อัลกุรอาน-ฮะดิษ
Powered by OrdaSoft!
No result.

อัลกุรอาน-อัลฮะดิษ

ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอิสราเอล  ความช่วยเหลือจากพระเจ้าและการเผชิญกับการคำนวณที่ผิดพลาดเป็นปัจจัยสองประการที่ทำให้ไซออนิสต์ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับชาวยิวที่ละเมิดพันธสัญญาของมะดีนะฮ์ แม้แต่ในปัจจุบันนี้ ความช่วยเหลือของพระเจ้าและการคำนวณที่ผิดพลาดของศัตรูเมื่อเผชิญหน้ากับแนวรบของกองกำลังต่อต้านก็ได้เกิดขึ้นให้เห็นหลายครั้ง

ของขวัญจากท่านอิมามริฎอ (อ.) ที่มอบให้แก่ชาวเมือง “นีชาบูร”  เหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดและได้รับการบันทึกไว้อย่างชัดเจนมากที่สุดของการเดินทางของท่านอิมามริฎอ (อ.) ซึ่งถูกบังคับให้เดินทางจากนครมะดีนะฮ์ไปยังอิหร่านในปี ฮ.ศ. 201 ท่านอิมาม (อ.) ได้พำนักอยู่ที่เมือง “นีชาบูร” เป็นระยะเวลาหนึ่ง ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวถึงประเด็นวิลายะฮ์ (อำนาจการเป็นผู้ปกครอง) ของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) และถือว่า “วิลายะฮ์” นี้เป็นหนึ่งในเงื่อนไขของ “เตาฮีด” (การยอมรับในเอกานุภาพของอัลลอฮ์)  

แนวทางควบคุมความโกรธในคำสอนของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)  ความโกรธเป็นหนึ่งในอารมณ์ของมนุษย์ที่ในฮะดีษ (วจนะ) ต่างๆ ได้กำชับให้เราทำการควบคุมมัน ความโกรธที่ไปถึงจุดสูงสุดของมันนั้นสามารถที่จะก่อความเสียหายที่ไม่อาจชดเชยได้แก่ตัวมนุษย์ เนื่องจากเมื่อใครก็ตามไปถึงระดับหนึ่งของความโกรธ เขาจะสูญเสียการควบคุมสติและอารมณ์ของเขาไปได้อย่างมาก และเมื่อนั้นเขาจะทำตามสิ่งที่พลังแห่งความโกรธได้สั่งแก่เขา

สงครามจิตวิทยาของบนีอุมัยยะฮ์ในการต่อต้านอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) การดำเนินการที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของบนีอุมัยยะฮ์ในการแยกประชาชนให้ออกห่างจากอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) คือการสร้างสงครามจิตวิทยา เป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่ประชาชนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของสงครามนี้ในช่วงเวลานั้น และได้แสดงความเคียดแค้นและความเกลียดชังต่อท่านอิมามฮุเซน (อ.) และครอบครัวของท่านในช่วงเหตุการณ์อาชูรอ

 วจนะของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เกี่ยวกับกลุ่มต้านทานแห่งปาเลสไตน์  ตามรายงานว่า ในหนังสือฮะดีษต่าง ๆ นั้น มีริวายะฮ์ (คำรายงาน) จากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ซึ่งตามคำกล่าวของบรรดานักอรรถาธิบายคัมภีร์อัลกุรอาน (มุฟัซซิรีน) และนักรายงานฮะดีษ (มุฮัดดิซีน) ได้ชี้ว่า ฮะดีษ (วจนะ) บทนี้เกี่ยวกับการยืนหยัดต้านทานของกลุ่มต่าง ๆ ในปาเลสไตน์

วันอะรอฟะฮ์ วันที่มีคุณค่าทัดเทียมกับลัยละตุลก็อดร์ (ค่ำคืนแห่งอาณุภาพ)   ความหวังในการได้รับการอภัยโทษในความผิดบาปและการเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของผู้คนทำให้วันอะรอฟะฮ์มีคุณค่าเทียบเท่ากับลัยละตุลก็อดร์ (ค่ำคืนแห่งอาณุภาพ) ค่ำคืนซึ่งลิขิต (มุก็อดดะรอต) ต่าง ๆ ในรอบหนึ่งปีของมนุษย์ทั้งหลายจะถูกกำหนดโดยพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้เองที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำชับแนะนำไว้อย่างมากมายเกี่ยวกับการปฏิบัติอะมั้ลต่างๆ ในคืนและวันอะรอฟะฮ์

กะอ์บะฮ์ในเชิงรหัสยะ (อิรฟาน) ตอนที่ 3 ศูนย์กลางความเป็นพี่น้องและความเท่าเทียม  อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้รังสรรค์ความเป็นพี่น้อง ความสมานฉันท์ ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน ซึ่งมัสญิด อัลฮะรอม คือตัวอย่างอันละเอียดอ่อนของความเสมอภาค และความเท่าเทียมกัน เวลานั้น พระองค์มีบัญชาให้มนุษย์เดินเวียนรอบกะอ์บะฮ์ เพื่อจะได้เข้าใจถึงความเป็นพี่น้องกัน และความเสมอภาคกัน

ฮัจญ์ สนามแห่งการชำระล้างหัวใจและจิตวิญญาณ เพื่อมุ่งสู่พระผู้เป็นเจ้า การเวียนมาถึงของเทศกาลฮัจญ์นั้น ต้องถือว่าเป็นการเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ของประชาชาติอิสลาม เป็นโอกาสที่ดีงามยิ่งที่วันอันทรงคุณค่าเหล่านี้ได้เกิดขึ้นกับบรรดามุสลิมทั่วโลกในทุกๆ ปี มันคือเคมีอันมหัศจรรย์ โดยที่หากรู้ถึงคุณค่าของมันและถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ปัญหาและความทุกข์ยากต่างๆ มากมายในโลกอิสลามจะได้รับการเยียวยาแก้ไข

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 684 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

23285266
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
44262
52537
149095
22752902
1169743
1600060
23285266

อ 22 ต.ค. 2024 :: 21:00:25