ความสำคัญของลัยละตุลก็อดริ์ ค่ำคืนแห่งอานุภาพ
ความสำคัญของลัยละตุลก็อดริ์ ค่ำคืนแห่งอานุภาพ

ตามมุมมองของนักศาสนศาสตร์แล้ว ในระบบการสร้างทุกอย่างมีขนาดอันเฉพาะเจาะจงพิเศษของตน ไม่มีสิ่งใดที่ถูกสร้างขึ้นโดยปราศจากการคำนวณนับ โลกมีการคำนวณนับ ซึ่งได้ถูกวางไปตามกฎระเบียบทางคณิตศาสตร์ ส่วนในปัจจุบันและอนาคตก็มีการเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน

    คำว่า"ก็อดร์" ตามพจนานุกรมหมายถึง ขนาด และการวัด[1]

    คำว่า "ตักดีร” หมายถึงการวัดหรือการกำหนด [2]

    แต่คำว่า ก็อดร์ ตามความหมายของนักปราชญ์หมายถึง ความพิเศษ และการมีอยู่ของทุกสิ่ง และ วิธีการสร้างที่[3]

    กล่าวอีกนัยหนึ่ง ขนาดและขอบเขตจำกัด การมีอยู่ของทุกสิ่งซึ่งเรียกว่า ก็อดร์[4]

    ด้วยเหตุนี้ ตามมุมมองของนักศาสนศาสตร์แล้ว ในระบบการสร้างทุกอย่างมีขนาดอันเฉพาะเจาะจงพิเศษของตน ไม่มีสิ่งใดที่ถูกสร้างขึ้นโดยปราศจากการคำนวณนับ โลกมีการคำนวณนับ ซึ่งได้ถูกวางไปตามกฎระเบียบทางคณิตศาสตร์ ส่วนในปัจจุบันและอนาคตก็มีการเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน

    ชะฮีดมุเฏาะฮิรีย์ ได้ตีความคำว่า ก็อดร์ ว่า หมายถึง : การกำหนดขนาดและการวัด เหตุการณ์ของโลก ด้านหนึ่งนั้นจะเห็นว่า มีความจำกัด และมีขนาดทั้งสถานภาพของสถานที่และเวลาได้รับการกำหนดไว้แล้ว ซึ่งการกำหนดนั้นขึ้นอยู่กับพระเจ้าเพียงผู้เดียว [5]

    ดังนั้น สรุปได้ว่าคำว่า ก็อดร์ นั้นหมายถึง ความพิเศษทางธรรมชาติ และคุณสมบัติทางกายภาพของสรรพสิ่งทั้งหลาย รวมทั้งรูปร่าง ขนาด ความยาว ความกว้าง และตำแหน่งของเวลาและสถานที่ของพวกเขา ซึ่งครอบคลุมเหนือทุกสรรพสิ่งที่เป็นวัตถุและธรรมชาติ

    ความหมายดังกล่าวนี้สามารถใช้ประโยชน์จากรายงาน เช่น

    รายงานหนึ่งจากท่านอิมามริฎอ (อ.) ซึ่งได้มีผู้ถามท่านว่า ก็อดร์ นั้นหมายถึงอะไร ?

    ท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า หมายถึงการวัดขนาดของทุกสิ่งรวมทั้งความยาวและความกว้าง[6] และในอีกรายงานหนึ่ง ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวว่า ก็อดร์ นั้นหมายถึง ขนาดของแต่ละสิ่ง เช่น ความยาว ความกว้าง และการดำรงอยู่ของสิ่งนั้น [7]

    ดังนั้น ความหมาย การกำหนดของพระเจ้าหมายถึง ในโลกวัตถุสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น

