"เยามุตตะนาด" วันแห่งการร้องเรียกขอความช่วยเหลือ

เยามุตตะนาด วันแห่งการร้องเรียกขอความช่วยเหลือ

     หนึ่งในสำนวนของคัมภีร์อัลกุรอานที่ชี้ถึงสภาพความน่าสะพรึงกลัว ความทุกข์ยากและสภาพความเลวร้ายต่างๆ ที่ผู้ปฏิเสธศรัทธาและคนชั่วจะต้องเผชิญในวันมะห์ชัร (วันที่ทุกคนจะถูกทำให้มีชีวิตขึ้นใหม่อีกครั้งและมารวมตัวกันเพื่อรับฟังคำพิภากษา) คือสิ่งที่ถูกกล่าวถึงในโองการที่ 32 ของบท(ซูเราะฮ์)ฆอฟิร โองการนี้ได้กล่าวถึงวันแห่งการพิพากษาหรือวันกิยามะฮ์ด้วยสำนวน "เยามุตตะนาด" (วันแห่งการร้องเรียกขอความช่วยเหลือต่อกันและกัน)

"เยามุตตะนาด" คือวันอะไรและหมายความว่าอะไร?

      เราทุกคนคงเคยเห็นคนที่ร้องเรียกขอความช่วยเหลือและขอการอนุเคราะห์จากคนอื่นๆ กันบ้างแล้ว เราลองนึกภาพของคนที่กำลังจะจมน้ำอยู่ในแม่น้ำลำคลองหรือกลางทะเลและจะร้องเรียกหาความช่วยจากคนรอบด้านตลอดเวลา

      แต่ไม่มีใครสามารถที่จะให้การช่วยเหลือแก่เขาได้ สภาพและวันเช่นนี้ก็จะเกิดขึ้นกับคนบางกลุ่มในวันแห่งมะห์ชัรหรือวันกิยามะฮ์ คัมภีร์อัลกุรอานได้บรรยายสภาพของคนกลุ่มนี้ โดยอ้างคำพูดของ "มุอ์มิน อาลิ ฟิรเอาน์" (ผู้ศรัทธาจากวงศ์วานของฟาโรห์) ซึ่งกล่าวว่า :

وَيَا قَوْمِ إِنِّي أَخَافُ عَلَيْكُمْ يَوْمَ التَّنَادِ يَوْمَ تُوَلُّونَ مُدْبِرِينَ مَا لَكُم مِّنَ اللَّهِ مِنْ عَاصِمٍ ۗ وَمَن يُضْلِلِ اللَّهُ فَمَا لَهُ مِنْ هَادٍ

"และโอ้หมู่ชนของฉันเอ๋ย! แท้จริงฉันกลัววันแห่งการร้องเรียกหาความช่วยเหลือต่อกันและกันจะเกิดขึ้นกับพวกท่าน วันที่พวกท่านจะหันหลังหนี ไม่มีผู้ใดจะช่วยปกป้องพวกท่านให้พ้นจากการลงโทษของอัลลอฮ์ได้ และผู้ใดที่อัลลอฮ์ทรงปล่อยให้เขาหลงผิดแล้ว ก็จะไม่มีผู้ชี้นำทางให้แก่เขาได้" (1)

     หนึ่งในสำนวนของคัมภีร์อัลกุรอานที่ชี้ถึงสภาพความน่าสะพรึงกลัว ความทุกข์ยากและสภาพความเลวร้ายต่างๆ ที่ผู้ปฏิเสธศรัทธาและคนชั่วจะต้องเผชิญในวันมะห์ชัร (วันที่ทุกคนจะถูกทำให้มีชีวิตขึ้นใหม่อีกครั้งและมารวมตัวกันเพื่อรับฟังคำพิภากษา) คือสิ่งที่ถูกกล่าวถึงในโองการที่ 32 ของบท(ซูเราะฮ์)ฆอฟิร โองการนี้ได้กล่าวถึงวันแห่งการพิพากษาหรือวันกิยามะฮ์ด้วยสำนวน "เยามุตตะนาด" (วันแห่งการร้องเรียกขอความช่วยเหลือต่อกันและกัน) คำว่า "ตะนาด" มาจากรากศัพท์ว่า "นิดาอ์" ซึ่งหมายถึง "การร้องเรียก" แน่นอนคำว่า "ตะนาด" ยังมีผู้ให้ความหมายว่า "ความแตกแยก, การกระจัดกระจาย" หากมาจากรากศัพท์ว่า "นัดดุน" หรือ "ตะนาดดุน" อย่างไรก็ตามมุฟัซซิรีน (นักอรรถาธิบายคัมภีร์อัลกุรอาน) ส่วนใหญ่ยึดตามความหมายแรก เนื่องจากมีริวายะฮ์ (คำรายงาน) รับรองในความหมายนี้

