ในโองการต่าง ๆ ต่อไปนี้ของอัลกุรอานบท (ซูเราะฮ์) อัลอิสรออ์ กล่าวถึงส่วนหนึ่งของตัวอย่าง (มิศดาก) ทั้งหลายของ “การก่อความเสียหายในหน้าแผ่นดิน” ของชาวยิว คือ การสังหารและการเป็นชะฮีดของท่านอิมามอะลี (อ.) และท่านอิมามฮะซัน (อ.) และส่วนหนึ่งของตัวอย่าง (มิศดาก) ของ “การกำเริบเสิบสานครั้งใหญ่” (عُلُوًّا کَبِیراً) ของชาวยิว คือการเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮุเซน (อ.) และบ่งชี้ว่า ชาวยิวอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมดเหล่านี้
เหรียญแห่งความภาคภูมิใจ "ปวงบ่าวของเรา" บนหน้าอกของผู้ศรัทธาชาวชีอะฮ์และมุญาฮิดมุสลิม ในการทำสงครามกับชาวยิว
การก่อความเสียหายของชาวยิวและการเป็นชะฮีดของบรรดาอิมามมะอ์ซูม
ในโองการต่าง ๆ ต่อไปนี้ของอัลกุรอานบท (ซูเราะฮ์) อัลอิสรออ์ กล่าวถึงส่วนหนึ่งของตัวอย่าง (มิศดาก) ทั้งหลายของ “การก่อความเสียหายในหน้าแผ่นดิน” ของชาวยิว คือ การสังหารและการเป็นชะฮีดของท่านอิมามอะลี (อ.) และท่านอิมามฮะซัน (อ.) และส่วนหนึ่งของตัวอย่าง (มิศดาก) ของ “การกำเริบเสิบสานครั้งใหญ่” (عُلُوًّا کَبِیراً) ของชาวยิว คือการเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮุเซน (อ.) และบ่งชี้ว่า ชาวยิวอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมดเหล่านี้ :
وَ قَضَیْنا إِلی بَنِی إِسْرائِیلَ فِی الْکِتابِ لَتُفْسِدُنَّ فِی الْأَرْضِ مَرَّتَیْنِ» قَالَ قَتْلُ عَلِیِّ بْنِ أَبِی طَالِبٍ وَ طَعْنُ الْحَسَنِ «وَ لَتَعْلُنَّ عُلُوًّا کَبِیراً» قَالَ قَتْلُ الْحُسَیْنِ
"และเราได้แจ้งแก่วงศ์วานอิสรออีลในคัมภีร์ว่า พวกเจ้าจะบ่อนทำลายในแผ่นดินสองครั้ง" ท่านอิมามกล่าวว่า "คือการสังหารท่านอะลี บิน อบีฏอลิบ และการแทง (ศพ) ท่านฮะซัน “และพวกเจ้าจะก่อการกำเริบเสิบสานครั้งใหญ่” (1) ท่านกล่าวว่า "คือการสังหารของท่านฮุเซน" (2)
ชาวยิวมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและแนบแน่นกับบนีอุมัยยะฮ์ และแม้แต่บางคนจากผู้ก่อเหตุสังหารและการเป็นชะฮีดของบรรดาอิมามมะอ์ซูม (อ.) ก็เป็นชาวยิว หรือเป็นสมุนของชาวยิว [3] และบรรดาคอลีฟะฮ์ของบนีอุมัยยะฮ์ก็ใช้ที่ปรึกษาชาวยิวในรัฐบาลของตน [4]
การตีความ (ตะวีล) โองการอัลกุรอานที่มาหลังจากการประทาน (ตันซีล) มัน?