    ในแง่ของการมีอยู่ ผลสะท้อนคุณลักษณะพิเศษของสิ่งเหล่านั้นมีความจำกัดอันเฉพาะ และการจำกัดนี้มีปฏิสัมพันธ์กับภารกิจอันเฉพาะ การกิจซึ่งมีปัจจัยต่างๆและมีเงื่อนไข และเนื่องจากสาเหตุและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน จึงทำให้ผลและความพิเศษต่างๆ ของสิ่งที่มีอยู่ที่เป็นวัตถุมีความแตกต่างกัน ทุกสรรพสิ่งที่มีอยู่จะถูกวัดขนาดตามกรอบทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งรูปแบบนี้มีขนาด หมายถึงมีความยาว กว้าง รูปทรง สีสัน, สถานที่, เวลา และองค์ประกอบอื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะพิเศษของวัตถุ ดังนั้น ความหมายของคำว่า การกำหนดของพระเจ้าในวัตถุปัจจัย ได้แก่ การชี้นำสรรพสิ่งเหล่านั้นไปสู่แนวทางตามรูปแบบที่มีอยู่ของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งได้รับการกำหนดไว้แล้วสำหรับพวกเขาตามรูปแบบของพวกเขา [8]

    แต่การตีความด้านปรัชญาคำว่า ก็อดร์ หมายถึงปัจจัยคือหลัก (หลักของปัจจัยก็คือการสัมพันธ์จำเป็น และความแน่นอนของเหตุการณ์กับอีกสิ่งอื่น ซึ่งทุกเหตุการณ์ที่จำเป็น สำคัญ และแน่นอนของตนมีขนาดและความพิเศษในการมีอยู่ ได้มาจากภารกิจที่อยู่ก่อนหน้าตน [9]

    หลักของเหตุทั่วไป ระบบของสาเหตุและตัวก่อให้เกิดเหตุการณ์ในโลก และเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในโลกล้วนอยู่ภายใต้บัญชา และทุกเหตุการณ์ ย่อมมีความจำเป็น ความแน่นอนของตน มีรูปทรง มีความพิเศษ เวลา สถานที่ และคุณสมบัติอื่น ๆ ซึ่งการมีอยู่ของสิ่งนั้น มาจากสาเหตุก่อนหน้าตน มีการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ระหว่างสรรพสิ่งที่มี และสาเหตุก่อนหน้ามัน [10]

    แต่สาเหตุการมีอยู่ของสรรพสิ่งที่เป็นวัตถุผสม ประกอบด้วยสาเหตุ วัตถุ เงื่อนไข และการปราศจากอุปสรรคกีดขวาง ซึ่งทั้งหมดล้วนมีผลอันเฉพาะในการเกิด และผลรวมของทั้งหมดจะให้รูปแบบอันเฉพาะ ฉะนั้น ถ้านำเอาสาเหตุทั้งหมด เงื่อนไข และการไม่มีอุปสรรคกีดขวางมารวมกัน จะทำให้เกิดสาเหตุสมบูรณ์ และถือว่า ผลของมันเป็นความจำเป็นที่ต้องมีอยู่ ซึ่งสิ่งนั้นในภาษาศาสนาเรียกว่า การกำหนดของพระเจ้า แต่ทุกสรรพสิ่งที่มีอยู่ล้วนมีสาเหตุและเงื่อนไขและมีรูปแบบอันเฉพาะ ซึ่งองค์ประกอบและลักษณะพิเศษต่างๆ เหล่านั้นได้สร้างการมีอยู่ของตน ในภาษาศาสนาเรียกสิ่งนั้นว่า การกำหนดสภาวะของพระเจ้า

    ดังนั้น เมื่อความหมายของคำว่า ก็อดร์ เป็นที่ประจักษ์แล้ว ความเป็นไปได้ที่จะเข้าใจแก่นแท้ของ ลัยละตุลก็อดริ์ ก็มีมากขึ้น ลัยละตุลก็อดริ์ (คืนแห่งอานุภาพ) หมายถึง คืนซึ่งชะตากรรมของทุกสิ่งจะถูกกำหนดขึ้นในรูปแบบที่ถูกกำหนดเฉพาะ โดยมีขนาดอันเฉพาะสำหรับทุกปรากฏการณ์ที่ชัดเจนซึ่งถูกกำหนดขนาดไว้แล้ว

