อัลกุรอาน-ฮะดิษ

อัลกุรอาน-อัลฮะดิษ

อีดิลฟิฏร์ในวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่งที่สำรับอาหารแห่งจิตวิญญาณและความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้าในเดือนรอมฎอนอันจำเริญได้ถูกยกไป และหนึ่งเดือนของการยอมตนเป็นบ่าวและการเคารพภักดี (อิบาดะฮ์) พระผู้เป็นเจ้า หนึ่งเดือนแห่งความเมตตาและการอภัยโทษของพระองค์ และหนึ่งเดือนของการปลอดจากความชั่วร้ายของบรรดาชัยฏอน (มารร้าย) ได้สิ้นสุดลงแล้ว

คัมภีร์อัลกุรอาน ทางนำสำหรับมวลผู้ยำเกรง  คัมภีร์อัลกุรอานนั้น แม้จะถูกประทานลงมาเพื่อเป็นทางนำสำหรับมนุษยชาติทั้งมวล แต่ทว่าเฉพาะบรรดาผู้ยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์จากการชี้นำและคำสอนต่าง ๆ

รอมฎอน เดือนแห่งการเลือกเส้นทางของชีวิต จงใช้โอกาสในเดือนรอมฎอนแก้ไขปรับปรุงตนเอง เรามีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงตนเอง เราจำเป็นเป็นต้องขัดเกลาตน เรามีความจำเป็น (ต่อสิ่งนี้) จวบจนลมหายใจสุดท้ายของเรา ชีวิตของมนุษย์ คือ สนามแห่งการต่อสู้ระหว่างการยอมรับสองอำนาจการคุ้มครอง (วิลายะฮ์)  คืออำนาจการคุ้มครองของพระเจ้า กับอำนาจการคุ้มครองของซาตาน (ชัยฏอน)....

วันที่ชัยฏอนมารร้ายจะถูกล่ามโซ่และการวิงวอนขอจะถูกตอบรับ  เมื่อจันทร์เสี้ยวของเดือนรอมฎอนได้ปรากฏขึ้น บรรดาชัยฏอน (ซาตาน) ที่ถูกสาปแช่งจะถูกล่ามโซ่  ประตูแห่งฟากฟ้า ประตูสวรรค์และประตูแห่งความเมตตาของพระเจ้าจะถูกเปิด และประตูนรกจะถูกปิด ประตูนรกจะปิดและดุอาอ์ (การวิงวอนขอ) จะถูกตอบรับ

การดำรงสภาพของการเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้าตลอดเวลา  อิบาดะฮ์ (การนมัสการและการเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า) ของผู้ถือศีลอดนั้น ก็คือการที่เขาจะอดทนต่อความยากลำบากของความหิวกระหาย เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า โดยที่เขาจะหลีกเลี่ยงจากอาหารทุกอย่างแม้แต่สิ่งที่เป็นที่อนุมัติ (ฮะล้าล) ในเดือนอื่นๆ จากเดือนรอมฎอน ดังนั้นเป็นไปได้อย่างไรที่เขาจะกินเนื้อพี่น้องของเขาที่ตายไปแล้ว!

บทดุอาอ์ หลังนมาซวาญิบในเดือนรอมฎอน  ดุอาอ์บทนี้เป็นหนึ่งในดุอาอ์ที่เป็นมุสตะฮับ (ซุนัต) ให้อ่านทุกหลังนมาซวาญิบประจำวันห้าเวลา ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ซึ่งท่านกล่าวว่า :"ผู้ใดที่อ่านดุอาอ์บทนี้ในเดือนรอมฎอนหลังจากนมาซวาญิบ (ฟัรฎูห้าเวลา) อัลลอฮ์จะทรงอภัยโทษบาปทั้งหลายของเขาให้แก่เขาจวบจนถึงวันกิยามะฮ์"...

แบบอย่างแห่งการเสียสละ (อีษาร) ในอัลกุรอานและวจนะของอิสลาม คำว่า “อีษาร” (การเสียสละ) หมายถึง การให้ความสำคัญต่อผู้อื่นก่อนตนเองหรือมากกว่าตนเอง ไม่ว่าจะในเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง วัตถุ หรือจะเป็นเรื่องของการดำเนินชีวิตก็ตาม นับได้ว่าเป็นคุณลักษณะอันสูงส่งประการหนึ่งทางด้านจริยธรรม ซึ่งได้รับการยกย่องสรรเสริญไว้อย่างมากมายในคัมภีร์อัลกุรอาน และในคำรายงาน (ริวายะฮ์) ทั้งหลาย และคุณลักษณะดังกล่าวนี้เกิดจากการที่มนุษย์ได้ขจัดความเห็นแก่ตัวให้หมดสิ้นไปจากตนเอง

บรรทัดฐานการเลือกและตัดสินใจของมนุษย์ คือ พระบัญชาของอัลลอฮ์ ความตกต่ำ ความทุกข์ยากและความหายนะของมนุษย์ส่วนใหญ่ เกิดจากความไร้หลักเกณฑ์ ไร้ระเบียบแบบแผน และขาดซึ่งบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการดำเนินชีวิต สาเหตุที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งที่มีผลอย่างมากในการชักนำมนุษย์ไปสู่ความหลงผิดนั้นอยู่กับสิ่งใด การดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่จะสามารถประสบความสำเร็จและดำเนินไปสู่ความผาสุกที่แท้จริงได้ จะต้องมีหลักเกณฑ์และบรรทัดฐานอย่างไร

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 51 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

25823993
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
931
10878
21082
25771458
11809
136052
25823993

พ 02 เม.ย. 2025 :: 07:22:09