คำสอนของอัลกุรอาน สำหรับการดำเนินชีวิตที่ดีกว่า
Powered by OrdaSoft!
No result.

คำสอนของอัลกุรอาน สำหรับการดำเนินชีวิตที่ดีกว่า

    "ในอิสลาม "การทำดีต่อผู้อื่น" การแสดงเพื่อตอบโต้ต่อการกระทำที่ไม่ดีต่างๆ ของพวกเขาถูกนับว่าเป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อื่น ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นสื่อในการดึงดูดและปรับปรุงพฤติกรรมของพวกเขาเท่านั้น แต่ยังจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของสังคมอีกด้วย"

     การใช้ชีวิตในสังคมที่ทุกคนกำลังดิ้นรนต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ และหากไม่มีความอดทนอดกลั้น บางทีอาจจะเป็นเรื่องค่อนข้างยากสำหรับบางคน ในแต่ละวันบนท้องถนนและตรอกซอยหรือแม้แต่ในที่ทำงาน ที่สภาพแวดล้อมของการดำเนินชีวิตเราจะต้องเผชิญกับฉากต่างๆ โดยที่วิธีปฏิสัมพันธ์และการจัดการของเรากับสิ่งเหล่านั้นจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันและบางทีแม้แต่ชีวิตของเรา ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ วิธีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนที่เราจะต้องเผชิญกับพวกเขาในความสัมพันธ์ทางสังคมและการแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมของพวกเขาจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ในวิถีชีวิตแบบอิสลามได้ให้คำแนะนำถึงแนวทางที่มีประสิทธิภาพและสวยงามในการมีปฏิสัมพันธ์กับคนเหล่านี้ คำแนะนำนี้เป็นสิ่งที่เรียบง่าย แต่ในขณะเดียวกันมีความก้าวหน้าและสวยงาม นั่นคือ "การทำดีต่อผู้อื่น"

     ศาสนาอิสลามได้กล่าวถึงเกี่ยวกับการทำดีและการปฏิบัติดีต่อผู้อื่นไว้ในสองรูปแบบ รูปแบบแรกเราจำเป็นต้องทำดีตอบแทนผู้อื่นที่ทำดีต่อเรา พระเจ้าผู้ทรงสูงส่งได้ทรงตรัสว่า :

هَلْ جَزَاءُ الْإِحْسَانِ إِلَّا الْإِحْسَانُ

"จะมีการตอบแทนคุณความดีอันใดนอกจากการทำดีตอบกระนั้นหรือ?" (1)

    รูปแบบที่สองซึ่งจะเหนือกว่ารูปแบบก่อนหน้านี้และบางทีอาจจะเป็นเรื่องที่ยากกว่า นั่นก็คือ จำเป็นที่เราจะต้องทำดีตอบต่อการกระทำที่ไม่ดีของผู้อื่น ดั่งที่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งทรงตรัสว่า

ادْفَعْ بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ السَّيِّئَةَ

"จงปัดป้อง (ตอบโต้) สิ่งเลวร้ายด้วยสิ่งที่ดีงามยิ่ง" (2)

    และพระองค์ยังได้ทรงตรัสไว้อีกเข่นกันว่า :

وَلَا تَسْتَوِي الْحَسَنَةُ وَلَا السَّيِّئَةُ ادْفَعْ بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ فَإِذَا الَّذِي بَيْنَكَ وَبَيْنَهُ عَدَاوَةٌ كَأَنَّهُ وَلِيٌّ حَمِيمٌ

"และความดีและความชั่วนั้นย่อมไม่เท่าเทียมกัน เจ้าจงปัดป้อง (ความชั่ว) ด้วยสิ่งที่ดีกว่า แล้วเมื่อนั้น ผู้ที่มีความเป็นศัตรูกันระหว่างเจ้าและระหว่างเขาก็จะกลับกลายเป็นเยี่ยงมิตรที่สนิทกัน" (3)

สองประเด็นที่สวยงาม

    จากโองการเหล่านี้เหล่านี้ทำให้รับรู้ได้ว่า การทำดีต่อผู้อื่นแม้ว่าต่อบุคคลที่ทำความเลวต่อเราก็ตาม จะมีผลกระทบที่สำคัญยิ่งสองประการ ซึ่งผลประการหนึ่งจะปรากฏในตัวบุคคลและอีกประการหนึ่งจะปรากฏในสังคม