      ท่านอิมามญะอ์ฟัร อัซซอดิก (อ.) กล่าวว่า :

یوم التناد یوم ینادى أهل النار أهل الجنّة أن أفیضوا علینا من الماء أو ممّا رزقکم اللّه

"เยามุตตะนาด (วันแห่งการร้องเรียกหาความช่วยเหลือต่อกันและกัน) คือวันที่ชาวนรกจะร้องเรียกชาวสวรรค์ว่า พวกท่านจงเทน้ำมาให้แก่พวกเราบ้างเถิด หรือไม่ก็บางส่วนจากสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกท่าน (ในสวรรค์)" (2)

     แต่คำตอบที่พวกเขาจะได้รับจากชาวสวรรค์มีเพียงประโยคเดียว คือ เราไม่สามารถมอบให้พวกท่านได้ เนื่องจาก :

انَّ اللهَ حَرَّمَهُما عَلَى الکافِرِینَ

"แท้จริงอัลลอฮ์ได้ทรงห้ามมันทั้งสองต่อบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา" (3)

      คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในโลก (ดุนยา) นี้ ด้วยการจมปักอยู่ในทะเลอันกว้างใหญ่แห่งกิเลส ตัณหาและการสนองความสุขด้วยสิ่งที่เป็นการละเมิดข้อห้าม (มุฮัรร่อมาต) ต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้า และไม่รับฟังเสียงแห่งการชี้นำ (ฮิดายะฮ์) จากพระองค์ หรือคนที่ไม่ตอบรับการเรียกร้องขอความช่วยเหลือของคนอ่อนแอ คนตกทุกข์ได้ยากและบรรดาผู้ถูกกดขี่แล้ว ในวันกิยามะฮ์เขาจะประสบกับชะตากรรมเช่นนี้ เขาจะยื่นมือขอความช่วยเหลือจากชาวสวรรค์ แต่เขาจะไม่ได้รับคำตอบ วันนั้นจะเป็นวันร้องเรียกขอความช่วยเหลือของเขา แต่เขาจะไม่ได้รับการสนองตอบใดๆ วันนั้นจะเป็นวันแห่งความสำนึกผิดที่สายไปแล้วสำหรับเขา

     ในวันนี้ พวกเขาจะได้รับคำตอบแต่เพียงการสาปแช่ง (ละอ์นัต) จากบรรดาผู้ประกาศแห่งทุ่งมะห์ชัร (มวลมะลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) และบรรดาผู้เป็นสักขีพยานทั้งหลาย) ว่า :

الا لَعْنَهُ اللهِ عَلَى الظّالمینَ

"พึงสังวรเถิด! การสาปแช่งของอัลลอฮ์จจงประสบแก่บรรดาผู้อธรรม" (4)

      แต่สำหรับบรรดามุอ์มิน (ผู้ศรัทธา) ในวันนั้นจะมีแต่ความพึงพอใจและความปิติยินดี ที่พวกเขาจะได้รับบันทึกแห่งการงาน (อะมั้ล) ที่สะอาดบริสุทธิ์ของพวกเขาและต่างนำมาแสดงต่อกันและกัน โดยที่คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า :

فَأَمَّا مَنْ أُوتِيَ كِتَابَهُ بِيَمِينِهِ فَيَقُولُ هَاؤُمُ اقْرَءُوا كِتَابِيَهْ

"ส่วนผู้ที่บันทึกของเขาถูกมอบให้ทางเบื้องขวาของเขา เขาจะกล่าว (ด้วยความปลาบปลื้ม) ว่า พวกท่านทั้งหลายมานี่ซิ มาอ่านบันทึก (ความประพฤติ) ของฉันเถิด" (6)


แหล่งที่มา :

1.อัลกุรอานบทฆอฟิร โองการที่ 32-33

2.ตัฟซีร อัลบุรฮาน, เล่ม 4, หน้า 756

3.อัลกุรอานบทอัลอะอ์ร๊อฟ โองการที่ 50

4.อัลกุรอานบทฮูด โองการที่ 18

5.อัลกุรอานบทอัลฮากเกาะฮ์ โองการที่ 19


แปลและเรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2018 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 139 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

25831326
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
4368
3896
28415
25771458
19142
136052
25831326

พฤ 03 เม.ย. 2025 :: 21:52:24