ประเด็นสำคัญก็คือ ในโองการต่าง ๆ ของอัลกุรอานบท (ซูเราะฮ์) อัลอิสรออ์ได้พูดถึงการก่อความเสียหายของชาวยิวว่าเป็นการสังหารท่านอิมามฮุเซน (อ.) อย่างไร ในขณะที่คำสัญญาของการแก้แค้นและการลงโทษได้ถูกเลื่อนออกไปยังยุคของการปรากฏตัวของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) :
إِنَّ اللَّهَ تَبَارَکَ وَ تَعَالَی أَنْزَلَ الْقُرْآنَ...وَ أَمَّا مَا تَأْوِیلُهُ بَعْدَ تَنْزِیلِهِ فَهِیَ الْأُمُورُ الَّتِی أَخْبَرَ اللَّهُ عَزَّوَجَلَّ رَسُولَهُ أَنَّهَا سَتَکُونُ بَعْدَهُ...مِثْلُ قَوْلِهِ تَعَالَی: وَ نُريدُ أَنْ نَمُنَّ عَلَى الَّذينَ اسْتُضْعِفُوا فِي الْأَرْضِ وَ نَجْعَلَهُمْ أَئِمَّةً وَ نَجْعَلَهُمُ الْوارِثين[5] وَ مِثْلُهُ: «وَ قَضَیْنا إِلی بَنِی إِسْرائِیلَ فِی الْکِتابِ لَتُفْسِدُنَّ فِی الْأَرْضِ مَرَّتَیْنِ»[6] فَهَذِهِ الْآیَاتُ وَ أَشْبَاهُهُمَا نَزَلَتْ قَبْلَ تَأْوِیلِهَا وَ کُلُّ ذَلِکَ تَأْوِیلُهُ بَعْدَ تَنْزِیلِه
“แท้จริงอัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่ง ทรงประทานอัลกุรอานลงมา ... แต่สิ่งที่การตีความ (ตะวีล) ของมันจะลงมาภายหลังการประทานมันนั้น มันคือสิ่งต่างๆ ที่อัลลอฮ์ ผู้ทรงเกริกเกียรติ ทรงแจ้งข่าว (ล่วงหน้า) ไว้แก่ศาสนทูตของพระองค์ว่ามันจะเกิดขึ้นในอนาคตหลังจากท่าน ... เหมือนดังพระดำรัสขององค์ผู้ทรงสูงส่งที่ว่า : "เราประสงค์ที่จะมอบความโปรดปรานแก่บรรดาผู้ถูกกดขี่ในแผ่นดิน และเราจะทำให้พวกเขาเป็นอิมาม (ผู้นำ) และให้พวกเขาเป็นผู้สืบทอด (อำนาจการปกครอง)" [5] และที่เหมือนกันนี้คือ "และเราได้แจ้งแก่วงศ์วานของอิสรออีลไว้ในคัมภีร์ว่า พวกเขาจะก่อความเสียหายในแผ่นดินสองครั้ง" (6) ดังนั้น โองการเหล่านี้และโองการที่คล้ายกันกับทั้งสองนี้ จึงถูกประทานลงมาก่อนการตีความ (ตะวีล หรือก่อนที่เหตุการณ์จริงจะเกิดขึ้น) และโองการเหล่านี้ทั้งหมด การตีความ (ตะวีล) ของมันจะมาหลังจากการถูกประทาน" [7]
ความหมายของการตีความ (ตะวีล) ในที่นี้คืออะไร? ในหะดีษทั้งหลาย การตีความ (ตะวีล) มีความหมายที่หลากหลาย [8]
ตามพยานหลักฐานที่ถูกกล่าวถึงไปแล้วของโองการต่างๆ เกี่ยวกับการก่อความเสียหายของชาวยิว : «نَزَلَتْ قَبْلَ تَأْوِیلِهَا» "การลงมาก่อนการตีความของมัน" เป็นผลทำให้ให้ประโยคที่ว่า «تَأْوِیلُهُ بَعْدَ تَنْزِیلِهِ» จะหมายถึง การเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ของเนื้อหาของโองการเหล่านี้ จะมาหลังจากการประทานโองการเหล่านี้ และในช่วงเวลาของการประทานโองการเหล่านี้ เนื้อหา (เหตุการณ์จริง) ของมันยังไม่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ ในหะดีษของชีอะฮ์ทั้งหมดที่จะอธิบายต่อไปนี้ จึงมีการกล่าวถึงการลงโทษในยุคการปรากฏตัว (ซุฮูร) ของกออิม และไม่มีการเอ่ยถึงบุคตุนนัศร์ (กษัตริย์เนบูคัดเนซซาร์) ซึ่งได้ทำการปราบปรามชาวยิวในช่วงก่อนการมาของอิสลามแต่อย่างใด
เป็นที่ชัดเจนว่าชาวยิวผู้มีอิทธิพลในราชสำนักของบนีอุมัยยะฮ์มีบทบาทสำคัญในการเป็นชะฮีดของบรรดาอิมาม (อ.) และมีการกล่าวถึงมันว่า คือส่วนหนึ่งจากตัวอย่าง (มิศดาก) ของ "การก่อความเสียหายของชาวยิว" และ “การกำเริบเสิบสาน” ของพวกเขา แต่สัญญาการลงโทษและการทวงหนี้เลือดจากพวกเขานั้น จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่?
