คำประกาศบัลโฟร์ ; รากฐานสำคัญของหนึ่งศตวรรษแห่งอาชญากรรมและการพลัดถิ่นของชาวปาเลสไตน์ดั้งเดิม
Powered by OrdaSoft!
No result.

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2023 คำประกาศบัลโฟร์มีอายุครบ 106 ปี คำประกาศที่นำไปสู่การเกิดขึ้นของอาชญากรรมต่างๆ ต่อปาเลสไตน์และทั่วโลกมานานกว่าศตวรรษ และหากยังคงดำเนินต่อไป ชีวิตของมนุษยชาติทั้งหมดก็อาจตกอยู่ในอันตรายได้

             ในปี 1917  อาร์เธอร์ เจมส์ บัลโฟร์ (Arthur James Balfour) รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษในขณะนั้น ตีพิมพ์คำประกาศที่กลายเป็นที่รู้จักในชื่อ "ปฏิญญาบัลโฟร์" (Balfour Declaration) คำประกาศนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นจดหมายของบัลโฟร์ถึงไลโอเนล วอลเตอร์ รอธไชลด์ หนึ่งในผู้นำที่สำคัญที่สุดของขบวนการไซออนิสต์ ได้กลายเป็นข้อตกลงระหว่างขบวนการไซออนิสต์สากลกับอังกฤษ และได้นำเสนอสิ่งที่ได้ดำเนินอยู่ในความคิดของพวกไซออนิสต์มาเป็นเวลาหลายศตวรรษ จดหมายฉบับนี้ทำให้อังกฤษเป็นผู้ดำเนินการตามความปรารถนาและอุดมคติต่อต้านมนุษย์ของไซออนิสต์

ที่มาของคำประกาศบัลโฟร์

              ปฏิญญาบัลโฟร์ได้รับการเปิดเผยและเผยแพร่โดยอังกฤษหนึ่งปีก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในท่ามกลางสงคราม ประเด็นที่ว่า เหตุใดคำประกาศนี้จึงถูกเปิดเผยในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นคำถามสำคัญที่สามารถให้ความกระจ่างในประเด็นต่างๆ ที่สามารถช่วยขจัดความคลุมเครือหลายประการในปัจจุบันได้

แผนการของลัทธิไซออนิสต์ที่มีต่อจักรวรรดิออตโตมัน

              ในปี 1897  ธีโอดอร์ เฮอร์เซิล (Theodor Herzl) ได้จัดการประชุมสภาไซออนิสต์โลก (World Zionist Congress) ครั้งแรกที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ การอนุมัติทั้งหมดของรัฐสภาครั้งนี้สอดคล้องกับการก่อตั้งบ้านเกิดเมืองนอนของชาวยิวในปาเลสไตน์ด้วยความช่วยเหลือจากบรรดามหาอำนาจของโลกในสมัยนั้น

               ดังนั้น ตามแผนดังกล่าว เฮอร์เซิลและสมาชิกของสภาไซออนิสต์จึงไปยังบรรดามหาอำนาจของโลกในขณะนั้นเพื่อใช้พวกเขาในการดำเนินการตามข้อมตินี้ จุดหมายปลายทางแรกของไซออนิสต์ควรเป็นจักรวรรดิออตโตมัน เนื่องจากปาเลสไตน์อยู่ภายใต้การปกครองของคอลีฟะฮ์ (ผู้ปกครองอิสลาม) แห่งออตโตมันในขณะนั้น แต่เฮอร์เซิลลองวิธีนี้เมื่อหนึ่งปีก่อน เขาจึงรู้ล่วงหน้าแล้วว่าเขาจะไม่ได้อะไรจากกษัตริย์ออตโตมันในขณะนั้นเลย

               วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1896 หนึ่งปีก่อนการประชุมใหญ่ครั้งแรกของไซออนิสต์ เฮอร์เซิลได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งที่อุกอาจถึงสุลต่านอับดุลฮะมีดที่ 2 (Abdul Hamid II) กษัตริย์แห่งออตโตมันในขณะนั้น โดยขอให้เขาอนุญาตให้ชาวไซออนิสต์อพยพไปยังปาเลสไตน์เพื่อแลกกับเงินกู้จำนวน 20 ล้านปอนด์อังกฤษจากชาวไซออนิสต์และอนญาตให้สร้างรัฐบาลชั่วคราวขึ้นที่นั่น ในจดหมายที่อุกอาจของเฮอร์เซิลนั้น เขาอธิบายว่าเงินกู้ดังกล่าวจะกลายเป็นภาษีจากชาวยิวในปาเลสไตน์ ซึ่งจะจ่ายให้กับกษัตริย์ออตโตมันเป็นประจำทุกปี เขาแสดงความอุกอาจมากยิ่งขึ้นถึงขั้นที่ในจดหมายฉบับนี้ เขาขอให้กษัตริย์ออตโตมันส่งจดหมายถึงชาวยิวทั่วโลกเพื่อเชิญพวกเขาอย่างเป็นทางการให้อพยพไปยังปาเลสไตน์เพื่อแลกกับการรับเงินกู้นี้

 คำอธิบายภาพ : คำตอบของสุลต่านอับดุลฮะมีดที่ 2 ต่อธีโอดอร์ เฮอร์เซิล

คำอธิบายภาพ : คำตอบของสุลต่านอับดุลฮะมีดที่ 2 ต่อธีโอดอร์ เฮอร์เซิล

คำตอบที่เด็ดขาดของกษัตริย์ออตโตมัน

                สุลต่านอับดุลฮะมีดที่ 2  ในวันที่ 17 กรกฎาคม 1901 ในช่วงเวลาที่รัฐบาลของพระองค์อยู่ในภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอและข้อพิพาทภายในและการสมคบคิดต่างๆ ในระดับภูมิภาคทำให้เกิดปัญหากับพระองค์มากมายนั้น แต่พระองค์ก็ทรงปฏิเสธที่จะมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้แม้เพียงคืบเดียว และในการตอบจดหมายของเฮอร์เซิล พระองค์ทรงตรัสว่า :

“ข้าพเจ้าขอแนะนำ ดร. เฮิร์ซล์ อย่าดำเนินการอย่างจริงจังในเรื่องนี้ เพราะข้าพเจ้าไม่สามารถละทิ้งดินแดนปาเลสไตน์ได้แม้แต่นิ้วเดียว มันไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของข้าพเจ้า แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของประชาชาติอิสลาม และประชาชนของข้าพเจ้าต้องดิ้นรนต่อสู้ เพื่อแผ่นดินนี้และปกป้องรักษามันไว้ด้วยเลือดของพวกเขา ขอให้ชาวยิวจงเก็บเงินล้านไว้เถิด และถ้าหากวันหนึ่งรัฐคอลีฟะฮ์ล่มสลาย” เมื่อนั้นพวกเขา (ชาวปาเลสไตน์) ก็จะสามารถรับเอาปาเลสไตน์ไว้ได้โดยไม่เสียราคา แต่ในขณะที่ข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่การผ่าแยกส่วนในร่างกายของข้าพเจ้ายังจะง่ายกว่าที่จะเห็นปาเลสไตน์ถูกตัดออกจากรัฐคอลีฟะฮ์ และนี่คือสิ่งที่จะไม่เกิดขึ้น ข้าพเจ้าไม่สามารถยินยอมให้ผ่าร่างกายของเราในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่”

               คำตอบที่ชวนตะลึงนี้ ซึ่งเกิดขึ้นจากความคิดอันแน่วแน่ไม่ยอมอ่อนข้อให้ของอิสลาม เช่นเดียวกับปมที่ซ่อนอยู่ในชาวไซออนิสต์ ได้นำพวกเขาไปยังมหาอำนาจอื่น ๆ ในยุคนั้น ซึ่งอังกฤษเป็นหัวหน้าของมหาอำนาจเหล่านั้น

การฉวยโอกาสของตระกูลรอธส์ไชลด์ (Rothschilds)

