ชาวปาเลสไตน์กลุ่มแรกเป็นชนชาวอาหรับ ไม่ใช่ชาวยิววงศ์วานของอิสราเอล
Powered by OrdaSoft!
No result.
ชาวปาเลสไตน์กลุ่มแรกเป็นชนชาวอาหรับ ไม่ใช่ชาวยิววงศ์วานของอิสราเอล

ประวัติศาสตร์อารยธรรมแสดงให้เห็นว่า ชาวยิวไซออนิสต์อาศัยอยู่ในประเทศต่างๆ และแม้แต่บางทีบรรพบุรุษของพวกเขาไม่ได้อาศัยอยู่ในปาเลสไตน์ด้วยซ้ำ แต่อาศัยอยู่ในอียิปต์และเมืองอื่นๆ อะไรคือเหตุผลในการขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากดินแดนของตนโดยข้ออ้างที่ว่า "การจัดตั้งรัฐใหม่ ? ...

    ฮุจญะตุลอิสลาม ซัยยิดมะฮ์ดี ตะวักกุล นักค้นคว้าวิจัยผู้เชี่ยวชาญในสาขา มะฮ์ดะวียะฮ์ (1) และศาสนาต่างๆ ได้เขียนบทบันทึกย่อในหัวข้อเรื่อง "ความคิดและความเชื่อของชาวยิวเกี่ยวกับการปรากฏตัวในอัลกุดส์ (เยรูซาเล็ม)" ซึ่งเราจะได้อ่านด้านล่างนี้ :

    เรารู้ว่าชาวยิวหรือบนีอิสรออีลเป็นลูกหลานของศาสดายะอ์กูบ (อ.) เพราะยะอ์กูบถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานในสองที่ด้วยชื่อหรือฉายาว่า "อิสรออีล" เมื่อลูกๆ ของยะอ์กูบแยกยูซุฟ (อ.) ไปจากเขา และศาสดายูซุฟ (อ.) ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ปกครองในอียิปต์ในเวลาต่อมา ท่านขอให้บิดาและพี่น้องของท่านเข้าไปในดินแดนอียิปต์ และนี่คือสิ่งที่เราอ่านในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :

فَلَمَّا دَخَلُوا عَلى‏ یُوسُفَ آوى‏ إِلَیْهِ أَبَوَیْهِ وَ قالَ ادْخُلُوا مِصْرَ إِنْ شاءَ اللَّهُ آمِنینَ

          "ดังนั้นเมื่อพวกเขาเข้าไปหายูซุฟ เขาได้สวมกอดพ่อแม่ของเขาและกล่าวว่า พวกท่านจงเข้ามาในอียิปต์โดยปลอดภัยเถิด หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์”

(อัลกุรอานบทยูซุฟ โองการที่ 99)

    ในที่นี้ยะอ์กูบและลูก ๆ ของเขาได้เข้าสู่อียิปต์และเมืองนั้นถูกนับว่าเป็นสถานที่หลักในการดำรงชีวิตของพวกเขา

สิ่งที่ควรให้ความสนใจสองประการในที่นี้ คือ :

    ประการแรก ชาวยิวในปัจจุบันถือว่าตนเองเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากเผ่ายูดาห์ (ยะฮูดา) และสิเมโอน (ชัมอูน) และอีกบางส่วนมาจากเผ่าเบนยามิน (บุนยามีน) และเลวี (ลาวี)

    ประการที่สอง อียิปต์ถือเป็นพื้นที่อันกว้างใหญ่ที่ครอบคลุมถึงบัยตุลมักดิส (เยรูซาเล็ม) ด้วย มีระบุไว้ในประวัติศาสตร์ว่า "บัยตุลมักดิส" หรือ "เยรูซาเล็ม" ถูกรวมเข้ากับอียิปต์โดยมุฮัมมัด ปาชา ในปี ค.ศ. 1831 แม้แต่หนังสือ "โยชูวา"  (ยูชะอ์) ก็กล่าวถึง "บัยตุลมักดิส" (เยรูซาเล็ม) ว่าตั้งอยู่ในอาณาเขตของเผ่าเบนจามินซึ่งถูกชาวเยบุสยึดครอง เป็นเรื่องปกติที่ชาวยิวจะถือว่าดินแดนนี้เป็นบ้านเกิดและเป็นดินแดนของบรรพบุรุษของพวกเขา

