สิทธิของพี่น้องร่วมศาสนา
ในสังคมอิสลาม สถานะอันทรงคุณค่าของบุคคลทั้งหลาย ณ พระผู้เป็นเจ้านั้นวางอยู่บนพื้นฐานของคุณสมบัติต่างๆ ทางด้านศาสนาและความศรัทธาของพวกเขา และนี่คือหลักการหนึ่งของคัมภีร์อัลกุรอานที่กล่าวว่า :
أَ فَمَنْ كٰانَ مُؤْمِناً كَمَنْ كٰانَ فٰاسِقاً لاٰ يَسْتَوُونَ
"ดังนั้นคนที่เป็นผู้ศรัทธาจะเหมือนกับคนที่เป็นคนชั่วกระนั้นหรือ? (แน่นอน) พวกเขาย่อมไม่เท่าเทียมกัน" (2)
ในอีกโองการหนึ่งได้กล่าวว่า :
إِنَّمَا الْمُؤْمِنُونَ إِخْوَةٌ
"อันที่จริงแล้วบรรดาผู้ศรัทธานั้นคือพี่น้องกัน" (3)
และในอีกโองการหนึ่งก็กล่าวว่า :
وَ الْمُؤْمِنُونَ وَ الْمُؤْمِنٰاتُ بَعْضُهُمْ أَوْلِيٰاءُ بَعْضٍ
"และบรรดาผู้ศรัทธาชายและบรรดาผู้ศรัทธาหญิงนั้น ต่างเป็นผู้คุ้มครองซึ่งกันและกัน" (4)
สิ่งที่ควรกล่าวถึงก็คือว่า ความศรัทธา (อีหม่าน) ของมุสลิมทุกคนนั้นไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกัน ทว่ามีระดับที่แตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้เองท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน (อ.) ในการตอบคำถามของชายคนหนึ่งที่ถามท่านว่า : โอ้ท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน! โปรดบอกแก่พวกเราเกี่ยวกับพี่น้องด้วยเถิด" ท่านกล่าวว่า :
اَلْإِخْوَانُ صِنْفَانِ إِخْوَانُ اَلثِّقَةِ وَ إِخْوَانُ اَلْمُكَاشَرَةِ فَأَمَّا إِخْوَانُ اَلثِّقَةِ فَهُمُ اَلْكَفُّ وَ اَلْجَنَاحُ وَ اَلْأَهْلُ وَ اَلْمَالُ فَإِذَا كُنْتَ مِنْ أَخِيكَ عَلَى حَدِّ اَلثِّقَةِ فَابْذُلْ لَهُ مَالَكَ وَ بَدَنَكَ وَ صَافِ مَنْ صَافَاهُ وَ عَادِ مَنْ عَادَاهُ وَ اُكْتُمْ سِرَّهُ وَ عَيْبَهُ وَ أَظْهِرْ مِنْهُ اَلْحَسَنَ وَ اِعْلَمْ أَيُّهَا اَلسَّائِلُ أَنَّهُمْ أَقَلُّ مِنَ اَلْكِبْرِيتِ اَلْأَحْمَرِ وَ أَمَّا إِخْوَانُ اَلْمُكَاشَرَةِ فَإِنَّكَ تُصِيبُ لَذَّتَكَ مِنْهُمْ فَلاَ تَقْطَعَنَّ ذَلِكَ مِنْهُمْ وَ لاَ تَطْلُبَنَّ مَا وَرَاءَ ذَلِكَ مِنْ ضَمِيرِهِمْ وَ اُبْذُلْ لَهُمْ مَا بَذَلُوا لَكَ مِنْ طَلاَقَةِ اَلْوَجْهِ وَ حَلاَوَةِ اَللِّسَانِ
"พี่น้องนั้นมีสองจำพวก คือ : พี่น้องที่ไว้วางใจได้ (จริงใจ) และพี่น้องที่คอยยิ้มให้กัน (ไม่อาจไว้วางใจได้) สำหรับพี่น้องที่ไว้วางใจได้นั้น พวกเขาคือมือ คือปีก คือครอบครัวและคือทรัพย์สิน (ของคนเรา) ดังนั้นหากเจ้ามีเพื่อนที่ถึงขั้นไว้วางใจได้ ดังนั้นก็จงให้ทรัพ์สินและกายใจของเจ้าให้แก่เขา จงแสดงความเป็นมิตรที่จริงใจต่อเขาและจงเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นศัตรูต่อเขา จงปกปิดความลับและข้อบกพร่องของเขา และจงเปิดเผยสิ่งที่ดีจากเขา จงรู้ไว้เถิด โอ้ผู้ถามเอ๋ย! แท้จริงพวกเขามีจำนวนน้อยนิด (หายาก) ยิ่งกว่ากำมะถันแดง ส่วนพี่น้องที่คอยยิ้มให้กัน (ไม่อาจไว้วางใจได้) นั้น เจ้าก็จะได้รับประโยชน์จากเขา ดังนั้นจงอย่าตัดขาดสิ่งนั้นจากเขา และจงอย่ามุ่งหวังสิ่งใดมากไปกว่านั้น จากหัวใจของเขา จงให้แก่เขาในสิ่งที่เขาให้แก่เจ้าจากใบหน้าที่ยิ้มแย้มและคำพูดที่หวานชื่น" (5)
บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ การเคารพให้เกียรติและการระวังรักษาสิทธิของมุสลิมทุกคนที่พึงมีต่อกันนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น
ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) กล่าวว่า :
الإِسْلَامُ أَنْ تُسْلِمَ قَلْبَكَ ، وَأَنْ يَسْلَمَ الْمُسْلِمُونَ مِنْ لِسَانِكَ وَيَدِكَ
"อิสลาม คือ การที่ท่านจะมอบหัวใจของท่าน (ต่ออัลลอฮ์) และการที่ชาวมุสลิมจะปลอดภัยจากลิ้นของท่านและมือของท่าน" (6)
เช่นเดียวกันนี้ท่านยังกล่าวอีกว่า :
لَيْسَ مِنَّا مَنْ غَشَّ مُسْلِمًا ، أَوْ ضَرَّهُ ، أَوْ مَاكَرَهُ
"ไม่ใช่ส่วนหนึ่งจากเราใครก็ตามที่หลอกลวงมุสลิม หรือยังอันตรายต่อเขา หรือใช้เล่ห์เหลี่ยมกับเขา" (7)
นอกจากนี้ท่านยังกล่าวอีกว่า :
مَن بَاتَ وَ فِيْ قلْبِه غِشٌّ لأخيهِ المُسلمِ، بَاتَ فِيْ سَخَطِ اللهِ وأصبَحَ كَذَلِكَ حتَّى يَتوبَ
"ผู้ใดก็ตามที่นอนหลับลงในสภาพที่ในหัวใจของเขาคิดฉ้อฉลต่อพี่น้องมุสลิมของเขา เขานอนหลับและตืนเช้าขึ้นมาในความโกรธกริ้วของอัลลอฮ์ จนกว่าเขาจะทำการเตาบะฮ์ (สารภาพผิดต่อพระองค์)" (8)
และท่านอิมามอิมามซอดิก (อ.) ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า :
مَنْ عَامَلَ النَّاسَ فَلَمْ يَظْلِمْهُمْ ، وَ حَدَّثَهُمْ فَلَمْ يَكْذِبْهُمْ ، وَ وَعَدَهُمْ فَلَمْ يُخْلِفْهُمْ كَانَ مِمَّنْ حُرِّمَتْ غِيْبَتُهُ ، وَ كَمُلَتْ مُرُوءَتُهُ ، وَ ظَهَرَتْ عَدَالَتُهُ ، وَ وَجَبَتْ أُخُوَّتُهُ
"ผู้ใดก็ตามที่ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์แล้วไม่อธรรมต่อพวกเขา พูดคุยกับพวกเขาแล้วไม่โกหกพวกเขา ให้สัญญาต่อพวกเขาแล้วไม่บิดพลิ้วต่อพวกเขา (ดังนั้น) เขาเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้ที่การนินทาเขาเป็นที่ต้องห้าม ความเป็นสุภาพชนของเขาสมบูรณ์ ความยุติธรรมของเขาเป็นที่ปรากฏชัดและการเป็นพี่น้องกับเขาเป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ)" (9)
และท่านยังกล่าวอีกว่า :
الْمُسْلِمُ أَخُو الْمُسْلِمِ لا يَظْلِمُهُ وَلا يَخْذُلُهُ وَلا يَغْتَابُهُ وَلا يَخُونُهُ وَلا يَحْرِمُهُ
"มุสลิม คือพื่น้องของมุสลิม เขาจะไม่อธรรมต่อ (พี่น้องของ) เขา จะไม่หลอกลวงเขา จะไม่ทอดทิ้งเขา จะไม่นินทาเขา จะไม่ทรยศเขาและจะไม่ลิดรอนเขา" (10)
การปฏิสัมพันธ์กับบรรดาผู้ศรัทธา (มุอ์มิน)
การรวมตัวอยู่กับบรรดาผู้ศรัทธา
