เหตุใดอิมามฮุเซน (อ.) จึงแสดงให้บรรดาสหายของท่านเห็นสถานะของตนในอาลัมบัรซัค?
เหตุใดอิมามฮุเซน (อ.) จึงแสดงให้บรรดาสหายของท่านเห็นสถานะของตนในอาลัมบัรซัค?

บรรดาชะฮีดแห่งกัรบาลาทราบดีอยู่ก่อนแล้วถึงตำแหน่งและสถานะของพวกเขาในสายพระเนตรของพระผู้เป็นเจ้า และท่านอิมามฮุเซน (อ.) ก็ได้เปิดเผยสถานะนี้แก่พวกเขาในที่พักต่างๆ ระหว่างการเดินทาง

    ผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) ทุกคนมีปรารถนาโดยธรรมชาติ (ฟิฏเราะฮ์) ที่จะรับรู้ถึงบันทึกการกระทำของตนในตลอดช่วงชีวิตของเขาเพื่อกลับไปพบกับพระผู้เป็นเจ้าด้วยความอุ่นใจมากยิ่งดีขึ้น แต่โดยทั่วไปสิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น นอกจากมนุษย์จะถูกนำตัวไปยังอาลัมบัรซัค (โลกหลังความตายก่อนปรโลก หรือโลกในหลุมศพ) ของเขาและการกระทำต่างๆ ของเขาก็จะถูกคำนวณในตราชูแห่งความกรุณาของพระผู้เป็นเจ้า อย่างไรก็ตาม บางครั้งเราจะเห็นในประวัติศาสตร์ว่ามีกรณียกเว้นต่างๆ และผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) จะได้รับบันทึกแห่งการงานของเขาผ่านบรรดาผู้นำทาง (ฮาดี) แห่งพระเจ้า และรีบรุดในการกลับไปพบพระผู้เป็นเจ้าด้วยความยินดีและความปิติสุข ตัวอย่างหนึ่งในบรรดาข้อยกเว้นเหล่านี้คือ "มัยซัม ตัมมาร" ผู้ซึ่งท่านอมีรุลมุอ์มินีน อลี บิน อบีฏอลิบ (อ.) ได้บอกข่าวดีถึงการเป็นชะฮีด (มรณะสักขี) แก่เขาไว้เป็นระยะเวลายาวนานก่อนหน้านั้นแล้ว ด้วยเหตุที่เขาจะยืนหยัดเผชิญหน้ากับบรรดาผู้ปกครองที่อธรรม ด้วยเหตุนี้เองจึงมีรายงานว่า เขามีความรู้เรื่องภัยพิบัติ (บะลาอ์) และความตายต่างๆ ความหมายของความรู้นี้คือการรับรู้ของบรรดาอิมามมะอ์ซูม (อ.) เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้คนในอนาคต เหตุการณ์ต่างๆ ในศาสตร์แห่งความตาย (ฮิลมุลมะนายา) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความตาย ลักษณะและช่วงเวลาของมัน และในศาสตร์แห่งภัยพิบัติ (อิลมุบะลายา) เป็นเรื่องเกี่ยวกับอุบัติภัยและปัญหาความทุกข์ยากต่างๆ ของผู้คน ตามหะดีษทั้งหลาย บรรดาอิมาม (อ.) ได้เรียนรู้ความรู้นี้มาจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) บรรดาอิมามมะอ์ซูม (อ.) ได้สอนความรู้นี้แก่สาวกคนสนิทบางคนของพวกท่าน

    ตามตรรกะนี้ บรรดาชะฮีดแห่งกัรบาลาก็ได้รับรู้ถึงตำแหน่งของพวกเขาและสถานะภาพของพวกเขา ณ พระผู้เป็นเจ้าแล้ว และท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้เปิดเผยสถานะนี้แก่พวกเขาในสถานที่หยุดพักที่ต่างๆ ระหว่างการเดินทาง

    เชคมุฟิด (ร.ฎ.) ได้อ้างไว้ในหนังสือ "อัล-อิรชาด" ของท่านว่า ในช่วงเวลาใกล้ค่ำของคืนอาชูรอ ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้เรียกรวมบรรดาสหายของท่าน ท่านอิมามซัจญาด (อ.) กล่าวว่า : แม้ว่าฉันจะป่วย แต่ฉันก็เข้ามาดูว่า บิดาของฉันพูดอะไรกับพวกเขา ท่านหันหน้าไปทางบรรดาสหายแล้วฉันได้ยินท่านพูดว่า :