    ต่อมาเมื่อ “ลูกหลานอิสราเอล” ในเมืองนั้นถูกจับไปเป็นเชลยและไปเป็นทาสในสมัยที่ฟาโรห์ผู้เป็นผู้ปกครองอียิปต์ พระเจ้าก็ทรงส่งมูซา (อ.) (โมเสส) มาเพื่อชี้นำและช่วยเหลือพวกเขาและภายจากการพินาศของฟาโรห์ด้วยปาฏิหาริย์ (มุอ์ญิซาต) มูซา (อ.) ได้นำพาส่วนหนึ่งจากหมู่ชนของลูกหลานอิสราเอลออกจากอียิปต์ แน่นอนว่าลูกหลานของอิสราเอลกลุ่มหนึ่งยังคงอยู่ในอียิปต์ เนื่องจากอัลกุรอานกล่าวไว้ในเหตุการณ์หลังจากการพินาศของฟาโรห์ว่า :

وَ أَوْرَثْنَا الْقَوْمَ الَّذینَ کانُوا یُسْتَضْعَفُونَ مَشارِقَ‏ الْأَرْضِ وَ مَغارِبَهَا الَّتی‏ بارَکْنا فیها

          "และเราได้มอบดินแดนทางตะวันออกและตะวันตกเป็นมรดกสืบทอดแก่กลุ่มชนที่ถูกทำให้อ่อนแอ (ถูกกดขี่) อันเป็นดินแดนซึ่งเราได้ให้ความจำเริญในมัน"

(อัลกุรอานบทอัลอะอ์โองการที่ 137)

    ประเด็นนี้แสดงให้เห็นว่าคนกลุ่มหนึ่งจากลูกหลานของอิสราเอล (ยะอ์กูบ) ยังคงอยู่ในอียิปต์หลังจากการพินาศของฟาโรห์และได้ดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของฟาโรห์กลับคืนมาอีกครั้ง

    อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่กับมูซา (อ.) (โมเสส) นอกอียิปต์ ตามคำแนะนำของเขา พวกเขาได้รับคำสั่งให้กลับไปยังอียิปต์และดินแดนบัยตุลมักดิส (เยรูซาเล็ม) ซึ่งเราจะอ่านในอัลกุรอานว่า มูซา (อ.) ได้กล่าวกับหมู่ชนของตนว่า :

یا قَوْمِ ادْخُلُوا الْأَرْضَ‏ الْمُقَدَّسَةَ الَّتی‏ کَتَبَ اللَّهُ لَکُمْ

          "โอ้ หมู่ชนของฉัน! จงเข้าไปในแผ่นดินอันบริสุทธิ์ ที่อัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดให้แก่พวกท่านเถิด"

(อัลกุรอานบทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 21)

    ในคัมภีร์โตราห์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน กล่าวไว้ว่าหลังจากที่อิบรอฮีม (อ.) (อับราฮัม) เข้าสู่กันอาน (คานาอัน) พระเจ้าทรงตรัสกับเขาว่า : "เราจะมอบดินแดนนี้แก่ลูกหลานของเจ้า" (ปฐมกาล บทที่ 7 ข้อ 12 และ 15) และพระองค์ยังตรัสกับอับราฮัมด้วยว่า : "เราจะยกแผ่นดินคานาอันทั้งหมดให้กับเจ้าและภายหลังเจ้าแก่ลูกหลานของเจ้าเป็นกรรมสิทธิ์ชั่วนิรันดร์" (ปฐมกาล บทที่ 8 ข้อ 17)

