คำคาดการณ์เมื่อปีที่แล้วของผู้บัญชาการกองกำลังกุดส์เกี่ยวกับราคาบ้านในพื้นที่ที่ถูกยึดครอง
Powered by OrdaSoft!
No result.

 คำคาดการณ์เมื่อปีที่แล้วของผู้บัญชาการกองกำลังกุดส์เกี่ยวกับราคาบ้านในพื้นที่ที่ถูกยึดครอง

นายพลกออานี คาดการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ใหม่ๆ ในดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองว่าในช่วงใหม่ของสถานการณ์เหล่านี้ แรงกดดันอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้นกับระบอบไซออนิสต์ผู้ยึดครองของอัล-กุดส์ (เยรูซาเล็ม)


               ปฏิบัติการพายุอัล-อักซอทำให้เกิดสถานการณ์ต่างๆ ในดินแดนที่ถูกยึดครอง ซึ่งไม่จำกัดเพียงประเด็นด้านความมั่นคง ตลอดจนความล้มเหลวทางด้านข่าวกรองและทางการทหารของระบอบไซออนิสต์เท่านั้น ปฏิบัติการนี้ได้เปิดเฟสใหม่ของสถานการณ์ต่างๆ ในปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง ซึ่งก่อให้เกิดคลื่นแห่งการอพยพของบรรดาผู้ตั้งถิ่นฐานชาวไซออนนิสต์ ในความเป็นจริง ระบอบไซออนิสต์ซึ่งตลอดช่วงนโยบายเจ็ดสิบปี ได้พยายามที่จะให้ชาวไซออนิสต์เข้ามาแทนที่พลเมืองชาวปาเลสไตน์นั้น วันนี้ได้เผชิญกับคลื่นของการอพยพย้อนกลับ

               ในเรื่องนี้ นายพลอิสมาอีล กออานี ผู้บัญชาการกองกำลังอัล-กุดส์ของกองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (IRGC) ได้คาคการณ์เกี่ยวกับแรงกดดันที่จะเกิดขึ้นกับระบอบไซออนิสต์ และการกลับมามีอำนาจอีกครั้งของประชาชนชาวปาเลสไตน์ โดยกล่าวว่า : "ไม่ว่าอเมริกาและอิสราเอลจะกดดันเราอย่างไรก็ตาม แรงกดดันหลายเท่าทวีคูณจะย้อนกลับไปยังพวกเขา พวกเขากำลังระดมพลังสื่อทั้งหมดของตนเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น วันที่พวกเขาลอบสังหาร ชะฮีดกอซิม สุไลมานี เราได้บอกพวกเขาว่า : "จงขายบ้านของพวกท่านเสียเถิดและจงออกไปจากปาเลสไตน์" วันนี้เรากำลังเห็นว่าในดินแดนที่ถูกยึดครองนี้ บุคคลสำคัญชาวยิวเก่าแก่ได้สร้างองค์กรต่างๆ เพื่ออพยพออกจากอิสราเอล ยังไม่สายเกินไปสำหรับวันที่ประชาชนชาวปาเลสไตน์จะขับไล่ชาวอิสราเอลออกจากปาเลสไตน์ วันนี้ชาวอิสราเอลตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก และพวกเขาก็ไม่ละอายใจกับการโฆษณาชวนเชื่อเชิงลบ" [1]

             การคาดการณ์ที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ถูกยึดครองหลังจากเกิดอาฟเตอร์ช็อกทางเศรษฐกิจและสังคมจากการปฏิบัติการพายุอัล-อักซอ และสงครามครั้งนี้ได้บังคับค่าใช้จ่ายจำนวนมากให้กับเศรษฐกิจของระบอบการปกครองนี้ และวยกับการโจมตีฉนวนกาซาได้เพิ่มแรงกดดันทวีคูณให้กับอิสราเอล ในความเป็นจริงแล้วปัญหานี้กำลังทำงานเหมือนสปริงในดินแดนที่ถูกยึดครอง และยิ่งระบอบการปกครองสร้างแรงกดดันต่อชาวปาเลสไตน์มากเท่าใด ก็มีแนวโน้มมากขึ้นที่สปริงนี้จะถูกปล่อยตัวและผลักดันอิสราเอลให้ถอยกลับไปมากยิ่งขึ้น

ค่าเงินอิสราเอลอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา

             ในเรื่องนี้ รัสเซียทูเดย์ (RT) รายงานว่า หลังจากความขัดแย้งล่าสุดในดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง สกุลเงินของระบอบไซออนิสต์ลดลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา [2] ในช่วงเวลานี้ มูลค่าทางการเงินของสกุลเงิน "อิสราเอล" (ตัวเลข) ลดลง 4 จุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ดัชนี TA-35 ของตลาดหุ้นอิสราเอลก็ร่วงลงเช่นกัน
ธนาคารกลางแห่งอิสราเอลประกาศว่า มีแผนจะขายสกุลเงินต่างประเทศสูงถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อเพิ่มมูลค่าเชเขล และเพิ่มการขายนี้อีก 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ผ่านกลไกการแลกเปลี่ยน
แม้ว่าธนาคารกลางอิสราเอลในฐานะองค์กรธุรกิจจะเข้าดำเนินการในตลาดเสรีทันที แต่สถานการณ์กลับแย่ลงอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรลืมค่าใช้จ่ายของสงคราม