    ในความหมายที่ชัดเจนกว่าก็คือ ลัยละตุลก็อดริ์ เป็นหนึ่งในสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ตามรายงานของเรากล่าวว่า อาจเป็นคืนใดคืนหนึ่งจากค่ำที่ 19 หรือ 21 และรายงานที่แข็งแรงที่สุดกล่าวว่า อาจเป็นคำที่ 23 ของเดือนรอมฎอน [11]

    ในค่ำคืนนี้ ถือว่าเป็นคืนแห่งการประทานอัลกุรอาน เป็นค่ำคืนที่กำหนดความดี ความชั่ว ประชาชน วิลายะฮ์ ปัจจัยยังชีพ การฮัจญ์ การภักดี และบาป สรุปก็คือ ค่ำคืนนี้ทุกปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้งปีได้ถูกกำหนดขึ้นแล้ว [12]

    ลัยละตุลก็อดริ์ ยังมีอยู่เสมอและจะมีซ้ำทุกปี  การแสดงความเคารพภักดี (อิบาดะฮ์) ในค่ำคืนนี้ จะมีผลบุญและความประเสริฐอย่างยิ่ง ซึ่งในการกำหนดความดีและคุณธรรมให้แก่โชคชะตานั้นมีผลและมีประสิทธิภาพสูง [13]

    ในคืนนี้กิจกรรมทั้งหมดในปีถัดไปจะถูกนำเสนอแก่อิมามแห่งยุคสมัย ซึ่งอิมามจะแจ้งโชคชะตาของตนและของคนอื่นให้ทราบ  ท่านอิมาม บากิร (อ.) กล่าวว่า :

    "ในคำคืนแห่งอานุภาพ (ก็อดร์) ภารกิจและเหตุการณ์ต่างๆ จะถูกประทานให้ท่านอิมาม ซึ่งท่านอิมามจะแจ้งรายละเอียดงานและกิจกรรมเกี่ยวกับตัวท่านและบุคคลอื่นให้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อไป [14]

    ฉะนั้น ลัยละตุลก็อดริ์ (คืนแห่งอานุภาพ) จึงเป็นคืนที่  :

1- อัล-กุรอานได้ถูกประทานลงมาในคืนนี้

2- เหตุการณ์ต่างๆ ของปีหน้าได้ถูกกำหนดในค่ำคืนนี้

3- เหตุการณ์ต่างๆ ได้ถูกนำเสนอต่ออิมามแห่งยุคสมัย (อิมามมะฮ์ดี อ.) แล้วอิมามมีหน้าที่พิจารณาภารกิจเหล่านั้น

    ด้วยเหตุนี้ สามารถกล่าวได้ว่า ลัยละตุลก็อดริ์ (คืนแห่งอานุภาพ) คืนแห่งการกำหนด คืนแห่งการวัดขนาด และคืนแห่งการระบุเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในโลกแห่งวัตถุ

    ประเด็นดังกล่าวนี้ตรงกับโองการอัลกุรอานไว้ในโองการที่ 185 บทอัลบะเกาะเราะฮ์ ซึ่งกล่าวว่า :

 شَهْرُ رَمَضانَ الَّذِی أُنْزِلَ فِیهِ الْقُرْآنُ

"เดือนรอมฎอนคือ เดือนซึ่งอัล-กุรอานถูกประทานลงมา”

    ตามความหมายของโองการดังกล่าว จะเห็นว่าการประทานอัล-กุรอานแบบคราวเดียว (นุซูลดัฟอี) ได้ถูกประทานลงมาในเดือนรอมฎอนนี้เอง ส่วนในโองการที่ 3-5 บท อัดดุคอนกล่าว :

إِنَّا أَنْزَلْناهُ فِی لَیْلَةٍ مُبارَكَةٍ إِنَّا كُنَّا مُنْذِرِینَ فِیها یُفْرَقُ كُلُّ أَمْرٍ حَكِیمٍ أَمْراً مِنْ عِنْدِنا إِنَّا كُنَّا مُرْسِلِینَ

 “แท้จริง เราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอันจำเริญ แท้จริง เราเป็นผู้ตักเตือน ในคืนนั้นทุก ๆ กิจการที่สำคัญถูกจำแนกไว้แล้ว โดยการบัญชามาจากเรา แท้จริง เราเป็นผู้ส่งมา”

