อิสติอาซะฮ์ (การขอความคุ้มครอง) ในวัฒนธรรมคำสอนของอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคัมภีร์อัลกุรอาน คือ การวิงวอนขอ (ดุอาอ์) ซึ่งมนุษย์เพื่อที่จะปัดป้องความชั่วร้าย จะนำพาตัวเองเข้าอยู่ภายใต้การคุ้มครองของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งโดยผ่านการขอความคุ้มครองนี้
การอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน คือ การสื่อสารและการเชื่อมสัมพันธ์ต่อพระผู้เป็นเจ้า โดยที่เพื่อจะอ่านคัมภีร์อัลกุรอานนั้น ผู้อ่านจะต้องทำตัวให้สะอาดบริสุทธิ์ พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงชี้ถึงสิ่งนี้ว่า :
فَإِذَا قَرَأْتَ الْقُرْآنَ فَاسْتَعِذْ بِاللَّهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِ
ดังนั้น เมื่อเจ้าอ่านอัลกรุอาน ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ให้พ้นจากชัยฏอน (มาร้าย) ที่ถูกสาปแช่งเถิด" (1)
เป็นที่ชัดเจนว่าการสื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้า และการรับฟังโองการอันลึกซึ้งของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นต้องการความบริสุทธิ์ของจิตวิญญาณและการหลีกเลี่ยงความแปดเปื้อนต่างๆ ทางจิตใจ ในขณะเดียวกัน เพื่อที่จะออกห่างจากความชั่วร้ายทางศีลธรรม และพร้อมที่จะยอมรับจิตวิญญาณแห่งอัลกุรอาน จำเป็นต้องได้รับพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้กล่าวว่า :
أغلِقُوا أبوابَ المَعصيَةِ بالاستِعاذَةِ ، و افتَحُوا أبوابَ الطاعَةِ بالتَّسميَةِ
"ท่านทั้งหลายจงปิดประตูต่างๆ ของการละเมิดฝ่าฝืนด้วยการขอความคุ้มครอง (อิสติอาซะฮ์) และจงเปิดประตูทั้งหลายของการเชื่อฟัง (พระผู้เป็นเจ้า) ด้วยการกล่าวบิสมิลลาฮ์" (2)
ดังนั้นจึงสมควรยิ่งที่ผู้อ่านคัมภีร์อัลกุรอานจะวางตัวเองอยู่ภายใต้การคุ้มครองของพระผู้เป็นเจ้าของเขา ตั้งแต่เริ่มต้นการอ่านจนถึงตอนท้ายของการอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน เพื่อที่เขาจะได้ปลอดภัยจากการกระซิบกระซาบของอารฒณ์ฝ่ายต่ำและกลอุบายต่างๆ ที่เปิดเผยและที่ซ่อนเร้นของชัยฏอน (มารร้าย)
แหล่งอ้างอิง :
[1]. อัลกุรอานบทอัน-นะห์ลฺ โองการที่ 98
[2]. อัด ดะอะวาต, รอวันดี, หน้า 52, หะดีษที่ 130
หมายเหตุ : การขอความคุ้มครอง (อิสติอาซะฮ์) ในความหมายทั่วไปของมันนั้นมีต้นกำเนิดมาจากสัญชาตญาณทางธรรมชาติ ซึ่งเมื่อเผชิญกับอันตราย มนุษย์พยายามค้นหาความสงบและความปลอดภัยโดยแสวงหาที่หลบภัยจากอำนาจที่เหนือกว่า ด้วยเหตุนี้ ประเด็นนี้จึงถูกกล่าวถึงในท่ามกลางหมู่ชนและเผ่าพันธุ์มนุษย์ทั้งหลายมาตั้งแต่สมัยโบราณ
บทความ : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ
Copyright © 2024 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่