหญ่ต่อลูกนอกสมรสของตนคืออิสราเอลไว้เช่นนี้ว่า "พวกท่านมีสิทธิ์ที่จะถามถึงเหตุผลต่าง ๆ ในการสนับสนุนชาวยิวของอังกฤษ และความปรารถนาที่จะให้เกิดรัฐของพวกเขาเพื่อเติมเต็มความฝันต่าง ๆ ของชาวยิวขึ้นในแผ่นดินปาเลสไตน์นั้นคืออะไร? คำตอบก็คือ อังกฤษโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอังกฤษโบราณ คือส่วนหนึ่งของประชาชนที่ได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์โทราห์ (เตาร๊อต) มากกว่าใคร ๆ ทั้งสิ้น และศาสนาที่ปกคลุมอยู่เหนืออังกฤษนั้นมีส่วนช่วยเราอย่างมากที่จะทำให้ความฝันและความมุ่งหวังต่าง ๆ ของเราบรรลุความเป็นจริง”

    หมู่ชนผู้หยาบช้าเหล่านี้ตระหนักได้รวดเร็วกว่าชาวมุสลิมทั้งหมดที่ว่า ไม่ควรมองข้ามพลังที่แฝงเร้นและศักยภาพของ “ความเชื่อในเรื่องของผู้ช่วยให้รอด” ไปได้ เป็นเวลายาวนานหลายปีที่พวกเขาพยายามนำความเชื่อในเรื่องนี้มารับใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ของตนเอง ในทิศทางดังกล่าวนี้ การนำเสนอเรื่องราวที่อุปโลกน์ อย่างเช่น การเตรียมพร้อมตนสำหรับการมาของพระเยซูคริสต์ การทำลายมัสยิดอัลอักซอ การสร้างวิหารโซโลมอนขึ้นมาใหม่ อุดมการณ์เกี่ยวกับอาร์มาเกดดอน (Armageddon) (ในสายตาของพวกเขาสิ่งนี้ไม่ใช่อื่นใดเลยนอกจากเป็นการครอบงำเหนือภูมิภาคตะวันออกกลาง) และการพิชิตเหนืออิสลามอันบริสุทธิ์เพียงเท่านั้น (ปัจจุบันด้วยกับสองคุณลักษณะเฉพาะนี้ คืออุดมการณ์แห่งอาชูรอของท่านอิมามฮุเซน (อ.) และความเชื่อในเรื่องของอิมามมะฮ์ดี (อ.) นี่เอง ที่กลายเป็นหนามที่อยู่ในดวงตาของพวกเขา)

ติดตามต่อ : ลัทธิล่าอาณานิคมยุคสุดท้าย (อาคิรุ้ซซะมาน) ตอนที่ 2


เชิงอรรถ :

     (1) มุฮากะมะฮ์ ไซออนิสม์ อิสราเอล (การพิพากษาลัทธิไซออนิสต์ของอิสราเอล), โรเจอร์ การูดี้, หน้าที่ 145, สำนักพิมพ์กัยฮาน, พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี 1380 (ปีอิหร่าน)

     (2) ตะดารุก แญงก์ บุโซรก (การเตรียมพร้อมอภิมหาสงคราม), กรีซ ฮาลเซิล, หน้าที่ 219


แปลและเรียบเรียงโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2017 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่.

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 174 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

24774509
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
24417
52431
201891
24215661
1040174
1618812
24774509

พฤ 21 พ.ย. 2024 :: 13:25:57