    จากนั้น ในอีกที่หนึ่งของคัมภีร์โตราห์เช่นกัน เราพบว่าคำสัญญาของพระเจ้าที่จะมอบบัยตุลมักดิส (เยรูซาเล็ม) ให้แก่ชาวยิวนั้นมีเงื่อนไขว่าพวกเขาจะต้องเชื่อฟังพระเจ้า ตัวอย่างเช่น พระเจ้าทรงตรัสกับอับราฮัมว่า : "หากพวกเจ้าไม่ฟังเราและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเรา และหากพวกเจ้าปฏิเสธกฏของเรา และใจของพวกเจ้ารังเกียจบทบัญญัติของเรา และละเมิดพันธสัญญาที่เราทำไว้กับพวกเจ้า เราจะจะลงโทษพวกเจ้า... เราจะลุกขึ้นต่อต้านพวกเจ้า และพวกเจ้าจะหนีจากศัตรูของพวกเจ้า บรรดาผู้ที่เกลียดชังพวกเจ้าจะปกครองพวกเจ้า... และที่ดินของพวกเจ้าจะว่างเปล่า และเมืองทั้งหลายของพวกเจ้าจะถูกทำลาย (เลวีนิติ บทที่ 14 ข้อ 20 ถึง 33)

ชาวยิวเป็นผู้ละเมิดพันธสัญญามาโดยตลอด

    ดังนั้น สิ่งที่ชาวยิวไซออนิสต์นำเสนอในวันนี้ภายใต้อุดมคติ "การกลับไปยังดินแดนแห่งพันธสัญญา" โดยอาศัยเนื้อหาบางส่วนในคุมภีร์โตราห์จึงเป็นประเด็นที่โมฆะ (เป็นเท็จ) อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากพวกเขาไม่ปฏิบัติตามสัญญามาโดยตลอดและได้ละเมิดพันธสัญญาแห่งพระเจ้าและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้ประโยชน์จากดินแดนนี้

ชาวอาหรับคานาอันตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ก่อนวงศ์วานอิสราเอล

    จากอีกมุมหนึ่ง สิ่งที่แน่นอนในประวัติศาสตร์ก็คือใน 3,500 ปีก่อนคริสตกาล (ก่อนการกำเนิดของกลุ่มชนลูกหลานอิสราเอล) กลุ่มชนต่างๆ เช่น ชาวอาหรับคานาอันได้ตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ และพวกเขาได้ถูกรู้จักว่าเป็นผู้อยู่อาศัยกลุ่มแรกในปาเลสไตน์ และด้วยเหตุนี้เองชื่อเดิมของปาเลสไตน์ คือคานาอัน ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าที่เรียกว่าชาวปาเลสไตน์ซึ่งมาจากทะเล "อีเจียน" ได้เข้ามาในบริเวณนี้และเข้ามาแทนที่ชาวคานาอัน เป็นเวลานานหลังจากการอพยพของชาวปาเลสไตน์และชาวคานาอันไปยังดินแดนปาเลสไตน์ ที่กลุ่มชนลูกหลานของอิสราเอลได้เข้าตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ร่วมกับศาสดามูซา (อ.) (โมเสส) ต่อมาศาสดาดาวูด (อ.) (ดาวิด) และศาสดาสุไลมาน (อ.) (ซาโลมอน) ได้ใช้ชีวิตและปกครองในดินแดนนี้

