เคล็ดลับ 5 ข้อ เพื่อช่วยให้ผู้อื่นพึงพอใจเรา

เคล็ดลับ 5 ข้อ เพื่อช่วยให้ผู้อื่นพึงพอใจเรา

ผู้ที่ทำร้ายจิตใจผู้อื่นด้วยวาจาโดยไม่รู้หรือโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งบางครั้งอาจจะโดยตั้งใจ จะสามารถขอโทษเขาได้อย่างไร?

      ดังที่ทราบกันดีแล้วว่าการกลั่นแกล้งและการทำร้ายจิตใจผู้อื่นนั้นเป็นการกระทำที่เลวร้ายและน่ารังเกียจอย่างมาก พระผู้เป็นเจ้าไม่ทรงรักการที่ปวงบ่าวของพระองค์จะกลั่นแกล้งและทำร้ายจิตใจต่อกันและกัน ดังเช่นที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ศาสดาผู้เมตตาผู้เอื้ออาทร ได้กล่าวว่า

مٌنْ أحْزَنَ مُؤْمِناً ثُمَّ أعْطَاهُ الدُّنْیَا لَمْ یَكُنْ ذَلِكَ كَفَّارَتُهُ

“ผู้ใดที่ทำให้ผู้ศรัทธาทุกข์โศก จากนั้นเขาจะมอบโลกทั้งใบให้แก่บุคคลผู้นั้น สิ่งดังกล่าวก็ไม่อาจชดเชยบาปของเขาได้” (1)

      มนุษย์จะสามารถไดรับประโยชน์จากเนี๊ยะอ์มัต (ปัจจัยอำนวยสุข) ต่างๆ ที่ดีที่สุดจากพระผู้เป็นเจ้าในสรวงสวรรค์ ด้วยการทำชีวิตของตนเองให้ดีงามที่สุด ละทิ้งการทำร้ายและการสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้แก่ผู้อื่น และย่างก้าวไปบนเส้นทางสู่ความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า ดังที่มีรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งท่านกล่าวว่า

الجَنَّةُ لَها ثَمانِیَةُ أبوابٍ... مَن أرادَ الدُّخولَ مِن هذِهِ الأَبوابِ الثَّمانِیَةِ فَلیَتَمَسَّك بِأَربَعِ خِصالٍ  الصَّدَقَةِ وَالسَّخاءِ وحُسنِ الخُلُقِ وكَفِّ الأذى عَن عِبادِ اللّهِ تَعالى

“สวรรค์นั้นมีแปดประตู... ใครก็ตามที่ปรารถนาจะผ่านเข้าจากประตูทั้งแปดนี้ ดังนั้นเขาจงยึดมั่นในสี่ประการคือ การบริจาคทาน ความเอื้ออาทร มารยาทที่ดีงาม และการยับยั้งตนจากการทำร้ายปวงบ่าวของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง” (2)

      บุคคลที่อธรรมต่อมุสลิมคนหนึ่ง แล้วต้องการขอโทษต่อเขาและทำให้เขาพอใจโดยไม่ถือโทษโกรธเคืองนั้น ในสำนวนเรียกว่า “การขอให้ฮะล้าล” (ขอยกโทษให้)

วิธีการต่างๆ ในการขอโทษ

  1. ไปหาเขาและขอโทษเขา และถ้าได้ทำลายสิทธิใดๆ ของเขาไป จงมอบคืนสิทธินั้นให้แก่เขาและจงทำให้เขาพอใจ
  2. ขอให้ผู้อื่น (มิตรสหายของตน) ขอโทษเขาแทนตัวเอง และขอให้เขายกโทษให้ตน
  3. ไปหาเพื่อนหรือคนใกล้ชิดของบุคคลผู้นั้นและขอให้เขานำคำขอโทษของท่านไปยังบุคคลผู้นั้น
  4. หากวิธีการต่างๆ ข้างตนไม่อาจกระทำได้ ดังนั้นจงเขียนจดหมายถึงเขา และจงขอโทษและทำให้เขาพอใจในจดหมายนั้น
  5. การบริจาคทาน (ซอดะเกาะฮ์) หรือทำความดีและอุทิศผลรางวัลให้แก่เขา

      มีบุคคลหนึ่งได้ถามท่านมัรฮูมอายะตุลลอฮ์กุลพอยกานีว่า “จำเป็นไหมที่เราจะต้องไปหาบุคคลที่เรานินทาเขาและบอกกับเขาว่า ผมนินทาคุณ ขอให้คุณยกโทษให้ผมด้วย” ท่านตอบว่า “ไม่จำเป็น! เพราะสิ่งนั้นจะทำให้เขาไม่พอใจ และการทำให้มุสลิมไม่พอใจก็คือบาปประการหนึ่ง ดังนั้นการชดเชยความผิดบาปในการนินทา คือการอิซติฆฟาร (การขออภัยโทษ) และการขอโทษ (โดยตรงจากเจ้าตัว) นั้นไม่จำเป็นต้องกระทำในทุกเรื่อง” (3)

      หวังว่าด้วยวิธีการเหล่านี้จะสามารถทำให้ผู้ที่ไม่พอใจจากการกระทำของเราจะพึงพอใจจากเรา และจะทำให้พระผู้เป็นเจ้าทรงพึงพอพระทัยจากเราด้วยเช่นกัน และขอพระองค์ทรงโปรดทำให้เราออกห่างจากการทำร้ายและการสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจแก่พี่น้องผู้ศรัทธาและเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายด้วยเถิด ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า

فاز و اللّه ِ الأبرارُ ، أ تدری مَن هُم؟ هُمُ الّذینَ لا یُؤذُونَ الذَّرَّ

“ขอสาบานต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า บรรดาผู้มีคุณธรรมนั้นประสบความสำเร็จแล้ว ท่านรู้ไหมว่าพวกเขาเป็นใคร! พวกเขาคือผู้ที่ไม่ทำร้ายแม้แต่มดตัวเล็กๆ” (4)


แหล่งอ้างอิง :

[1] – บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 75, หน้าที่ 150

[2] – มุนตะค็อบ มีซานุ้ลฮิกมะฮ์, หมวดอะซียัต ; อัดดุรรุ้ลมันซูร, เล่มที่ 1, หน้าที่ 597

[3] – พัรตูอี อาซ นูร, มุห์ซิน กิรออะตี, หน้าที่ 323

[4] –มีซานุ้ลฮิกมะฮ์, คำรายงาน (ริวายะฮ์) เลขที่ 461


บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2018 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 264 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

25489986
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
2171
5775
18205
25431571
126277
549412
25489986

พ 22 ม.ค. 2025 :: 09:28:54