การเปลี่ยนศัตรูให้กลายเป็นมิตรภาพ

    หนึ่งในแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดกับปัญหาต่างๆ ที่เป็นเรื่องส่วนตัวและในกรณีที่ความไม่ดีต่างๆ จากผู้อื่นมาประสบกับเรา คือการมองข้าม การให้อภัยและการเชิญชวนสู่ความรักและความใกล้ชิด ตัวอย่างมากมายของการปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จนี้ จะพบเห็นได้ในการอบรมขัดเกลา (ตัรบียะฮ์) มนุษยชาติในชีวิตของปวงศาสดาและบรรดาวะลีย์ (ผู้ใกล้ชิด) ของพระผู้เป็นเจ้า ดังเช่นที่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง ก็ทรงชี้ถึงประเด็นนี้ไว้ในอัลกุรอานโองการที่ 34 ของบทฟุศศิลัตว่า :

فَإِذَا الَّذِي بَيْنَكَ وَبَيْنَهُ عَدَاوَةٌ كَأَنَّهُ وَلِيٌّ حَمِيمٌ؛

"แล้วเมื่อนั้น ผู้ที่มีความเป็นศัตรูกันระหว่างเจ้าและระหว่างเขาก็จะกลับกลายเป็นเยี่ยงมิตรที่สนิทกัน" (4)

การปัดป้องความเลวร้ายออกไปจากสังคม

    หนึ่งในคำแนะนำที่สวยงามที่สุดของอิสลามสำหรับการรักษาสัมพันธภาพระหว่างชาวมุสลิมและการสมานรอยร้าวที่อาจเกิดขึ้นในสัมพันธภาพในหมู่ชาวมุสลิม ด้วยผลของความเผอเรอและการละเมิดฝ่าฝืน นั่นคือการทำดีต่อผู้อื่น การให้อภัยต่อความผิดพลาดของพวกเขาและการไม่คิดที่จะแก้แค้นพวกเขา คำแนะนำของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งเกี่ยวกับชาวมุสลิมก็คือ หากมุสลิมคนหนึ่งทำไม่ดีต่อท่าน ท่านจะต้องไม่หาทางเอาชนะคู่แข่งมุสลิมของตน แต่จงพยายามกำจัดการแข่งขันต่างๆ ที่ไม่ดีและเป็นอันตรายให้หมดไป เนื่องจากว่าถ้าหากความเป็นศัตรูและการแข่งขันถูกกำจัดออกไป ความเกลียดชังและความเป็นปฏิปักษ์ต่างๆ ก็จะเปลี่ยนเป็นมิตรภาพและความรักใตร่ในระดับสังคม และสิ่งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าของสังคมอิสลามในทุกระดับ

ประเด็นสำคัญ

    ประเด็นที่จำเป็นต้องกล่าวถึงในที่นี้เพื่อไม่ให้บางคนเข้าใจและตีความผิดๆ จากโองการเหล่านี้ นั่นก็คือคำสั่งนี้ เฉพาะกรณีต่างๆ ที่ศัตรูจะไม่ได้ใช้ประโยชน์ในทางที่มิชอบ และมองการกระทำดังกล่าวว่าเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความอ่อนแอของฝ่ายตรงข้ามและทำให้เขาอุกอาจและฮึกเหิมมากยิ่งขึ้น

    ในอีกด้านหนึ่งความหมายของคำพูดนี้ไม่ได้หมายถึงการประนีประนอม การยอมรับและยอมจำนนต่อการล่อลวงและการกระซิบกระซาบต่างๆ ของเหล่าศัตรู และบางทีด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้หลังจากการพูดถึงคำสั่งนี้ในโองการต่างๆ ข้างต้นในทันใดก็ออกคำสั่งต่อท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า จงขอความคุ้มครองต่อพระผู้เป็นเจ้าจากการล่อลวงและการกระซิบกระซาบของชัยฏอนมารร้าย :

 وَإِمَّا يَنزَغَنَّكَ مِنَ الشَّيْطَانِ نَزْغٌ فَاسْتَعِذْ بِاللَّـهِ إِنَّهُ هُوَ السَّمِيعُ الْعَلِيم

“และหากว่าการยุแยงใด ๆ จากมารร้ายมายั่วยุเจ้า ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์เถิด แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง” (5)


เชิงอรรถ :

(1). อัลกุรอานบทอัรเราะห์มาน โองการที่ 60

(2). อัลกุรอานบทอัลมุอ์มินูน โองการที่ 96

(3). อัลกุรอานบทฟุศศิลัต โองการที่ 34

(4). อัลกุรอานบทฟุศศิลัต โองการที่ 34

(5). อัลกุรอานบทฟุศศิลัต โองการที่ 36


แปลและเรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2018 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 966 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

10325411
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
47514
84077
346256
9524455
131591
2045354
10325411

พฤ 02 พ.ค. 2024 :: 15:20:35