              เนื่องจากความล้มเหลวของเฮอร์เซิลในการโน้มน้าวกษัตริย์ออตโตมัน หลังจากจัดการประชุมสภาหลายครั้ง ชาวไซออนิสต์ได้กระตุ้นเซลล์ (สมาชิก) ทั้งหลายของลัทธิไซออนิสต์ที่แฝงตัวอยู่ในประเทศอื่นๆ ซึ่งที่สำคัญที่สุดคือตระกูลรอธไชลด์ในอังกฤษ ตามที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ บัลโฟร์เป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษก่อนที่เขาจะกลายเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ เขาได้กลับคืนสู่ตำแหน่งผู้นำโดยได้รับความช่วยเหลือจากตระกูลรอธไชลด์ แม้ตามรูปการแล้วเขาไม่ใช่ชาวไซออนิสต์ แต่เขาก็ยึดมั่นในอุดมคติของพวกเขามากเท่ากับชาวไซออนิสต์ ดังนั้นเขาจึงขึ้นสู่อำนาจด้วยความช่วยเหลือของรอธไชลด์ ชาวไซออนิสต์นับตั้งแต่ความสิ้นหวังจากสุลต่านอับดุลฮะมีด ชาวไซออนิสต์ต่างเฝ้ารอโอกาสที่เหมาะสม โดยที่สถานการณ์ของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้มอบโอกาสนี้ให้แก่พวกเขา

ปี 1917 ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งชัยชนะของอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

              ปี 1917 ในช่วงเวลาที่มีการเผยแพร่คำประกาศบัลโฟร์ เป็นช่วงเวลาที่อังกฤษได้รับชัยชนะต่างๆ ที่ครั้งสำคัญในสนามของสงครามโลกครั้งที่ 1 พวกไซออนิสต์รับรู้ถึงสถานะที่เหนือกว่าของอังกฤษเป็นอย่างดี หนึ่งเดือนหลังจากคำประกาศบัลโฟร์ อังกฤษได้ยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ทั้งหมด และส่งนายพลชาวยิวชื่อ "อัลเลนบี" มาปกครองกรุงเยรูซาเลม ในการปรากฏตัวครั้งแรกในกรุงเยรูซาเลม  "อัลเลนบี" ได้ประกาศว่า วันนี้สงครามครูเสดได้สิ้นสุดลงแล้ว

              อังกฤษได้ปกครองปาเลสไตน์ตั้งแต่นั้นมา และช่วงเวลานี้เป็นโอกาสที่ชาวไซออนิสต์รอคอยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการควบคุมปาเลสไตน์และแก้แค้นสุลต่านอับดุลฮะมีด

              ก่อนหน้านั้นไม่นาน บัลโฟร์ก็ได้กลับคืนสู่อำนาจด้วยความช่วยเหลือของรอธส์ไชลด์ อังกฤษซึ่งอ่อนแอลงอย่างรุนแรงในด้านเศรษฐกิจเนื่องจากการเข้าร่วมในสงครามนั้น ด้วยกับคำสัญญาการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจาก รอธส์ไชลด์ อังกฤษจึงได้ให้สัญญากับชาวไซออนิสต์ถึงอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนปาเลสไตน์

 

              คำสัญญาที่อังกฤษให้กับชาวไซออนิสต์ คือจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติจริงของชาวไซออนิสต์ในการปกครองปาเลสไตน์ ซึ่งเริ่มต้นด้วยความช่วยเหลือของอังกฤษ ไซออนิสต์เข้าสู่ปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการโดยมี "อัลเลนบี" ปรากฏตัวอยู่ด้วย และอาชญากรรมของพวกเขาเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อาชญากรรมที่เกิดขึ้นมานานถึง 106 ปี

             สิ่งที่ไซออนิสต์กำลังดำเนินการไม่เพียงแต่เฉพาะเจาะจงกับปาเลสไตน์เท่านั้น และในด้านภูมิศาสตร์นั้นนั้นจะครอบคลุมอาณาเขตตั้งแต่อียิปต์ไปจนถึงอิหร่าน และในด้านเศรษฐกิจก็มีเป้าหมายที่จะครองเศรษฐกิจโลกทั้งหมด หากกระบวนการนี้ไม่ถูกหยุดยั้งด้วยมุมมองของการต่อต้านการกดขี่และการไม่ยอมอ่อนข้อให้ของอิสลามแล้ว วันหนึ่งมนุษยชาติทั้งมวลจะต้องตกอยู่ในอันตราย อันตรายซึ่งทุกวันนี้เราก็ได้เห็นตัวอย่างของผลลัพธ์ของมันแล้วในด้านเศรษฐกิจ เกษตรกรรมและชีวภาพ


ที่มา : สำนักข่าวตัสนีม

แปล/เรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2023 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 157 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

24774443
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
24351
52431
201825
24215661
1040108
1618812
24774443

พฤ 21 พ.ย. 2024 :: 13:20:59