แนวทางในการแสวงหาพระเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า
Powered by OrdaSoft!
No result.
แนวทางในการแสวงหาพระเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า

หนึ่งในคุณลักษณะอันสูงส่งของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งได้รับการกล่าวถึงอย่างสวยงามในโองการต่างๆ ของคัมภีร์อัลกุรอาน คือคุณลักษณะแห่งความเมตตาของพระองค์ ในหลายซูเราะฮ์ (บท) ของคัมภีร์อัลกุรอาน อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงแนะนำพระองค์เองกับมนุษย์ด้วยคุณลักษณะนี้

    คุณลักษณะอันสูงส่งประการหนึ่งของของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งได้รับการกล่าวถึงอย่างสวยงามในโองการต่างๆ ของคัมภีร์อัลกุรอาน คือคุณลักษณะแห่งความเมตตาของพระองค์ ในหลายซูเราะฮ์ (บท) ของคัมภีร์อัลกุรอาน อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงแนะนำพระองค์เองกับมนุษย์ด้วยคุณลักษณะนี้ ตัวอย่างเช่น :

قالَ وَ مَنْ یقْنَطُ مِنْ رَحْمَه رَبِّهِ إِلاَّ الضَّالُّونَ

เขา (อิบรอฮีม) กล่าวว่า “และจะไม่มีผู้ใดที่สิ้นหวังในพระเมตตาของพระผู้อภิบาลของเขา นอกจากผู้หลงผิดทั้งหลาย” (1)

قالَ رَبِّ احْکمْ بِالْحَقِّ وَ رَبُّنَا الرَّحْمنُ الْمُسْتَعانُ عَلی‏ ما تَصِفُون

“เขา (มุฮัมมัด) กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงตัดสิน (แก่เรา) ด้วยความจริง และพระผู้อภิบาลของเรา คือ พระผู้ทรงกรุณา ปรานี ผู้ทรงถูกขอความช่วยเหลือต่อสิ่งที่พวกท่านกล่าวหา" (2)

    ความเมตตา (เราะห์มัต) มีความหมายกว้างมาก ซึ่งครอบคลุมถึงสิ่งประทานให้ (เมาฮิบะฮ์) ทั้งหมดของพระผู้เป็นเจ้าในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางจิตวิญญาณและไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางวัตถุ ด้วยเหตุนี้ เมื่อมนุษย์ได้เห็นประตูภายนอกทั้งหมดถูกปิดลงต่อเขา เขาจะรู้สึกว่าพระเมตตาของพระผู้เป็นเจ้าวิ่งเข้ามาสู่หัวใจและจิตวิญญาณของเขา ดังนั้นเขาจะรู้สึกดีใจและปิติยินดี เขาจะรู้สึกสงบและเกิดความมั่นใจ แม้ว่าเขาจะเผชิญกับความตีบตันในชีวิตก็ตาม (3)

    เนื่องจากพระเมตตาเมตตา (เราะห์มัต) ของพระผู้เป็นเจ้า มีความหมายกว้างและครอบคลุมถึงโลกนี้และปรโลก ในคัมภีร์อัลกุรอานจึงนำคำนี้มาใช้ในความหมายที่หลากหลาย บางครั้งก็กล่าวถึงในประเด็นเกี่ยวกับการชี้นำ (ฮิดายะฮ์) บางครั้งเกี่ยวกับการรอดพ้นจากเงื้อมมือของศัตรู บางครั้งก็หมายถึงการประทานน้ำฝนที่เปี่ยมไปด้วยความจำเริญ บางครั้งก็กล่าวถึงเนี๊ยะอ์มัต (ความโปรดปรานและสิ่งที่พระองค์ทรงประทานให้) อื่นๆ เช่น เนี๊ยะอ์มัตแห่งแสงสว่าง และในหลายกรณีก็ถูกกล่าวถึงในเรื่องของสวรรค์และความโปรดปรานและสิ่งประทานให้ของพระผู้เป็นเจ้าในปรโลก (วันกิยามะฮ์) (4)

    พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความเมตตาสองประเภท ประการหนึ่งคือความเมตตาทั่วไป  (الرحمة العامة) ของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งครอบคลุมทั้งมิตรและศัตรู ผู้ศรัทธาและผู้ปฏิเสธศรัทธา คนดีและคนชั่ว เนื่องจากสายฝนแห่งพระเมตตาอันหาที่สิ้นสุดมิได้ของพระองค์จะไปถึงทุกคนในทุกหนทุกแห่ง และเนี๊ยะอ์มัต (ความโปรดปรานและสิ่งประทานให้) อันไม่สิ้นสุดของพระองค์ก็แผ่ปกคลุมไปทั่วทุกหนทุกแห่ง

    ปวงบ่าวทุกคนจะได้รับประโยชน์จากสิ่งประทานให้ (เมาฮิบะฮ์) ที่หลากหลายในชีวิต และได้รับปัจจัยยังชีพจากสำรับที่แผ่กว้างของเนี๊ยะอ์มัต (ความโปรดปราน) อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระองค์ นี่คือความเมตตาทั่วไปของพระองค์ที่ครอบคลุมอยู่เหนือจักรวาลและทุกคนจะดื่มด่ำและว่ายวนอยู่ในทะเลแห่งพระเมตตานี้

    ความเมตตาอีกอย่างหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้าคือความเมตตาเฉพาะ (الرحمة الخاصة) ของพระองค์  ความเมตตาประเภทนี้ เป็นความเมตตาเฉพาะสำหรับปวงบ่าวที่เป็นคนดี (ซอและห์) และเป็นผู้เชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์ เนื่องจากด้วยผลของความศรัทธา (อีหม่าน) และการกระทำความดี (อะมั้ล ซอและห์) พวกเขาจึงคู่ควรที่จะได้รับความเมตตาและการอภัยโทษ และความรู้สึกพิเศษที่ผู้ประพฤติชั่วและคนบาปทั้งหลายจะไม่ได้รับโชคผลจากมัน (5)

    แต่ปัจจัยที่จะสามารถช่วยให้เราได้รับพระเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้าได้แก่ :

1- อิสติฆฟาร (การขออภัยโทษ) : ปัจจัยนำมาซึ่งพระเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้า ดังที่คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า :

لَوْلَا تَسْتَغْفِرُونَ اللَّهَ لَعَلَّکمْ تُرْحَمُونَ

“ไฉนพวกท่านจึงไม่ขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ เพื่อพวกท่านจะได้รับพระเมตตา" (6)

2- การมีความเมตตาต่อสิ่งถูกสร้างของพระผู้เป็นเจ้า :

หนึ่งในปัจจัยในการได้รับพระเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้าคือการแสดงความเมตตาต่อสิ่งถูกสร้างของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง ในเรื่องนี้ ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า :

الرَّاحِمُونَ یرْحَمُهُمُ الرَّحْمَنُ ارْحَمُوا مَنْ فِی الْأَرْضِ یرْحَمْکمْ مَنْ فِی السَّمَاءِ

"บรรดาผู้ที่มีเมตตานั้น พระผู้ทรงเมตตาก็จะทรงเมตตาพวกเขา ดังนั้นพวกท่านทั้งหลายจงเมตตาสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินเถิด แล้วผู้ที่อยู่ในฟากฟ้าก็จะเมตตาพวกท่าน” (7)


เชิงอรรถ :

  1. อัลกุรอานบทอัลฮิจรุ์ โองการที่ 56
  2. อัลกุรอานบทอัลอันบิยาอ์ โองการที่ 112
  3. ตัฟซีร นะมูเนะฮ์, เล่ม 18, หน้า 171
  4. ตัฟซีร นะมูเนะฮ์, เล่ม 21, หน้า 282
  5. ตัฟซีร นะมูเนะฮ์, เล่ม 1, หน้า 22
  6. อัลกุรอานบทอัลนัมล์ โองการที่ 46
  7. มุสตัดร็อก อัลวะซาอิล, เล่ม 12, หน้า 385

บทความ : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2024 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 1069 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

10529834
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
53022
55742
53022
9979155
336014
2045354
10529834

อ 05 พ.ค. 2024 :: 20:30:51