    โองการดังกล่าวนี้ชัดให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาในคราวเดียวกัน [ดัฟอีย์] ในคืนหนึ่งซึ่งคืนนั้นได้รับการตีความว่าเป็นคืนที่มีความ จำเริญยิ่ง ทำนองเดียวกันยังได้กล่าวอธิบายไว้ในบท ก็อดร์ อีกว่าอัล-กุรอาน ได้ถูกประทานลงมาใน ลัยละตุลก็อดริ์ (คืนแห่งอานุภาพ)

    ดังนั้น ถ้ารวมอัลกุรอานทั้ง 3 โองการข้างต้นจะทำให้ประจักษ์ชัดว่า

1- อัลกุรอาน ได้ถูกประทานลงมาในเดือนรอมฎอนอันจำเริญ

2- อัลกุรอาน ได้ถูกประทานลงมาค่ำคืนอันมีจำเริญยิ่งแห่งเดือนรอมฎอน

3- คำคืนนี้อัลกุรอาน เรียกว่า ลัยละตุลก็อดริ์ (คืนแห่งอานุภาพ)

4- คุณลักษณะพิเศษของค่ำคืนนี้ โดยการอธิบายของอัลกุรอาน บทอัดดุคอน ประกอบด้วย 2 สิ่ง กล่าวคือ

4.1- คือแห่งการประทานอัลกุรอาน

4.2- ทุกกิจการที่สำคัญ ได้ถูกจำแนกไว้แล้วในค่ำคืนนี้

    แต่อัลกุรอานบทก็อดร์ ซึ่งถือว่าเป็นบทที่มาอธิบายรายละเอียดของโองการในบท

อัดดุคอน ได้กล่าวถึงคุณลักษณะพิเศษของ ลัยละตุลก็อดริ์ (คืนแห่งอานุภาพ) ไว้ 6 ประการด้วยกัน กล่าวคือ :

1- ลัยละตุลก็อดริ์ (คืนแห่งอานุภาพ) คือคืนแห่งการประทานอัล-กุรอาน

 (แท้จริงเราได้ประทาน (อัล-กุรอาน) ลงมาในราตรีอัลก็อดร์)

2 - ลัยละตุลก็อดริ์ (คืนแห่งอานุภาพ) เป็นคืนที่ไม่ถูกรู้จัก ซึ่งการไม่ถูกรู้จักนั้น เนื่องจากความยิ่งใหญ่ของคืนนั้น (เจ้ารู้ไหมว่าราตรีอัลก็อดร์นั้นคืออะไร)

3- ลัยละตุลก็อดริ์ (คืนแห่งอานุภาพ) นั้นมีความวิเศษและความประเสริฐยิ่งกว่า 1000 เดือน (ราตรีอัลก็อดร์นั้นประเสริฐยิ่งกว่าหนึ่งพันเดือน)

4- ในค่ำคืนอันจำเริญยิ่งนี้ หมู่มวลมลาอิกะฮ์และรูฮ์ จะได้รับการอนุญาตจากพระเจ้าให้ลงมายังพื้นโลก (บรรดามลาอิกะฮ์และอัลรูฮ์ ทยอยลงมาในราตรีนั้นโดยอนุมัติแห่งพระผู้อภิบาลของพวกเขา) ซึ่งมีรายงานกล่าวว่าบรรดามลาอิกะฮ์และรูฮ์จะลงมาที่หัวใจของอิมามแห่งยุคสมัย

5- การลงมาของมลาอิกะฮ์และรูฮ์ นั้นเพื่อทุกกิจการงาน ดังที่อัลกุรอานบทอัดดุคอนก็กล่าวอธิบายไว้ว่า (เพื่อกิจการทุกสิ่ง) การประทานดังกล่าวนี้ เท่ากับความเมตตาอันเฉพาะเจาะจงจากพระผู้อภิบาล ซึ่งทรงประทานในบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย และความเมตตานั้นได้ถูกประทานอย่างต่อเนืองจนถึงรุ่งเช้า (ราตรีนั้นมีความศานติ (ความจำเริญและความเมตตา) จนกระทั่งรุ่งอรุณ)

