ในบทซิยารัตอาชูรอมีพลังด้านลบหรือไม่?
Powered by OrdaSoft!
No result.
ในบทซิยารัตอาชูรอมีพลังด้านลบหรือไม่?

บางคนอ้างว่ามีการสาปแช่ง (ละอ์นัต) (1) มากมายในซิยารัตอาชูรอ และสิ่งนี้จะทำให้เกิดพลังด้านลบ ดังนั้นจึงไม่ควรอ่านมากเกินไป มุมมองนี้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากการสาปแช่ง (ละอ์นัต) ในบทซิยารัตอาชูรอนั้น เป็นเรื่องทางความเชื่อ (อิอ์ติกอด) และเป็นสิ่งสำคัญ

ผลเชิงบวกของซิยารัตอาชูรอ

    ศาสนามีสองส่วน ประกอบด้วยเรื่องของความเชื่อ (อิอ์ติกอดาต) และความรักและความเกลียดชัง แม้แต่ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้กล่าวว่า : "เป็นเรื่องปกติที่เราจะรักพวกท่านและเกลียดชังศัตรูของท่าน" ตัวอย่างเช่น เราควรเกลียดอุมัร อิบนุ ซะอัด, อิบนุ ซิยาด และชิมร์ ความเกลียดชังของเรานี้มีประโยชน์ เนื่องจากศาสนาตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของความรักและความเกลียดชัง (2)

    หากเรามอบหัวใจให้กับพระผู้เป็นเจ้า เราก็ไม่สามารถที่จะมอบหัวใจกับกับศัตรูของพระผู้เป็นเจ้าได้อีก คัมภีร์อัลกุรอานก็ได้กล่าวไว้ในอัลกุรอานบท (ซูเราะฮ์) อัลมุญาดะละฮ์ว่า :

لّا تَجِدُ قَوْمًۭا يُؤْمِنُونَ بِٱللَّهِ وَٱلْيَوْمِ ٱلْـَٔاخِرِ يُوَآدُّونَ مَنْ حَآدَّ ٱللَّهَ وَرَسُولَهُۥ وَلَوْ كَانُوٓا۟ ءَابَآءَهُمْ أَوْ أَبْنَآءَهُمْ أَوْ إِخْوَٰنَهُمْ أَوْ عَشِيرَتَهُمْ

          "เจ้าจะไม่พบกลุ่มชนที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันปรโลกรักใคร่ชอบพอกับผู้ที่ต่อต้านอัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์ แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเป็นพ่อของพวกเขา หรือลูกหลานของพวกเขา หรือพี่น้องของพวกเขา หรือเครือญาติของพวกเขาก็ตาม” (3)

    ดังนั้นการสาปแช่ง (ละอ์นัต) จึงหมายถึงการแสดงจุดยืนของเราตรงข้ามกับบรรดาศัตรูของพระผู้เป็นเจ้า

    บางคนกล่าวว่าการสาปแช่ง (ละอ์นัต) นั้นมีพลังงานด้านลบ แต่ความจริงแล้วการสาปแช่ง (ละอ์นัต) นั้นมีพลังด้านบวก เนื่องจากมันแสดงถึงความเกลียดชังที่เรามีต่อบรรดาศัตรูของพระผู้เป็นเจ้า เมื่อเราสาปแช่ง เราจะขับไล่ความรักต่อผู้ที่ไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้าและศัตรูของพระผู้เป็นเจ้าออกไปจากหัวใจของเรา และนี่คือพลังงานเชิงบวก หากการสาปแช่งมีพลังงานเชิงลบ พระผู้เป็นเจ้าคงไม่เน้นย้ำการสาปแช่งมากมายถึงเพียงนี้ในคัมภีร์อัลกุรอานและในหะดีษทั้งหลาย

    ในบทซิยารัตอาชูรอ มีทั้งเรื่องของ "ตะวัลลี" และ "ตะบัรรี" (4) ชาวชีอะฮ์ให้ความสำคัญต่อการอ่านซิยารัตอาชูรอ เนื่องจากหลักการทั้งสองนี้ ในบทซิยารัตนี้ได้อธิบายถึงการแสดงความรักและความจงรักภักดีต่ออะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) และความเกลียดชังต่อบรรดาศัตรูของพวกท่าน และกล่าวโดยสรุปก็คือ การอ่านซิยารัตนี้ไม่เพียงแต่จะไม่สร้างพลังด้านลบแก่เราเท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างศรัทธาของเราและทำให้เรายืนหยัดในจุดยืนของต่อต้านความเท็จ ความอธรรมและการกดขี่อีกด้วย