เพื่อตอบคำถามข้างต้น เราจำเป็นต้องตรวจสอบดูหะดีษต่างๆ ที่มาอธิบายโองการเหล่านี้
ถึงเวลาของสัญญาการลงโทษ
มีการกล่าวไว้ในหะดีษต่างๆ ว่าเมื่อสัญญาการทวงหนี้เลือดของท่านอิมามฮุเซน (อ.) มาถึง พระผู้เป็นเจ้าจะทรงส่งกลุ่มชนหนึ่งมาซึ่งเป้าหมายของพวกเขาคือการแก้แค้นบรรดาศัตรูของวงศ์วานมุฮัมมัด :
قَوْلِهِ تَعَالَى «وَ قَضَيْنا إِلى بَنِي إِسْرائِيلَ فِي الْكِتابِ لَتُفْسِدُنَّ فِي الْأَرْضِ مَرَّتَيْنِ»: قَالَ قَتْلُ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ وَ طَعْنُ الْحَسَنِ «وَ لَتَعْلُنَّ عُلُوًّا كَبِيراً»: قَالَ قَتْلُ الْحُسَيْنِ «فَإِذا جاءَ وَعْدُ أُولاهُما»: فَإِذَا جَاءَ نَصْرُ دَمِ الْحُسَيْنِ «بَعَثْنا عَلَيْكُمْ عِباداً لَنا أُولِي بَأْسٍ شَدِيدٍ فَجاسُوا خِلالَ الدِّيارِ»: قَوْمٌ يَبْعَثُهُمُ اللَّهُ قَبْلَ خُرُوجِ الْقَائِمِ فَلَا يَدَعُونَ وَتْراً لآِلِ مُحَمَّدٍ إِلَّا قَتَلُوهُ «وَ كانَ وَعْداً مَفْعُولًا»: خُرُوجُ الْقَائِم
“พระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสุงส่งที่ว่า “และเราได้แจ้งแก่วงศ์วานของอิสราเอลไว้ในคัมภีร์ว่า พวกเจ้าเจ้าจะก่อความเสียหายในแผ่นดินสองครั้งอย่างแน่นอน” ท่านกล่าวว่า : คือการสังหารท่านอะลี บิน อบีฏอลิบ และการแทง (ศพ) ของท่านฮะซัน" “และพวกเจ้าจะก่อการกำเริบเสิบสานครั้งใหญ่อย่างแน่นอน” ท่านกล่าวว่า : คือการสังหาท่านฮุเซน“ จากนั้นเมื่อสัญญาครั้งแรกจากทั้งสองมาถึง” หมายถึงจากนั้นเมื่อการช่วยเหลือเลือดของฮุเซนมาถึง “เราจะส่งปวงบ่าวของเราที่มีพลังอำนาจเข้มแข็งมาต่อสู้กับพวกเจ้า พวกเขาจะบุกตะลุยค้นตามบ้านเรือนทั้งหลาย” หมายถึง อัลลอฮ์จะทรงส่งพวกเขามาก่อนการยืนหยัดขึ้นของกออิม แล้วพวกเขาจะไม่ปล่อยผู้ที่อธรรมต่อวงศ์วานของมุฮัมมัดไว้แม้แต่คนเดียว เว้นแต่พวกเขาจะฆ่าเขา “และมันเป็นคำสัญญาที่เป็นจริง” หมายถึง การยืนหยัดขึ้นของกออิม" [9]
ผู้พิทักษ์เลือด (วะลียุดดัม) ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) คือใคร?