6- และลัยละตุลก็อดริ์ (คืนแห่งอานุภาพ) คืนแห่งการกำหนดสภาวะและขนาด เพราะในบทนี้ มีเพียง 5 โองการเท่านั้น แต่ได้กล่าว ลัยละตุลก็อดริ์ (คืนแห่งอานุภาพ) ซ้ำถึง 3 ครั้งด้วยกัน ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญอันเฉพาะพิเศษของอัล-กุรอาน เกี่ยวกับการกำหนดขนาดและสภาวะ ซึ่งจะไม่มีในคืนใดอีก นอกจาก ลัยละตุลก็อดริ์ (คืนแห่งอานุภาพ) เท่านั้น

    มัรฮูม กุลัยนี บันทึกไว้ในอุซูลกาฟีย์ของท่านโดยรายงานมาจาก ท่านอิมามบากิร (อ.) ซึ่งท่านได้อธิบายความหมายของโองการที่กล่าวว่า

     “แท้จริง เราได้ประทานอัล-กุรอานลงมาในคืนอันจำเริญ” ว่า

 : ลัยละตุลก็อดริ์ (คืนแห่งอานุภาพ) จะเกิดขึ้นในทุกปีของเดือนรอมฎอนในช่วงสิบคืนสุดท้าย เป็นคืนที่อัลกุรอานไม่ได้ถูกประทานลงมาในคืนอื่นใน นอกเสียจากคืนนี้ คืนที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงกล่าวถึงว่า : “ในคืนนั้นทุก ๆ กิจการที่สำคัญถูกจำแนกไว้แล้ว” หลังจากนั้นท่านอิมามได้กล่าวว่า : ลัยละตุลก็อดริ์ (คืนแห่งอานุภาพ) เป็นคืนที่ทุกเหตุการณ์ที่จะต้องเกิดในปีนั้นได้ถูกกำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว ทั้งความชั่วร้ายและความดีงาม การภักดีและการฝ่าฝืน บุตรที่ได้รับการกำหนดว่าจะต้องได้กำเนิด หรือความตายที่ได้รับการกำหนดว่าจะต้องจำพราก หรือปัจจัยยังชีพที่ได้รับการกำหนดว่าจะต้องได้รับ [15]


เชิงอรรถ :

[1] กอมูซกุรอาน ซัยยิดอะลี อักบัร กุเรชชี เล่ม 5 หน้า 246,247

[2] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 248

[3] อัลมีซาน ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุเซน เฏาะบาเฏาะบาอี เล่ม 12 หน้า 150, 151

[4] อ้างแล้วเล่มเดิม เล่ม 19 หน้า 101

[5] มนุษย์กับชะตากรรม ชะฮีดมุเฏาะฮะรีย์ หน้า 52

[6] อัลมุฮาซินุล บัรกีย์ เล่ม 1 หน้า 244

[7] บิฮารุลอันวาร เล่ม 5 หน้า 122

[8] อัลมีซาน เล่ม 19 หน้า 101, 103

[9] มนุษย์กับชะตากรรม ชะฮีดมุเฏาะฮะรีย์ หน้า 53

[10] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 55, 56

[11] อิกบาล อัลอะอฺมาล ซัยยิด อิบนุ ฏอวูซ ค้นคว้าโดย ญะวาด กัยยูมี เอซฟาฮานี เล่ม 1 หน้า 312, 313, 374, 375

[12] อัลกาฟีย์ กุลัยนี เล่ม 4 หน้า 157

[13] อัลมุรอกิบาต มะลิกีย์ ตับรีซีย์ หน้า 237, 252

[14] อัลกาฟีย์ กุลัยนี เล่ม 1 หน้า 248

[15] อัลมีซาน ฟี ตัฟซีริลมีซาน เล่ม 20 หน้า 382 บทวิพากษ์รายงาน ตอนอธิบายโองการในบทดังกล่าว


ที่มา : อัตตักรีบ มะซอฮิบ

Copyright © 2024 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 604 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

25122511
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
23731
36652
235280
24814297
308214
1079962
25122511

ส 21 ธ.ค. 2024 :: 19:08:15