แกนหลักของบรรดาผู้ศรัทธานั้น คือ พระผู้เป็นเจ้า ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) และจำเป็นเหนือพวกเขาที่จะต้องรวมตัวและประสานสัมพันธ์ต่อกันในทุกๆ กิจการบนแกนหลักนี้ และจงหลีกเลี่ยงจากความแตกแยกและการออกห่างจากกัน เพื่อจะทำให้พวกเขาบรรลุสู่เป้าหมายต่างๆ แห่งความศรัทธา (อีหม่าน) ของตน ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :
وَاعْتَصِمُوا بِحَبْلِ اللَّهِ جَمِيعًا وَلَا تَفَرَّقُوا
“และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮ์โดยพร้อมเพรียงกันและจงอย่าแตกแยกกัน” (11)
ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) กล่าวว่า :
أَيُّهَا النَّاسُ عَلَيْكُمْ بِالجَمَاعَةِ وَ إِيَّاكُمْ وَالفُرْقَةَ
“โอ้ประชาชนเอ๋ย! พวกท่านจงรวมตัวกันและจงระวังจากการแตกแยกกัน” (12)
มีผู้ถามท่านอมีรุ้ลมุอ์มินีน (อ.) เกี่ยวกับ “ญะมาอะฮ์” (การรวมกัน) และ “ฟุรเกาะฮ์” (การแตกแยกกัน) ท่านกล่าวว่า :
وَالْجَمَاعَةُ وَاللَّهِ مُجَامَعَةُ أَهْلِ الْحَقِّ وَإِنْ قَلُّوْا وَالْفُرْقَةُ مُجَامَعَةُ أَهْلِ الْبَاطِلِ وَإِنْ كَثَرُوْا
“...ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ญะมาอะฮ์นั้นคือการรวมกันของชาวสัจธรรม แม้ว่าพวกเขาจะมีจำนวนน้อยก็ตาม และฟุรเกาะฮ์นั้นคือการรวมกันชาวหลงผิด แม้พวกเขาจะมีจำนวนมากก็ตาม” (13)
ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้กล่าวเช่นกันว่า :
اِسْتَكْثِرُوا مِنَ اَلْإِخْوَانِ فَإِنَّ لِكُلِّ مُؤْمِنٍ دَعْوَةً مُسْتَجَابَةً وَ قَالَ اِسْتَكْثِرُوا مِنَ اَلْإِخْوَانِ فَإِنَّ لِكُلِّ مُؤْمِنٍ شَفَاعَةً وَ قَالَ أَكْثِرُوا مِنْ مُؤَاخَاةِ اَلْمُؤْمِنِينَ فَإِنَّ لَهُمْ عِنْدَ اَللَّهِ يَداً يُكَافِيهِمْ بِهَا يَوْمَ اَلْقِيَامَةِ
“ท่านทั้งหลายจงเพิ่มจำนวนพี่น้อง (ผู้ศรัทธา) ให้มาก เพราะแท้จริงผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) ทุกคนนั้น ดุอาอ์ของเขาจะถูกตอบรับ” และท่านกล่าวว่า : ท่านทั้งหลายจงเพิ่มจำนวนพี่น้อง (ผู้ศรัทธา) ให้มาก เพราะแท้จริงผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) ทุกคนจะมีชะฟาอัต (การขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าให้แก่ผู้อื่น)” และท่านกล่าวว่า : “ท่านทั้งหลายจงเพิ่มพี่น้อง (ผู้ศรัทธา) ให้มาก เพราะแท้จริงในวันกิยามะฮ์ พวกเขาจะมีสิทธิ ณ อัลลอฮ์ที่จะตอบแทนรางวัลพวกเขา” (14)
ความดีงามของการรวมตัวกันของบรรดาผู้ศรัทธา
ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) กล่าวว่า :
لَوْ أَنَّ أَحَداً مِنْهُمْ يَصْبِرُ عَلَى أَصْحَابِهِ لاَ يَقْطَعُهُمْ وَ يَصْبِرُ فِي مِثْلِ جُوعِهِمْ وَ فِي مِثْلِ غَمِّهِمْ إِلاَّ كَانَ لَهُ مِنَ اَلْأَجْرِ كَأَجْرِ سَبْعِينَ مِمَّنْ غَزَا مَعِي غَزْوَةَ تَبُوكَ