ตามหะดีษต่าง ๆ ที่เชื่อถือได้ (มุอ์ตะบัร) ผู้ที่จะทวงแค้นหนี้เลือดของท่านอิมามฮุเซน (อ.) คือท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) :
فِي قَوْلِهِ: «وَ مَنْ قُتِلَ مَظْلُوماً فَقَدْ جَعَلْنا لِوَلِيِّهِ سُلْطاناً فَلا يُسْرِفْ فِي الْقَتْلِ إِنَّهُ كانَ مَنْصُوراً»: قَالَ هُوَ الْحُسَيْنُ بْنُ عَلِيٍّ قُتِلَ مَظْلُوماً وَ نَحْنُ أَوْلِيَاؤُهُ وَ الْقَائِمُ مِنَّا إِذَا قَامَ طَلَبَ بِثَأْرِ الْحُسَيْنِ...الْمَقْتُولُ الْحُسَيْنُ وَ وَلِيُّهُ الْقَائِم
“ในพระดำรัสของพระองค์ : “และผู้ใดถูกฆ่าอย่างอยุติธรรม ดังนั้น เราได้ให้อำนาจแก่ผู้ปกครองของเขา ดังนั้น อย่าได้ล่วงเกินขอบเขตในเรื่องการฆ่า แท้จริงเขา (ผู้ถูกอธรรม) จะได้รับความช่วยเหลือ” ท่านกล่าวว่า : นี่คือฮุเซน บิน อะลี เขาถูกสังหารอย่างอยุติธรรม และพวกเราคือผู้พิทักษ์ของเขา และกออิม (มะฮ์ดี) ของพวกเรา เมื่อเขายืนหยัดขึ้น เขาจะทวงหนี้เลือดให้กับฮุเซน... ฮุเซนคือผู้ถูกสังหารและผู้พิทักษ์ (เลือด) ของเขา คือกออิม" [10]
ด้วยเหตุนี้ช่วงเวลาแห่งการลงโทษจึงถูกเลื่อนไปยังยุคของการปรากฏตัวของกออิม
قَوْلِهِ تَعَالَى «بَعَثْنا عَلَيْكُمْ عِباداً لَنا أُولِي بَأْسٍ شَدِيدٍ فَجاسُوا خِلالَ الدِّيارِ»: قَوْمٌ يَبْعَثُهُمُ اللَّهُ قَبْلَ خُرُوجِ الْقَائِمِ فَلَا يَدَعُونَ وَتْراً لآِلِ مُحَمَّدٍ إِلَّا قَتَلُوهُ
“พระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง : “เราจะส่งปวงบ่าวของเราซึ่งมีพละกำลังเข้มแข็งมาต่อสู้กับพวกเจ้า ดังนั้นพวกเขาจะบุกตะลุยค้นตามบ้านเรือนทั้งหลาย” (พวกเขาคือ) : กลุ่มชนที่พระผู้เป็นเจ้าจะส่งมาก่อนการยืนหยัดขึ้นต่อสู้ของกออิม ดังนั้นพวกเขาจะไม่ปล่อยผู้ที่อธรรมต่อวงศ์วานของมุฮัมมัดไว้แม้เพียงคนเดียว เว้นแต่พวกเขาจะฆ่าเขา" [11]
ในส่วนยอดของวงศ์วานของมุฮัมมัด คือใคร? คำตอบ : ท่านอิมามฮุเซน (อ.)