ความกังวลของธนาคารอิสราเอลเกี่ยวกับการลดอันดับของความน่าเชื่อถือ

              ด้วยกระบวนการนี้ ธนาคารกลางได้ทำให้ระบอบการปกครองนี้เผชิญกับปัญหาใหญ่ เนื่องจากมันได้ตกอยู่ระหว่างสองทางเลือก งเลือกแรก คือการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้นในช่วงสงคราม และทางเลือกที่สอง คือการรักษาอัตราดอกเบี้ยให้สูงเพื่อสนับสนุนสกุลเงิน

การอพยพย้อนกลับของบรรดาผู้ตั้งถิ่นฐาน

              การอพยพย้อนกลับในดินแดนที่ถูกยึดครองได้กลายเป็นจุดอ่อนของระบอบการปกครองนี้ เมื่อพิจารณาถึงกรณีที่ว่าการดำรงอยู่ของระบอบการปกครองนี้เกิดจากการอพยพมาของไซออนิสต์ ดังนั้นการอพยพย้อนกลับของระบอบการปกครองนี้ถือเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับมัน และจะส่งผลอย่างมากต่ออนาคตของอิสราเอล นี่คือเหตุผลที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนพิจารณาว่า ปฏิบัติการพายุอัล-อักซอเป็นการโจมตีการดำรงอยู่ของระบอบการปกครองนี้ เนื่องจากมันได้ลากสงครามจากฉนวนกาซามาสู่นิคมที่อยู่อาศัยของชาวไซออนิสต์

               ในเรื่องนี้ โฆษกกองทัพอิสราเอลกล่าวระหว่างแถลงข่าวเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมว่า : "ปัจจุบัน ชาวอิสราเอลประมาณครึ่งล้านคนต้องพลัดถิ่นภายในประเทศ" แถวต่างๆ ที่แออัดและยาวเหยียดของบรรดาผู้ตั้งถิ่นฐานที่ที่รวมตัวกันที่สนามบิน Ben-Gurion เพื่อเดินทางออกจากอิสราเอล เป็นสัญลักษณ์ของการอพยพย้อนกลับหลังสถานการณ์เหล่านี้ [3]
ตามที่ทัศนะของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ การปล่อยจรวดจำนวนมากจากฉนวนกาซาไปยังเมืองต่าง ๆ ของดินแดนที่ถูกยึดครองและในเวลาเดียวกัน ความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นกับขบวนการฮิซบุลลอฮ์ในชายแดนทางตอนเหนือได้นำไปสู่การบังคับอพยพของผู้อยู่อาศัยในเมืองต่างๆ ที่ถูกยึดครองรอบๆ ชายแดนที่ติดกับฉนวนกาซาและชายแดนเลบานอน และอัตราภาระหนี้ของสถาบันประกันภัยก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจนกลายเป็นภาระที่หนักหน่วงต่อคณะรัฐมนตรี

พวกไซออนิสต์จะไม่กลับมาบ้านของพวกเขา

              ตามรายงานของสำนักข่าว Fars นับตั้งแต่เริ่มการโจมตีโดยกลุ่มฮิซบุลลอฮ์แห่งเลบานอนยังตำแหน่งต่างๆ ของระบอบไซออนิสต์ ชาวไซออนิสต์หลายหมื่นคนถูกย้ายออกจากที่ตั้งถิ่นฐานและคิบบุตซ์ใกล้ชายแดนเลบานอน และที่ตั้งถิ่นฐานก็ก็ว่างเปล่าแล้วด้วยเช่นกัน
ทางการอิสราเอลประกาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่าประชาชน 27,000 คนถูกอพยพออกจากพื้นที่ใกล้ชายแดนเลบานอน นอกจากนี้ ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว งานอพยพผู้คนประมาณ 23,000 คนจากเมืองเคอร์ยัต ชโมนา ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนเลบานอน 3 กิโลเมตร ได้เริ่มขึ้นแล้ว
เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอิสราเอลยังประกาศด้วยว่า จะอพยพผู้อยู่อาศัยในเมืองอื่นๆ อีก 14 เมืองบริเวณชายแดนติดกับเลบานอน ซึ่งคาดว่าจะมีประชากรประมาณ 1,000 คน

              ขณะนี้ ชาวเมือง Mutulah ได้บอกกับหนังสือพิมพ์ Israel Hayom ว่า พวกเขาจะไม่กลับบ้าน ตราบใดที่กองกำลังของ Rezwan Brigade (นักสู้ชั้นสูงของฮิซบุลลอฮ์) ยังอยู่ใกล้ชายแดน
ตามคำพูดของหัวหน้าสมาคมโรงแรมแห่งระบอบการปกครองอิสราเอล การหลบหนีครั้งใหญ่ของผู้ตั้งถิ่นฐานจากชายแดนเลบานอนและชายแดนฉนวนกาซาได้กลายเป็นสาเหตุทำให้ห้องพักครึ่งหนึ่งของโรงแรมทั้งหลายจะถูกจัดสรรให้กับผู้พลัดถิ่นจากทั่วฉนวนกาซาและเลบานอน

