ผลร้ายของการประจบสอพลอและความอิจฉาริษยา
ผลร้ายของการประจบสอพลอและความอิจฉาริษยา

หากการยกย่องและการสรรเสริญนั้นเกินกว่าที่บุคคลสมควรจะได้รับ มันคือการเยินยอและการประจบสอพลอที่จะทำลายทั้งบุคลิกภาพของผู้พูด และจะทำให้อีกฝ่ายเกิดความลำพองและความหลงตนเอง และจะทำความผิดพลาดต่างๆ ที่ไม่อาจแก้ไขได้...

ไม่ประจบสอพลอและไม่อิจฉาริษยา

    ท่านอมีรุลมุอ์มินีน อะลี (อ.) กล่าวว่า :

الثَناءُ بِأَکْثَرَ مِنَ الإِسْتِحْقاقِ مَلَقٌ وَالتَّقْصِیرُ مِنَ الإِسْتِحْقاقِ عَیُّ أَوْ حَسَدٌ

"การสรรเสริญที่มากเกินกว่าที่บุคคลสมควรจะได้รับนั้นคือการประจบสอพลอ และหากน้อยเกินกว่าที่สมควรจะได้รับนั้นคือความอ่อนแอหรือความอิจฉาริษยา" (1)

คำอธิบายโดยสังเขป

    ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสมควรที่เราจะต้องยกย่องสรรเสริญบรรดาผู้ที่มีความคู่ควร รวมถึงคุณลักษณะและการกระทำดีของพวกเขา ให้การส่งเสริมและให้กำลังใจพวกเขาในเส้นทางที่พวกเขาดำเนินไป แต่สิ่งนี้ควรจะต้องพอเหมาะพอควรกับที่บุคคลเหล่านั้นสมควรได้รับ มิเช่นนั้นแล้วก็จะให้ผลลัพธ์เชิงลบและเป็นอันตรายยิ่ง

    หากการยกย่องและการสรรเสริญนั้นเกินกว่าที่บุคคลสมควรจะได้รับ มันคือการเยินยอและการประจบสอพลอที่จะทำลายทั้งบุคลิกภาพของผู้พูด และจะทำให้อีกฝ่ายเกิดความลำพองและความหลงตนเอง และจะทำความผิดพลาดต่างๆ ที่ไม่อาจแก้ไขได้ และหากน้อยเกินกว่าที่ควรได้รับ ก็จะบั่นทอนและทำให้คนทำดีทั้งหลายหมดกำลังใจ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความอ่อนแอหรือความอิจฉาริษยาของผู้พูดด้วย


เชิงอรรถ :

1.นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, ฮิกมะฮ์ 347


บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2024 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่