ชาวอิหร่านและแกนต่อต้าน คือ "ปวงบ่าวของเรา" และผู้ช่วยเหลือของกออิม
ด้วยเหตุนี้ท่านอิมามมะอ์ซูม (อ.) จึงกล่าวว่า "ปวงบ่าวของเรา" (عِبَاداً لَنَا) ซึ่งจะยืนหยัดขึ้นต่อสู้โดยมีเป้าหมายเพื่อการลงโทษบรรดาศัตรูนั้น คือบรรดาผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) และบรรดานักต่อสู้ชาวมุสลิมซึ่งตามการชี้ชัดของบรรดาหะดีษ พวกเขาอยู่ในกลุ่มผู้ช่วยเหลือของกออิม :
أَبِي جَعْفَرٍ...كَانَ يَقْرَأُ «بَعَثْنا عَلَيْكُمْ عِباداً لَنا أُولِي بَأْسٍ شَدِيدٍ» ثُمَّ قَالَ وَ هُوَ الْقَائِمُ وَ أَصْحَابُهُ أُولِي بَأْسٍ شَدِيدٍ
ท่านอบูญะฟัร (อิมามบากิร) ... อ่าน (โองการนี้) ว่า “เราจะส่งปวงบ่าวของเราซึ่งมีพละกำลังเข้มแข็งมาต่อสู้กับพวกเจ้า” แล้วท่านก็กล่าวว่า “เขาคือกออิมและบรรดาผู้ช่วยเหลือของเขา คือผู้มีพละกำลังเข้มแข็ง” [12]
หะดีษต่าง ๆ ข้างต้นเป็นข้อพิสูจน์ว่าโดยพื้นฐานแล้วบรรยากาศของซูเราะฮ์อัลอิสรออ์นั้น เกี่ยวข้องกับมะฮ์ดะวียะฮ์และยุคแห่งการปรากฏตัวของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) และไม่ใช่ก่อนอิสลาม และก็ไม่ใช่การปราบปรามโดย "บุคตุนนัศร์" (กษัตริย์เนบูคัดเนซซาร์) ซึ่งเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา (กาฟิร)
และบทบาทของชาวชีอะฮ์อิหร่านก็จะมีความโดดเด่นมากกว่าและในฐานะ "อัซซาบิกูน" (ผู้รุดหน้าในการทำดีก่อนผู้อื่น) พวกเขาได้รับเกียรติในการเข้าร่วมในการทำสงครามกับเหล่าศัตรู :
كنْتُ عِنْدَ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ جَالِساً إِذْ قَرَأَ هَذِهِ الْآيَةَ «فَإِذا جاءَ وَعْدُ أُولاهُما بَعَثْنا عَلَيْكُمْ عِباداً لَنا أُولِي بَأْسٍ شَدِيدٍ فَجاسُوا خِلالَ الدِّيارِ وَ كانَ وَعْداً مَفْعُولًا» فَقُلْنَا جُعِلْنَا فِدَاكَ مَنْ هَؤُلَاءِ فَقَالَ ثَلَاثَ مَرَّاتٍ هُمْ وَ اللَّهِ أَهْلُ قُم
▫️"ขณะที่ฉันกำลังนั่งอยู่กับท่านอบาอับดิลลาฮ์ ท่านได้อ่านโองการนี้ว่า "ดังนั้นเมื่อสัญญา (การลงโทษ) ครั้งแรกจากทั้งสองครั้งได้มาถึง เราจะส่งปวงบ่าวของเราที่มีพละกำลังเข้มแข็งมาทำสงครามกับพวกเจ้า แล้วพวกเขาจะบุกตะลุยค้นตามบ้านเรือนทั้งหลาย และมันคือสัญญาที่จะต้องถูกกระทำ" พวกเราได้ถามว่า : "พวกเราขอพลีแด่ท่าน! พวกเขาเหล่านั้นเป็นใคร?" ท่านกล่าวถึงสามครั้งว่า : "ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ พวกเขาคือชาวเมืองกุม" [13]
