คุณค่าของญิฮาดและผลพวงของการละทิ้งมัน ในคำพูดของอิมามอะลี (อ.)
คุณค่าของญิฮาดและผลพวงของการละทิ้งมัน ในคำพูดของอิมามอะลี (อ.)

"ชาวมุสลิมทราบดีว่าญิฮาด คือแนวทางหนึ่งที่จะรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและความเป็นอิสระของตน และพวกเขาจะไม่ละทิ้งมันด้วยเหตุผลต่างๆ การปฏิเสธที่จะเข้าร่วมญิฮาดหมายถึงการยอมรับสภาพความอัปยศและการยอมจำนนต่อแนวรบของฝ่ายศัตรู.....

    ญิฮาด ซึ่งเป็นแนวคิดและคำสอนพื้นฐานของศาสนาอิสลาม เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง ความมีอำนาจและศักดิ์ศรีของชาวมุสลิม แนวคิดนี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการต่อสู้ทางทหารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความพยายามทางวัฒนธรรมและสังคมที่ชาวมุสลิมใช้เพื่อส่งเสริมและปกป้องหลักการอิสลามและหลักมนุษยธรรมของตนด้วย

    แนวรบของอิสลามแสดงให้เห็นอยู่เสมอว่าไม่เคยเป็นผู้เริ่มต้นในการก่อสงครามก่อน ในความเป็นจริงแล้วมุสลิมมักจะอยู่ในสถานะของการป้องกันตนและจะดำเนินการเฉพาะในสถานการณ์พิเศษ และเมื่อสิทธิต่างๆ ของพวกเขาถูกละเมิดเท่านั้น แนวทางนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นอันมั่นคงของชาวมุสลิมที่มีต่อความยุติธรรมและสันติภาพ เฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลอันสมควรเท่านั้นที่มุสลิมจะสามารถดำเนินการเชิงป้องกันได้ การดำเนินการเหล่านี้จะถูกปฏิบัติเป็นการเฉพาะเพื่อปกป้องสิทธิของตนเองและเป็นการโต้ตอบต่อภัยคุกคาม ด้วยเหตุนี้ ญิฮาดประเภทนี้จึงสามารถจำกัดความได้ว่าเป็นญิฮาดเชิงป้องกันซึ่งมีเป้าหมายเพื่อรักษาบูรณภาพและศักดิ์ศรีของชาวมุสลิม

    ท่านอมีรุลมุอ์มินีน (อ.) กล่าวว่า :

فَرَضَ اللّه‏ُ... الْجِهَادَ عِزّاً لِلْإِسْلَام‏

“อัลลอฮ์ทรงกำหนดให้...ญิฮาดเป็นหน้าที่บังคับ เพื่อเกียรติศักดิ์ศรีของอิสลาม” (1)

    หะดีษนี้ได้เน้นย้ำว่าอัลลอฮ์ทรงทำให้การญิฮาดเป็นข้อบังคับทางศาสนาเพื่อรักษาไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์ศรีของศาสนาอิสลาม และในหะดีษอีกบทหนึ่ง ท่านกล่าวว่า :

الجَهادُ فِى سَبیلِهِ، فَإنّه ذِروة ُ الإسلام

“...ญิฮาดในทางของอัลลอฮ์ เพราะแท้จริงมันคือจุดสูงสุดของอิสลาม” (2)

    ดังนั้น ญิฮาดจึงไม่เพียงแต่เป็นหน้าที่เท่านั้น แต่ยังเป็นหลักการพื้นฐานในศาสนาอิสลามอีกด้วย เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ สิทธิ และศักดิ์ศรีของชาวมุสลิม การเน้นย้ำจุดยืนในการป้องกันและยึดมั่นหลักการในสงครามทำให้ชาวมุสลิมสามารถดำเนินภารกิจในการบรรลุความยุติธรรมและปกป้องสิทธิมนุษยชนได้ต่อไป ขณะเดียวกันก็ปกป้องอัตลักษณ์และค่านิยมของศาสนาอิสลามของตนไว้ด้วย

    ในทางตรงกันข้าม กลุ่มมุสลิมที่กลัวญิฮาดต่อศัตรูไม่ว่าภายใต้สถานการณ์ใดๆ จะต้องพิจารณาทัศนคติของตนอย่างจริงจังอีกครั้ง ญิฮาดไม่เพียงแต่เป็นแหล่งที่มาของเกียรติยศ การพัฒนาและความก้าวหน้าของบรรดาผู้ศรัทธาเท่านั้น แต่ยังถือเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญของพวกเขาอีกด้วย การปฏิเสธที่จะเข้าร่วมญิฮาดหมายถึงการยอมรับสภาพแห่งความอัปยศและการยอมจำนนต่อแนวรบของศัตรู พฤติกรรมดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่น่าตำหนิทางศีลธรรมเท่านั้น แต่ยังทำให้ขวัญกำลังใจของสังคมอิสลามอ่อนแอลง อีกทั้งเพิ่มอำนาจและความเหิมเกริมให้กับศัตรูอีกด้วย     ชาวมุสลิมทราบดีว่าญิฮาดเป็นแนวทางหนึ่งที่จะรักษาศักดิ์ศรีและความเป็นอิสระของตน และพวกเขาจะไม่ละทิ้งมันด้วยเหตุผลต่างๆ

    ท่านอมีรุลมุอ์มินีน (อ.) กล่าวในริวายะฮ์อีกบทหนึ่งว่า :

مَنْ تَرَكَهُ (يعني الجهاد) رَغْبَةً عَنْهُ أَلْبَسَهُ اللهُ ثَوْبَ الذُّلِّ، وَ شَمَّلَهُ الْبَلَاءَ، وَ دُيِّثَ بِالصِّغَارِِ وَ الْقَمَاءَةِ، وَ ضُرِبَ عَلى قَلْبِِهِ بِالْإِسْهَابِ (بالأسداد)، وَ أُدِیْلَ الْحَقُّ مِنْهُ بِتَضْیِیْعِ الْجِهَادِ

 “ผู้ใดที่ละทิ้งญิฮาดเนื่องจากรังเกียจมัน อัลลอฮ์จะทรงสวมใส่อาภรณ์แห่งความต่ำต้อยแก่เขา และปกคลุมเขาด้วยความทุกข์ยาก และเขาจะต้องประสบกับความไร้เกียติและความอัปยศอดสู อีกทั้งม่านแห่งความหลงผิดจะถูกปิดทับลงบนหัวใจของเขา และสัจธรรมจะถูกผันแปรไปจากเขา (และเขาจะตกอยู่ในความหลงผิด) เนื่องจากการละทิ้งญิฮาด" (3)

    หะดีษเหล่านี้บ่งชี้ถึงความสำคัญและสถานะพิเศษของญิฮาดในศาสนาอิสลามและผลเสียจากการละทิ้งมัน ชาวมุสลิมต้องเดินบนเส้นทางของญิฮาดด้วยความมีสติสัมปชัญญะและความกล้าหาญ และไม่ละทิ้งความรับผิดชอบของตน


ที่มา :

1. นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, ซุบฮี ซอและห์, หน้า 512

2. นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, คุฏบะฮ์ที่ 110

3. นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, คุฏบะฮ์ที่ 27

(ส่วนหนึ่งจากคุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์, มัสยิดซอฮิบุซซะมาน (อ.) วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2568)


Copyright © 2025 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 42 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

25836578
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
775
4307
33667
25771458
24394
136052
25836578

ส 05 เม.ย. 2025 :: 06:23:48