    บางครั้งมีผู้กล่าวว่า การสาปแช่ง (ละอ์นัต) มีความสำคัญมากกว่าการซอละวาต (การขอพรให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) บางทีอาจด้วยเหตุผลนี้ที่ว่า เนื่องจากการสาปแช่ง (ละอ์นัต) เป็นการแสดงจุดยืนของเราในการต่อต้านบรรดาศัตรูของพระผู้เป็นเจ้า บนพื้นฐานของหะดีษ หากเรายึดเอาพระผู้เป็นเจ้าเป็นศูนย์กลางของชีวิตเรา ความรักและความเกลียดชังของเราก็ควรตั้งอยู่บนศูนย์กลางหรือแกนของพระผู้เป็นเจ้าด้วย บรรดาผู้ที่รักเพื่อพระผู้เป็นเจ้าและเกลียดชังเพื่อพระผู้เป็นเจ้า จะอยู่ในหมู่ผู้ที่มีศรัทธาที่สมบูรณ์ (5)


เชิงอรรถ :

(1). คำว่า “ละอ์นัต” (لَعْنَةٌ)(สาปแช่ง) ในอิสลามนั้นหมายถึง การขอให้พระผู้เป็นเจ้าขับหรือผักไสบุคคลผู้หนึ่งออกจากพระเมตตาของพระองค์   

(2). ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้ตอบผู้ที่ถามท่านเกี่ยวกับความรักและความเกลียดชัง ท่านตอบว่า :

     وَ هَلِ الْاِیمَانُ اِلَّا الْحبّ وَ الْبُغْضُ

     "ความศรัทธานั้น เป็นอื่นไปจากความรักและความเกลียดชังกระนั้นหรือ์" (อัลกาฟี, เชคกุลัยนี, เล่ม 2, หน้า 125)

(3). อัลกุรอานบทอัลมุญาดะละฮ์ โองการที่  2

(4). คำว่า "ตะวัลลี" หมายถึง การแสดงความรัก การปฏิบัติตาม หรือการยอมรับการคุ้มครองดูแล (วิลายะฮ์) ของผู้ใดผู้หนึ่ง

      และคำว่า "ตะบัรรี" หมายถึง การเอาตัวออกห่าง หรือการแสดงความเป็นปฏิปักษ์ และ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใครหรือสิ่งใด

      "ตะวัลลี" (تَوَلِّي) และ "ตะบัรรี" (تَبَرِّي) ถือเป็นส่วนหนึ่งจาก "ฟุรูอุดดีน" (หลักปฏิบัติทางศาสนา) ซึ่งหมายถึง การแสดงความรักและความเป็นมิตรต่อพระผู้เป็นเจ้าและต่อบรรดาผู้ที่รักและเป็นมิตรต่อพระผู้เป็นเจ้า และการเอาตัวออกห่าง หรือแสดงความเป็นศัตรูต่อบรรดาศัตรูของพระผู้เป็นเจ้า

(5). ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้เล่าว่า :ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) กล่าวกับบรรดาสาวกของท่านว่า :

      اَیُّ عُرَی الْاِیمَانِ اَوْثَقُ فَقَالُوا اللَّهُ وَ رَسُولُهُ اَعْلَمُ وَ قَالَ بَعْضُهُمُ الصَّلَاةُ وَ قَالَ بَعْضُهُمُ الزَّکَاةُ وَ قَالَ بَعْضُهُمُ الصِّیَامُ وَ قَالَ بَعْضُهُمُ الْحَجُّ وَ الْعُمْرَةُ وَ قَالَ بَعْضُهُمُ الْجِهَادُ

      "สายเชือกแห่งศรัทธาใดที่มีความมั่นคงที่สุด?" พวกเขากล่าวว่า อัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์ ย่อมรู้ดีที่สุด บางคนกล่าวว่า นมาซ บางคนก็กล่าวว่า ซะกาต (ทานภาคบังคับ) บางคนก็กล่าวว่า การถือศีลอด บางคนก็กล่าวว่า การทำฮัจญ์และอุมเราะฮ์ และบางคนก็กล่าว ญิฮาด (การต่อสู้ในทางของอัลลอฮ์)"

        فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ ص لِکُلِّ مَا قُلْتُمْ فَضْلٌ وَ لَیْسَ بِهِ وَ لَکِنْ اَوْثَقُ عُرَی الْاِیمَانِ الْحبّ فِی اللَّهِ وَ الْبُغْضُ فِی اللَّهِ وَ تَوَالِی اَوْلِیَاءِ اللَّهِ وَ التَّبَرِّی مِنْ اَعْدَاءِ اللَّهِ

        หลังจากนั้น ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า : ทุกสิ่งที่พวกท่านพูดมานั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ใช่ ทว่าสายเชือกแห่งศรัทธาที่มั่นคงแข็งแกร่งที่สุดนั้น คือ ความรักในทางของอัลลอฮ์ และความเกลียดชังชังในทางของอัลลอฮ์ และการเป็นมิตรต่อบรรดามิตร (เอาลิยาอ์) ของอัลลอฮ์ และการออกห่างจากบรรดาศัตรูของอัลลอฮ์" (อัลกาฟี, เชคกุลัยนี, เล่ม 2, หน้า 125)


บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2024 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 718 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

21397437
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
5884
54466
114939
20904429
881974
2496676
21397437

อ 17 ก.ย. 2024 :: 02:18:05