  فَإِنِّی لَا أَعْلَمُ أَصْحَاباً أَوْفَى وَ لَا خَیْراً مِنْ أَصْحَابِی وَ لَا أَهْلَ بَیْتٍ أَبَرَّ وَ لَا أَوْصَلَ مِنْ أَهْلِ بَیْتِی فَجَزَاکُمُ اللَّهُ عَنِّی خَیْراً

          "แท้จริงแล้ว ฉันไม่รู้จักว่าจะมีสหายกลุ่มใดที่ซื่อสัตย์และดีงามมากไปกว่าบรรดาสหายของฉัน และไม่ครอบครัวใดที่จะมีคุณธรรมและมีจิตใจเอื้ออารียิ่งไปกว่าครอบครัวของฉัน ขออัลลอฮ์ทรงทรงตอบแทนสิ่งที่ดีงามแก่พวกท่านแทนฉัน" (1)

    ในเนื้อหาส่วนนี้จากคำพูดอันสวยงามของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ท่านได้แนะนำคุณลักษณะบางประการของสหายของท่าน คือ : 1.เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ที่สุด (ต่อพันธสัญญาที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า) 2. เป็นผู้ที่มีคุณธรรมและมีความดีงามที่ดีมากที่สุด

    บางทีโองการที่ 20 และ 21 ของซูเราะฮ์อัร เราะอ์ดุ อาจเป็นหนึ่งในโองการที่ดีที่สุดที่เกี่ยวข้องกับคำพูดของท่านอิมามฮุเซน (อ.) เกี่ยวกับความซื่อสัตย์ต่อพันธสัญญานี้ โดยที่พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสในสองโองการนี้ว่า :

الَّذِینَ یُوفُونَ بِعَهْدِ اللَّهِ وَ لَا یَنْقُضُونَ الْمِیثَاقَ وَ الَّذِینَ یَصِلُونَ مَا أَمَرَ اللَّهُ بِهِ أَنْ یُوصَلَ وَیَخْشَوْنَ رَبَّهُمْ وَ یَخَافُونَ سُوءَ الْحِسَابِ

          "บรรดาผู้ที่รักษาพันธสัญญาของอัลลอฮ์และไม่ละเมิดพันธสัญญา และบรรดาผู้ที่เชื่อมสัมพันธ์ในสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาให้เชื่อมสัมพันธ์ และพวกเขาเกรงกลัวพระผู้อภิบาลของพวกเขาและกลัวการคิดบัญชีที่เลวร้าย" (2)

    ความจงรักภักดีและความซื่อสัตย์ต่อพันธสัญญาของบรรดาสหายของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ทำให้ท่านอิมาม (อ.) ต้องแสดงสถานที่พำนักของพวกเขาในอาลัมบัรซัคให้พวกเขาได้เห็นโดยการอนุมัตจากพระผู้เป็นเจ้า ในช่วงเวลาที่สหายแต่ละคนและทุกคนได้ไปยืนต่อหน้าท่านอิมามแห่งยุคสมัยของตน และกล่าวตอกย้ำพันธสัญญาและสัตยาบันของตนต่อท่าน โดยมีท่านอับบาสเป็นผู้ปฏิบัตินำพวกเขานั้น ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า :

إِنْ كُنْتُمْ كَذَلِكَ فَارفَعُوا رؤوسکُم و أنظُرُوا إلی مَنازلکُم فِی الجَنّة

          "เมื่อพวกท่านกล่าวเช่นนี้แล้ว ดังนั้นก็จงเงยหน้าของพวกท่านขึ้นและจงมองไปยังที่พำนักทั้งหลายของพวกท่านในสวรรค์เถิด" (3)


แหล่งที่มา :

(1). อัลอิรชาด, เชคมุฟีด, หน้า 250

(2). อัลกุรอานบทอัร เราะอ์ดุ โองการที่ 20 และ 21

(3). เมาซูอะฮ์ กะลิมาต อัล อิมาม อัลฮุซัยน์ (อ.), หน้า 497


บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2024 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 229 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

25835087
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
3591
4538
32176
25771458
22903
136052
25835087

ศ 04 เม.ย. 2025 :: 19:25:42