อัลกุรอาน-ฮะดิษ
Powered by OrdaSoft!
No result.

อัลกุรอาน-อัลฮะดิษ

บทดุอาอ์ อัล ฟะร็อจ คำอ่าน และ ความหมาย   ดุอาอ์ อัล ฟะร็อจ คือ ดุอาอ์ ที่ขึ้นต้นด้วยวลี «إِلَهِی عَظُمَ الْبَلاءُ» "อิลาฮี อะซุมัลบะลาอ์" ดุอาอ์ (คำวิงวอน) นี้ ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในหนังสือ "กุนูซุนนะญาห์" ของเชค ฏอบัรซี และยังถูกอ้างถึงในหนังสือต่าง ๆ เช่น วะซาอิลุชชีอะฮ์ (ของ เชค ฮุร  อัลอามีลี) และญะมาลุลอุสบูอ์ (ของซัยยิด อิบนุ ฏอวูส)

ดุอาอ์และซิกร์ ของการสุญูดในนมาซ  การสุญูดถือเป็นสภาพที่ดีที่สุดและใกล้ชิดที่สุดของบ่าวที่มีต่อพระผู้สร้างของเขา ในการสุญูดมนุษย์จะใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้ามากกว่าในสภาพอื่นใดทั้งหมด และเป็นสื่อแสดงให้เห็นว่า ไม่มีสิ่งใดที่จะยิ่งใหญ่ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ สภาพนี้เป็นเครื่องแสดงถึงการยอมศิโรราบต่อพระผู้เป็นเจ้า และการทำตัวมันเองให้เหมือนกับสิ่งถูกสร้างทั้งมวลของพระองค์

คุณลักษณะสามประการของมุญาฮิดีน ในการเผชิญหน้ากับศัตรู  ในคัมภีร์อัลกุรอาน พระผู้เป็นเจ้าทรงอธิบายคุณลักษณะสำคัญสามประการของบรรดานักต่อสู้ (มุญาฮิดีน) ในการเผชิญหน้ากับศัตรู ซึ่งแต่ละคุณลักษณะมีบทบาทสำคัญในการรักษาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการต้านทานต่อภัยคุกคามและการรุกรานต่าง ๆ

ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอิสราเอล  ความช่วยเหลือจากพระเจ้าและการเผชิญกับการคำนวณที่ผิดพลาดเป็นปัจจัยสองประการที่ทำให้ไซออนิสต์ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับชาวยิวที่ละเมิดพันธสัญญาของมะดีนะฮ์ แม้แต่ในปัจจุบันนี้ ความช่วยเหลือของพระเจ้าและการคำนวณที่ผิดพลาดของศัตรูเมื่อเผชิญหน้ากับแนวรบของกองกำลังต่อต้านก็ได้เกิดขึ้นให้เห็นหลายครั้ง

ของขวัญจากท่านอิมามริฎอ (อ.) ที่มอบให้แก่ชาวเมือง “นีชาบูร”  เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดและได้รับการบันทึกไว้อย่างชัดเจนมากที่สุดของการเดินทางของท่านอิมามริฎอ (อ.) ซึ่งถูกบังคับให้เดินทางจากนครมะดีนะฮ์ไปยังอิหร่านในปี ฮ.ศ. 201 ท่านอิมาม (อ.) ได้พำนักอยู่ที่เมือง “นีชาบูร” เป็นระยะเวลาหนึ่ง ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวถึงประเด็นวิลายะฮ์ (อำนาจการเป็นผู้ปกครอง) ของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) และถือว่า “วิลายะฮ์” นี้เป็นหนึ่งในเงื่อนไขของ “เตาฮีด” (การยอมรับในเอกานุภาพของอัลลอฮ์)  

แนวทางควบคุมความโกรธในคำสอนของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)  ความโกรธเป็นหนึ่งในอารมณ์ของมนุษย์ที่ในฮะดีษ (วจนะ) ต่างๆ ได้กำชับให้เราทำการควบคุมมัน ความโกรธที่ไปถึงจุดสูงสุดของมันนั้นสามารถที่จะก่อความเสียหายที่ไม่อาจชดเชยได้แก่ตัวมนุษย์ เนื่องจากเมื่อใครก็ตามไปถึงระดับหนึ่งของความโกรธ เขาจะสูญเสียการควบคุมสติและอารมณ์ของเขาไปได้อย่างมาก และเมื่อนั้นเขาจะทำตามสิ่งที่พลังแห่งความโกรธได้สั่งแก่เขา

สงครามจิตวิทยาของบนีอุมัยยะฮ์ในการต่อต้านอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) การดำเนินการที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของบนีอุมัยยะฮ์ในการแยกประชาชนให้ออกห่างจากอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) คือการสร้างสงครามจิตวิทยา เป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่ประชาชนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของสงครามนี้ในช่วงเวลานั้น และได้แสดงความเคียดแค้นและความเกลียดชังต่อท่านอิมามฮุเซน (อ.) และครอบครัวของท่านในช่วงเหตุการณ์อาชูรอ

 วจนะของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เกี่ยวกับกลุ่มต้านทานแห่งปาเลสไตน์  ตามรายงานว่า ในหนังสือฮะดีษต่าง ๆ นั้น มีริวายะฮ์ (คำรายงาน) จากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ซึ่งตามคำกล่าวของบรรดานักอรรถาธิบายคัมภีร์อัลกุรอาน (มุฟัซซิรีน) และนักรายงานฮะดีษ (มุฮัดดิซีน) ได้ชี้ว่า ฮะดีษ (วจนะ) บทนี้เกี่ยวกับการยืนหยัดต้านทานของกลุ่มต่าง ๆ ในปาเลสไตน์

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 179 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

24774464
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
24372
52431
201846
24215661
1040129
1618812
24774464

พฤ 21 พ.ย. 2024 :: 13:23:19