    อย่างไรก็ตาม กลุ่มหนึ่งจากประชาชนยุคแรกของปาเลสไตน์ที่นับถือรูปเคารพ  ได้มีศรัทธาภายหลังการเป็นศาสดาของมูซา (อ.)  และบางคนยังคงอยู่ในศาสนาเดิมของพวกเขา ในคริสตศักราช 395 ปาเลสไตน์ถือเป็นรัฐหนึ่งในรัฐโรมันตะวันออก ในปีคริสตศักราช 638 หรือปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 17  ซึ่งแน่นอนว่าบางคนเชื่อว่าเป็นปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 15 ชาวมุสลิมเข้ายึดครองปาเลสไตน์และลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับชาวปาเลสไตน์และปล่อยให้พวกเขามีอิสระในการนับถือศาสนา และเมื่อประชาชนเริ่มรับรู้และเข้าใจถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ของศาสนาอิสลาม พวกเขาส่วนใหญ่เปลี่ยนมาเป็นมุสลิม ดังนั้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ปาเลสไตน์จึงมีประชากรที่ประกอบด้วยมุสลิม คริสเตียน และยิว แน่นอนว่ามุสลิมเป็นคนส่วนใหญ่ ในปี ค.ศ. 1896 นักข่าวชาวยิวชาวออสเตรียผู้หนึ่งชื่อ "ธีโอดอร์ เฮิร์ตเซล" (Theodor Herzl) ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งและได้เริ่มต้นขบวนการไซออนิสต์ ในระหว่างการเคลื่อนไหวของขบวนการนี้ สถานที่หลายแห่งได้รับการพิจารณาให้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวยิว ซึ่งได้แก่ อินเดีย อาร์เจนตินา ไซปรัส ปาเลสไตน์ ฯลฯ พวกเขาบรรลุข้อตกลงบนปาเลสไตน์ และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1897 กระบวนการอพยพของชาวยิวมายังสถานที่แห่งนี้ได้เริ่มต้นขึ้น และเป็นส่งผลให้ชาวมุสลิมถูกบังคับให้ออกจากบ้านเรือนและที่ดินของบรรพบุรุษ

ผลลัพธ์ก็คือ:

    ประการแรก ชาวปาเลสไตน์กลุ่มแรกเป็นกลุ่มชาวอาหรับ ไม่ใช่ชาวยิวลูกหลานของอิสราเอล

    ประการที่สอง ชาวพื้นเมืองของปาเลสไตน์เลือกนับถือศาสนาต่างๆ เช่น ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ และศาสนายิว

    ดังนั้น จึงไม่สมเหตุสมผลสำหรับชาวยิวไซออนิสต์ที่อาศัยอยู่ในประเทศต่างๆ และบางทีบรรพบุรุษของพวกเขาไม่ได้อาศัยอยู่ในปาเลสไตน์มาก่อนเลยด้วยซ้ำ แต่อาศัยอยู่ในอียิปต์และเมืองอื่นๆ เพื่อที่จะขับไล่ชาวปาเลสไตน์พื้นเมืองออกจากดินแดนของตน พวกเขาใช้ข้ออ้างว่า "การก่อตั้งรัฐใหม่" นี่ก็จะเหมือนกับกรณีตัวอย่างเช่น ชาวโซโรแอสเตอร์จะเรียกร้องและกล่าวว่า "อิหร่านเป็นของเรา" และขับไล่ชาวมุสลิมอิหร่านดั้งเดิมออกจากประเทศโดยอ้างว่าประเทศนี้เป็นของชาวโซโรอัสเตอร์มาตั้งแต่แรก


เชิงอรรถ

(1). “มะฮ์ดะวียะฮ์” คือหลักความเชื่อ (อะกีดะฮ์) ที่เชื่อมั่นในการปรากฏตัว (ซุฮูร) ของนักปฏิรูป (มุศลิห์) หรือผู้ช่วยให้รอด (มุนญี) จากอะฮ์ลุลบัยต์ (ครอบครัว) ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ในยุคสุดท้ายก่อนการอวสานของโลก ที่รู้จักกันในหมู่ชาวมุสลิมในนาม "อิมามมะฮ์ดี (อ.)" และเชื่อว่าท่านจะเติมเต็มโลกด้วยความเสมอภาคและความยุติธรรม และท่านจะปรากฏตัวขึ้นเพื่อดำรงศาสนาของอัลลอฮ์และแผ่ขยายสัจธรรมไปทั่วโลก


แปลและเรียบเรียงโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม  ประดับญาติ

Copyright © 2024 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 491 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

23290729
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
49725
52537
154558
22752902
1175206
1600060
23290729

อ 22 ต.ค. 2024 :: 23:30:48