ปรัชญาของความอดทนในคำสอนของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.)
Powered by OrdaSoft!
No result.
ปรัชญาของความอดทนในคำสอนของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.)

คำสอนประการหนึ่งของอิสลามซึ่งได้ถูกแนะนำและกำชับไว้อย่างมากในคัมภีร์อัลกุรอาน และในหะดีษ (วจนะ) ของอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) คือประเด็น "ความอดทน" ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) ได้อธิบายถึงปรัชญาของความจำเป็นในการมีความอดทนไว้ในหะดีษ (วจนะ) บทหนึ่ง  

    คำสอนประการหนึ่งของอิสลามซึ่งได้ถูกแนะนำและกำชับไว้อย่างมากในคัมภีร์อัลกุรอาน และในหะดีษ (วจนะ) ของอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) คือประเด็น "ความอดทน" เมื่อเราพิจารณาอย่างละเอียดในโองการทั้งหลายของคัมภีร์อัลกุรอานและหะดีษต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความอดทน เราจะพบว่าประเด็นนี้มีสถานะที่สำคัญยิ่ง ถึงขั้นที่บรรดาอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) อธิบายมันไว้เคียงคู่กับสติปัญญา (อักล์)

    โดยที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) กล่าวถึงความอดทนว่า เป็นผลอันดับแรกของสติปัญญา

    ในคำอธิบายที่สวยงามเกี่ยวกับปรัชญาของศาสนบัญญัติ (หะห์กาม) บางประการ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) ก็ได้ชี้ถึงปรัชญาของความจำเป็นในการมีความอดทนไว้ด้วย โดยกล่าวว่า :

وَ الصَّبْرَ مَعُونَةً عَلَى اسْتِیجابِ الاَجْرِ

"(อัลลอฮ์ทรงกำหนดให้) ความอดทนเป็นสื่อช่วยเหลือในการตอบสนองรางวัล" (1)

    โดยที่พวกเขาจะได้รับโชคผลจากพระเมตตาอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระผู้เป็นเจ้าเป็นการตอบแทน

    นอกจากนี้ ท่านอมีรุลมุอ์มินีน (อ.) ยังเปรียบเทียบสถานะของความอดทนในเรื่องศรัทธากับสถานะของศีรษะที่สัมพันธ์กับร่างกายไว้ โดยกล่าวว่า :

عَلَيْكُمْ بِالصَّبْرِ فَإِنَّ الصَّبْرَ مِنَ الْإِيمَانِ كَالرَّأْسِ مِنَ الْجَسَدِ وَ لَا خَيْرَ فِي جَسَدٍ لَا رَأْسَ مَعَهُ وَ لَا فِي إِيمَانٍ لَا صَبْرَ مَعَهُ

“ท่านทั้งหลายจงมีความอดทนเถิด เพราะแท้จริง (สถานะของ) ความอดทนที่มีต่อความศรัทธานั้น เปรียบได้ดั่ง (สถานะของ) ศีรษะที่มีต่อร่างกาย และไม่มีความดีใดๆ ในร่างกายที่ไม่มีศีรษะ และไม่มีความดีใดๆ ในความศรัทธาที่ไม่มีความอดทน" (2)

    เกี่ยวกับคุณค่าอันสูงส่งของความอดทนนั้น ก็เพียงพอแล้วที่คัมภีร์อัลกุรอานในหลาย ๆ โองการได้แจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้อดทน โดยใช้สำนวนว่า «إِنَّ اللَّهَ مَعَ الصَّابِرِينَ» "แท้จริงอัลลอฮ์อยู่กับบรรดาผู้อดทน" (3) , «وَاللَّهُ يُحِبُّ الصَّابِرِينَ» "และอัลลอฮ์ทรงรักบรรดาผู้อดทน" (4)

    และสำนวนอื่น ๆ ในการอธิบายถึงเหตุผลที่วงศ์วานของอิสรออีลบางคนขึ้นมาถึงตำแหน่งอิมามัต (ผู้นำ) และการเป็นผู้นำทาง (ฮิดายะฮ์) ประชาชน พระองค์ทรงตรัสว่า :

وَ جَعَلْنا مِنْهُمْ أَئِمَّةً یَهْدُونَ بِأَمْرِنا لَمَّا صَبَرُوا وَ کانُوا بِآیاتِنا یُوقِنُونَ

“และเราได้ทำให้บางส่วนจากพวกเขาเป็นผู้นำ เพื่อจะได้ชี้นำทางที่ถูกต้องตามคำบัญชาของเรา ด้วยเหตุที่พวกเขามีความอดทนและพวกเขาเชื่อมั่นต่อโองการทั้งหลายของเรา" (5)


แหล่งอ้างอิง :

  1. อัล-อิห์ติญาจ, หน้า 99; กัชฟุลฆุมมะฮ์, หน้า 43
  2. นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, หิกมะฮ์ที่ 82
  3. อัลกุรอานบทอัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 153
  4. อัลกุรอานบทอาลุอิมรอน โองการที่ 146
  5. อัลกุรอานบทอัซซะญะดะฮ์ โองการที่ 24

บทความ : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2024 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 1017 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

10470759
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
49689
69909
491604
9524455
276939
2045354
10470759

ส 04 พ.ค. 2024 :: 21:25:22