“หากคนใดจากพวกเขา (พี่น้องผู้ศรัทธา) มีความอดทนต่อ (ความทุกข์ยากของ) บรรดาสหายของเขา โดยไม่ตัดขาดจากพวกเขาและอดทน อย่างเช่นในเรื่องความหิว (ปากท้อง) ของพวกเขาและความทุกข์โศกของพวกเขา นอกจากเขาจะได้รับรางวัลประหนึ่งดั่งรางวัลของเจ็ดสิบคนที่ทำสงครามร่วมกับฉันในสงครามตะบูก” (15)
ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า :
اجْتَمَعُوْا وَ تَذَاكَرُوْا تَحُفُّ بِكُمُ الْمَلَائِكَةُ. رَحِمَ اللَّهُ مَنْ أَحْيَا أَمْرَنَا
“ท่านทั้งหลายจงรวมตัวกันและจงพูดคุยกัน (ในเรื่องความรู้) แล้วมลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) จะห้อมล้อมพวกท่าน ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาผู้ที่เรื่องราวของเราดำรงอยู่” (16)
ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า :
مَا اجْتَمَعَ ثَلَاثَةٌ مِنَ الْمُؤْمِنِينَ فَصَاعِداً إِلَّا حَضَرَ مـِنَ الْمـَلَائِكـَةِ مـِثـْلُهُمْ فَإِنْ دَعَوْا بِخَيْرٍ أَمَّنُوا وَ إِنِ اسْتَعَاذُوا مِنْ شَرٍّ دَعَوُا اللَّهَ لِيَصْرِفَهُ عـَنـْهـُمْ وَ إِنْ سـَأَلُوا حـَاجـَةً تـَشـَفَّعـُوا إِلَى اللَّهِ وَ سـَأَلُوهُ قـَضـَاءَهَا
“ผู้ศรัทธาสามคนขึ้นไปจะไม่รวมตัวกัน นอกจากว่ามะลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) จำนวนเท่ากับพวกเขาจะมาเข้าร่วม ดังนั้นหากพวกเขาวิงวอนขอสิ่งดีงาม มะลาอิกะฮ์เหล่านั้นจะกล่าวอามีน (ขอให้อัลลอฮ์ทรงตอบรับคำวิงวอน) และหากพวกเขาขอความคุ้มครองจากสิ่งเลวร้าย มะลาอิกะฮ์เหล่านั้นก็จะวิงวอนขอต่ออัลลอฮ์ให้ปัดป้องมันออกไปจากพวกเขา และหากพวกเขาวอนขอความต้องการใด มะลาอิกะฮ์เหล่านั้นก็จะสื่อช่วยเหลือ ณ อัลลอฮ์ และจะวอนขอต่อพระองค์ให้ทรงทำให้ความต้องการของพวกเขาสัมฤทธิ์ผล” (17)
เชิงอรรถ :
(1). จุดประสงค์จากพี่น้องร่วมศาสนาในที่นี้หมายถึง บรรดาผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) ที่สายสัมพันธ์แห่งความเป็นมิตรและความจริงใจได้เกิดขึ้นกับพวกเขา
(2). อัลกุรอานบทอัซซะญะดะฮ์ โองการที่ 18
(3). อัลกุรอานบทอัลฮุจร๊อต โองการที่ 10)
(4). อัลกุรอานบทอัตเตายะฮ์ โองการที่ 71
(5). อัลกาฟี, เล่ม 2, หน้า 248-249
(6). กันซุลอุมมาล, เล่ม 1, หน้า 26)
(7). ตุหะฟุลอุกูล, หน้า 42)
(8). อัลฟะกีฮ์, เล่ม 4, หน้า 15
(9). อัลกาฟี, เล่ม 2, หน้า 167
(10). อัลกาฟี, เล่ม 2, หน้า 239
(11). อัลกุรอานบทอาลิอิมรอน โองการที่ 103
(12). กันซุลอุมมาล, เล่ม 1, หน้า 206
(13). กันซุลอุมมาล, เล่ม 1, หน้า 378)
(14). มุซอดะเกาะตุลอิควาน, หน้า 46)
(15). อัตตะห์ซีน, หน้า 24
(16). วะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่ม 12, หน้า 22
(17). อัลกาฟี, เล่ม 2, หน้า 187
แปลและเรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ
Copyright © 2018 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่