ชาวไซออนิสต์ซ่อนตัวอยู่ในบ้านและกดดันต่อเศรษฐกิจของอิสราเอล

             ในสถานการณ์ที่สงครามทางอากาศกำลังเกิดขึ้นในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยมีการตอบโต้นกันด้วยระเบิดและจรวด ผู้ตั้งถิ่นฐานจำนวนมากซ่อนตัวอยู่ในบ้านของตนและไม่ออกไปที่ถนน เนื่องจากสถานการณ์ด้านความปลอดภัย ร้านค้าและศูนย์จำหน่ายหลายแห่งในอิสราเอลว่างเปล่า ผู้คนไม่สนใจออกจากบ้าน ซึ่งจะทำให้การบริโภคลดลง

             ปัจจัยเหล่านี้ พร้อมด้วยต้นทุนที่สูงในการจัดหาเงินทุนในการทำสงคราม ตลอดจนความเสียหายทางการเงินเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดกับบริษัทและคนงาน แสดงให้เห็นว่าการยกระดับและความต่อเนื่องของสงครามจะกดดันเศรษฐกิจอิสราเอลอย่างรุนแรง [4] กองทัพอิสราเอลเรียกคน 36,000 คนเข้าประจำการในกองทัพ คนเหล่านี้จำนวนมากเป็นพนักงานของบริษัทเทคโนโลยีของอิสราเอล ซึ่งปัจจุบันไม่มาทำงาน

แรงกดดันทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์ล่าสุดต่อระบอบไซออนิสต์

             ขณะที่รัฐบาลของเนทันยาฮูกำลังเผชิญกับการขาดดุลงบประมาณอย่างรุนแรง และด้วยการปรากฏตัวของผู้ตั้งถิ่นฐานที่ถูกเรียกให้เข้าร่วมรบในกองทัพอิสราเอล ธุรกิจจำนวนมากในระบอบการปกครองนี้จึงถูกทิ้งไว้โดยไม่มีแรงงาน และสร้างความเสียหายมากมายให้กับอิสราเอลในเรื่องนี้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เองที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า หากประเทศตะวันตกไม่ช่วยเหลือระบอบการปกครองนี้ อิสราเอลจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงสำหรับการดำเนินสงครามต่อไป และด้วยการดำเนินอยู่ของสงครามความเสียหายก็จะเพิ่มขึ้น
ในการประเมินสถานะของตลาดการเงินของ "อิสราเอล" ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์เตือนว่า อัตราเงินเฟ้อที่หดตัวอย่างรุนแรงและการขาดดุลงบประมาณจำนวนมากพร้อมกับกระบวนการสงครามอันยาวนานที่ดำเนินต่อไปได้จะคุกคามต่อเศรษฐกิจของเทลอาวีฟ
ในเรื่องนี้ หน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ "Standard & Poor's", "Moody's" และ "Fitch" ได้ประกาศอันดับความน่าเชื่อถือของระบอบไซออนนิสต์ว่า "ติดลบ" หลังจากการปฏิบัติการพายุอัล-อักซอ

             ตามคำกล่าวของ "เจเบต ออร์ " หนึ่งในนักวิเคราะห์เศรษฐกิจชั้นนำของอิสราเอล ผลที่ตามมาของสงครามทำลายล้างครั้งนี้อาจทำให้การผลิตทางเศรษฐกิจต่อหัวของอิสราเอลลดลง 2-3% ในไตรมาสที่สามหรือสี่ของปีนี้ [5] ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวกันว่า เมื่อพิจารณาว่าเศรษฐกิจของอิสราเอลได้รับความเสียหายและการโจมตีของกลุ่มฮามาสทำให้กรณีเหล่านี้รุนแรงขึ้น ด้วยความที่สงครามยังคงดำเนินต่อไปและขาดการจัดการทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของระบอบนี้ได้


แหล่งอ้างอิง :

[1] https://www.farsnews.ir/razavi/news/14010209000366
[2] https://www.tasnimnews.com/fa/news/1402/07/17/2969037
[3] https://www.farsnews.ir/news/14020725000244
[4]https://donya-e-eqtesad.com/%D8%A8%D8%AE%D8%B4-%D8%A8%D8%A7%D8%B2%D8%A7%D8%B1-%D9%BE%D9%88%D9%84-%D8%A7%D8%B1%D8%B2-116/4014672-%D8%AD%D9%85%D9%84%D9%87-%D9%85%D9%88%D8%B4%DA%A9%DB%8C-%D8%A8%D9%87
[5] https://www.mehrnews.com/news/5920062/


ที่มา : ฟาร์ส

แปล/เรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2023 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้อิสลามสำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 661 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

24783921
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
33829
52431
211303
24215661
1049586
1618812
24783921

พฤ 21 พ.ย. 2024 :: 18:55:49