มารยาทของการประกอบอาชีพ
Powered by OrdaSoft!
No result.
มารยาทของการประกอบอาชีพ

การประกอบอาชีพที่ต้องห้าม (ฮะรอม) จะทำให้อาหารที่ต้องห้าม (ฮะรอม) มาอยู่ในสำรับอาหารของเรา และสมาชิกในครอบครัวของเราจะต้องเผชิญกับผลที่ตามมาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และส่งผลในการทำลายล้างอย่างร้ายแรง

     พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง ทรงตรัสว่า :

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا تَأْكُلُوا أَمْوَالَكُمْ بَيْنَكُمْ بِالْبَاطِل إِلَّا أَنْ تَكُونَ تِجَارَةٌ عَنْ تَرَاضٍ مِنْكُمْ

"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่าบริโภคทรัพย์สินของกันและกันโดยมิชอบ นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจระหว่างกันในหมู่พวกเจ้า" (1)

    อิสลามให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับประเด็นการหารายได้และการประกอบอาชีพที่อนุมัติตามศาสนบัญญัติ (ฮะลาล) และเรียกร้องให้ปวงบ่าวของพระเจ้าระมัดระวังอย่างสมบูรณ์เกี่ยวกับแหล่งที่มาและวิธีการหารายได้ของพวกเขา

    อาชีพยังแบ่งออกเป็นห้าประเภท คือ ฮะรอม (สิ่งที่ศาสนาห้ามกระทำ), มักรูห์ (น่ารังเกียจ หรือ ส่งเสริมให้ละทิ้ง), มุบาห์ (อนุญาตให้กระทำได้) , มุสตะฮับ (สิ่งที่นับว่าดีงาม หรือ ศาสนาส่งเสริมให้กระทำ) และวาญิบ (สิ่งที่จำเป็นต้องกระทำ) ซึ่งมีอธิบายอยู่ในหนังสือต่างๆ ที่ว่าด้วยเรื่องของศาสนบัญญัติ (ฟิกฮ์)

    ประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ชาวมุสลิมจำเป็นต้องพิจารณาในการเลือกอาชีพและประเภทของรายได้ของตน คือความเป็นสิ่งอนุมัติ (ฮะลาล) หรือต้องห้าม(ฮะรอม) ของมัน

    การประกอบอาชีพที่ต้องห้าม (ฮะรอม) จะทำให้รายได้ที่มาจากสิ่งต้องห้ามนี้เข้ามาพัวพันอยู่ในชีวิตของเราและคนในครอบครัวในการจับจ่ายใช้สอยเพื่อจัดหาเครื่องอุปโภคและบริโภคซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจิตวิญญาณของเราและบุคคลในครอบครัว อาหารที่ต้องห้าม (ฮะรอม) เมื่อเข้ามาอยู่ในสำรับอาหาร เราและสมาชิกในครอบครัวของเราจะต้องเผชิญกับผลที่ตามมาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และจะส่งผลในการทำลายล้างอย่างร้ายแรง ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้ชี้ถึงประเด็นนี้ไว้ โดยกล่าวว่า :

كَسْبُ الْحَرَامِ یَبِینُ فِی الذُّرِّیَّةِ

"การทำมาหาได้ที่ต้องห้าม (ฮะรอม) นั้น จะปรากฏ (และส่งผลกระทบ) ในลูกหลาน" (2)

    นอกเหนือจากนั้น การกระทำในสิ่งที่ต้องห้าม (ฮะรอม) อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน กล่าวคือ อาชีพที่ต้องห้าม (ฮะรอม) นั้น จะทำให้จิตวิญญาณของมนุษย์ เคยชินอยู่กับสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) และจะทำให้ความศรัทธา (อีหม่าน) ของเขาในด้านอื่นๆ ของศาสนาก็จะสั่นคลอนไปด้วย

    สิ่งที่สมควรกล่าวถึงก็คือว่า โองการ (อายะฮ์) ข้างต้นได้เริ่มต้นด้วยการห้ามบรรดาผู้ศรัทธาจากการบริโภคสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) และต่อจากนั้นจึงเน้นย้ำถึงความจำเป็นของการยินยอมและความพึงพอใจต่อกันในการทำธุรกรรมต่างๆ

    ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า :

 اَلْعِبَادَةُ سَبْعُونَ جُزْءاً أَفْضَلُهَا طَلَبُ اَلْحَلاَلِ

“การอิบาดะฮ์นั้นมีเจ็ดสิบส่วน ส่วนที่ประเสริฐที่สุดของมันคือการแสวงหาสิ่งที่อนุมัติ (ฮะลาล)" (3)


แหล่งอ้างอิง :

  1. อัลกุรอานบทอันนิซาอ์ โองการที่ 29
  2. อัลกาฟี, เล่ม 5, หน้า 124
  3. อัลกาฟี, เล่ม 5, หน้า 678

บทความ : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2024 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 723 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

10473079
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
52009
69909
493924
9524455
279259
2045354
10473079

ส 04 พ.ค. 2024 :: 22:38:15