เหรียญตราแห่งเกียรติยศนี้ได้ถูกมอบให้กับชาวชีอะฮ์และหมู่ชนของซัลมาน ฟาริซี และ : «قَتْلَاهُمْ شُهَدَاء» "บรรดาผู้ที่ถูกฆ่าของพวกเขาคือชะฮีด" [14] และ : «لَا يَدْفَعُونَهَا إِلَّا إِلَى صَاحِبِكُم» "พวกเขาจะไม่มอบธงให้กับใคร นอกจากผู้นำของพวกท่าน" [14]
ฝ่ายแกนต่อต้านในการเผชิญหน้ากับการก่อความเสียหายของชาวยิวและพันธมิตรของพวกเขา
และแน่นอนว่า บรรดานักต่อสู้ (มุญาฮิดีน) ชาวมุสลิมที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและการกำกับดูแลของธงนี้ ในความเป็นจริงแล้วตามสำนวนคำพูดของอิมามมะอ์ซูม ก็ถือเป็นชะฮีดด้วยเช่นกัน และในหะดีษทั้งหลาย "อะซอฮิบ" แห่งอิรัก "อับดาล" แห่งดินแดนชาม "นุญะบาอ์" แห่งอียิปต์ และชาวเยเมน พวกเขาคือ "แกนแห่งการต่อต้าน" ในการเผชิญศึกกับเหล่าศัตรูของแนวรบแห่งสัจธรรม ซึ่งภายหลังจากการปรากฏตัว (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) พวกเขาจะให้สัตยาบัน (ประกาศความจงรักภักดี) ต่อท่านอิมามด้วยเช่นกัน :
رجُلٌ مِنَّا أَهْلَ الْبَيْتِ يُبَايَعُ لَهُ بَيْنَ زَمْزَمَ وَ الْمَقَامِ يَرْكَبُ إِلَيْهِ عَصَائِبُ أَهْلِ الْعِرَاقِ وَ أَبْدَالِ الشَّامِ وَ نُجَبَاءُ أَهْلِ مِصْرَ وَ تَصِيرُ أَهْلُ الْيَمَنِ عِدَّتُهُمْ عِدَّةَ أَهْلِ بَدْر
▫️"บุรุษย์ผู้หนึ่งจากเรา อะฮ์ลุลบัยต์ จะได้รับการให้สัตยาบัน ระหว่าง (บ่อน้ำ) ซัมซัมและมะกอม (อิบรอฮีม) อะซออิบชาวอิรัก อับดาลแห่งชามและนุญะบาอ์ชาวอียิปต์จะขี่พาหนะมายังเขา และชาวเยเมนก็จะไปถึง จำนวนของพวกเขาคือจำนวนเท่ากับชาวบะดัร (313 คน)" [15]
มุญาฮิดีน (นักต่อสู้) ชาวมุสลิมในปาเลสไตน์ และยืนกรานในจุดยืนที่ถูกต้อง
แน่นอนว่าชาวซุนนีกลุ่มหนึ่งซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์และอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ "อิบาดัน ละนา" (ปวงบ่าวของเรา) ก็จะถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้แกนต่อต้านด้วยเช่นกัน โดยมีเงื่อนไขว่าชาวชีอะฮ์ที่แท้จริงของ “อับดัน ละนา'' จะเข้าร่วมสงครามพร้อมกับมุญาฮิดีนเหล่านี้ในการทำสงครามกับอิสราเอลพเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์
ในหะดีษต่าง ๆ ได้กล่าวไว้เช่นกันว่ากลุ่มหนึ่งจากอุมมะฮ์ (ประชาชาติ) อิสลามในปาเลสไตน์จะยืนหยัดบนจุดยืนแห่งสัจธรรม และจะไม่ยอมรับคำตำหนิประณามของใครต่อความเชื่อและอุดมการณ์ของตน :
لا تَزالُ عِصابةٌ مِن أُمَّتي يُقاتِلونَ على أبْوابِ دِمَشقَ وما حَولها، وعلى أبْوابِ بَيتِ المَقدِسِ وما حَولها، لا يَضُرُّهم خِذلانُ مَن خَذَلَهم، ظاهرينَ على الحَقِّ إلى يومِ القيامةِ.
"กลุ่มหนึ่งจากประชาชาติของฉันจะยังคงต่อสู้อยู่ที่ประตูดามัสกัส และพื้นที่โดยรอบมัน และที่ประตูบัยตุลมักดิส และพื้นที่โดยรอบมัน การทรยศ (และการทอดทิ้ง) ของผู้ที่ทรยศพวกเขาจะไม่ยังอันตรายต่อพวกเขา พวกเขาจะปรากฏตัวอยู่บนสัจธรรมจนกระทั่งถึงวันสิ้นโลก” [16]
บทสรุป :
การหยิบยกเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนที่ว่าภายใต้โองการต่างๆ ช่วงต้นของซูเราะฮ์อัลอิสรออ์ ได้กล่าวถึงการสังหารท่านอิมามอะลี (อ.) และท่านฮะซัน (อ.) ว่าเป็นตัวอย่างของ "การก่อความเสียหาย" ของชาวยิว และการสังหารท่านอิมามฮุเซน (อ.) ว่าเป็นตัวอย่างของ "การกำเริบเสิบสานครั้งใหญ่" ของพวกเขา ดังนั้น โองการเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับยุคแห่งการปรากฏตัว (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) นั้น ประเด็นดังกล่าวนี้ได้รับคำตอบไปแล้ว รวมทั้งกรณีที่ว่า หะดีษข้างต้นเป็นหนึ่งในบรรดาหะดีษตะวีล (การตีความ) แล้วมันจะเป็นตะวีล (การตีความ) ประเภทใดนั้นก็ได้รับคำตอบไปแล้วเช่นกัน
และยังได้พิสูจน์ไปแล้วด้วยว่าในบรรดาหะดีษที่มาตีความโองการเหล่านี้ ไม่มีการเอ่ยถึง "บุคตุนนัศร์" (กษัตริย์เนบูคัดเนซซาร์) ซึ่งเป็นผู้ปราบปรามชาวยิวก่อนการมาของอิสลามแต่อย่างใด แต่ทว่าการเกิดขึ้น (ของการลงโทษ) ตามโองการต่างๆ ในช่วงเริ่มต้นของซูเราะฮ์รออ์นี้ จะอยู่ในช่วงเวลาของการปรากฏตัวของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.)
เชิงอรรถ :
1. อัลกุรอานบทอัลอิสรออ์ โองการที่ 4
2. อัล กาฟี, กุลัยนี, เล่ม 8, หน้า 206; กามิลุซซิยารอต, อิบนุ เกาละวัยฮ์, หน้า 63
3. ตะบาร อินฮิรอฟ, (เผ่าพันธ์ุที่เบี่ยงเบน) , มะฮ์ดี ฏออิบ
4. ชุกูฟออีเย่ อักล์ ดัร พัรทูเย่ เนะฮ์ซ็อต ฮุซัยนี, ญะวาดี ฮฮมูลี, หน้า 220
5. อัลกุรอานบทอัลกอศอศ โองการที่ 5-6
6. อัลกุรอานบทอัลอิสรออ์ โองการที่ 4
7. ซิซาละฮ์ อัลมุห์กัม วัล มุตะชาบิฮ์, ซัยยิด มุรตะฎอ, หน้า 156-158; บิฮารุลอันวาร, มัจญ์ลิซี, เล่ม 90, หน้า 77-78
8. มะอ์นา ชะนอซี วะมูริเด คอรบุรด์ วอเจะฮ์ ตะวีล ดัร ริวายาต, มุซ็อฟฟะรี, ฟัศล์นอเมะฮ์ อุลูม หะดีษ, เล่ม 93, หน้า 12-20
9. อัล กาฟี, กุลัยนี, เล่ม 8 หน้า 206; มุคตะซ็อร บะซออิรุดดะรอญาต, ฮิลลี, หน้า 164; กามิลุซซิยารอต, อิบนุ เกาละวัยฮ์, หน้า 63
10. ตัฟซีร อัลอัยยาชี, เล่ม 2, หน้า 290; และคล้ายคลึงกัน: อิบนุ กุลาวียา, คาเมล อัล-ซิยารัต, หน้า 63.
11. อัล กาฟี, กุลัยนี, เล่ม 8, หน้า 206
12. ฟซีร อัลอัยยาชี, เล่ม 2, หน้า 281
13. บิฮารุลอันวาร, มัจญ์ลิซี, เล่ม 57, หน้า 216
14. อัล ฆ็อยบะฮ์, หน้า 273
15. ดะลาอิลุลอะอิมมะฮ์, ฏอบารี, หน้า 466; อัล อิคติศอศ, มุฟีด, หน้า 208
16. มุอ์ญัม อัล-อะฮาดีษ อัล อิมามุ อัล มะฮ์ดี, เล่ม 1, หน้า 499
บทความ : มุศฏอฟา อะมีรี
แปลและเรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ
Copyright © 2024 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่