คุณลักษณะพิเศษของวันอีดิลฟิฏรี่ วันแห่งการขอบคุณและการเชิดชูสัญลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้า
Powered by OrdaSoft!
No result.
คุณลักษณะพิเศษของวันอีดิลฟิฏรี่ วันแห่งการขอบคุณและการเชิดชูสัญลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้า

การนมาซของวันอีดิลฟิฏรี่ ในมิติหนึ่งคือการขอบคุณต่อพระผู้เป็นเจ้า ที่ทรงประทานสิ่งที่ดีงาม (เนี๊ยะอ์มัต) ต่างๆ ให้แก่เราในตลอดช่วงหนึ่งเดือนเต็มของเดือนรอมฎอน เดือนแห่งการเป็นแขกในสำหรับแห่งจิตวิญญาณของพระองค์ และเป็นการขอบคุณต่อชีวิตเหมือนการเกิดใหม่หลังจากการอภัยโทษของพระผู้เป็นและการยอมรับการกลับเนื้อกลับตัว (เตาบะฮ์) ของเราโดยพระองค์

     ในนมาซของวันอีดิลฟิฏรี่ เราจะวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้า ซ้ำหลายครั้งในดุอาอ์กุหนูต ว่า :

وَ أَنْ تُدْخِلني في كُلِّ خَيْرٍ أَدْخَلْتَ فيهِ مُحَمَّداً وَ آلَ مُحَمَّد

“และ (ข้าฯ วอนขอต่อพระองค์) ในการที่พระองค์จะทรงทำให้ข้าฯ เข้าอยู่ในทุกความดีงามที่พระองค์ได้ทรงทำให้มุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัดเข้าอยู่ในมัน”

وَ أَنْ تُخْرِجَني مِنْ كُلِّ سُوءٍ أَخْرَجْتَ مِنْهُ مُحَمَّداً وَ آل مُحَمَّدٍ، صَلَوٰاتُكَ عَلَيُهِ وَ عَلَيْهِمْ

“และ (ข้าฯ วอนขอต่อพระองค์) ในการที่พระองค์จะทรงทำให้ข้าฯ ออกจากทุกความชั่วร้ายที่พระองค์ได้ทรงทำให้มุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัดออกจากมัน (การประสิทธิ์ประสาทพรของพระองค์ที่มีแด่ท่านและแด่วงศ์วานของท่าน)”

     นั่นคือการประกาศเจตนารมณ์และการกำหนดเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ในวันอีดดิลฟิฏรี่นี้ สำหรับอนาคตนับจากนี้ไปของตัวเอง โดยวิงวอนขอต่อพระองค์ทรงทำให้เราอยู่ในหนทางแห่งความดีงามทั้งมวลตามแนวทางของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และวงศ์วานของท่าน และเป็นการให้คำมั่นสัญญาต่อพระองค์ว่า เราจะอุตสาห์พยายามที่จะดำรงตนอยู่ในแนวทางอันเที่ยงตรง (ซิรอฏ มุสตะกีม) นี้ นั่นก็คือ การมี “ตักวา” (ความยำเกรง) ต่อพระองค์


การเชิดชูสัญลักษณ์ของอัลลอฮ์ในวันอีดิลฟิฏรี่

     การเชิดชูและการให้ความสำคัญต่อสัญลักษณ์ต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้า คือหนึ่งในคุณลักษณะพิเศษของวันอีดิลฟิฏรี่ การเปล่งคำขวัญ (ชุอาร) ของอัลลอฮ์ ด้วยการกล่าว "ตักบีร" เป็นส่วนหนึ่งจากการกระทำ (อะมั้ล) ทั้งหลายซึ่งจะให้ภาพฉายที่เป็นพิเศษแก่วันอีด และเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความยำเกรง (ตักวา) ของหัวใจ เนื่องจากพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่งทรงตรัสว่า :

مَنْ يُعَظِّمْ شَعائِرَ اللَّهِ فَإِنَّها مِنْ تَقْوَى الْقُلُوب

"ผู้ใดที่ให้เกียรติแก่สัญลักษณ์ของอัลลอฮ์ แท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งแห่งการยำเกรงของหัวใจ" (1)

     ด้วยเหตุนี้มุสลิมทุกคนจึงมีหน้าที่ที่จะต้องทำให้เสียงเรียกร้องสู่ "เตาฮีด" (การยอมรับในเอกานุภาพของอัลลอฮ์) และสัญลักษณ์ (ชะอาอิร) ต่างๆ แห่งพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งจะให้ชีวิตทางจิตวิญญาณแก่มนุษย์นั้น ไปสู่หูของชาวโลกด้วยวิธีต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งหนึ่งในวิธีการเหล่านั้น คือการแสดงออก การกล่าว หรือการประกาศคำขวัญต่างๆ ทางศาสนาในวันเฉลิมฉลอง (อีด) ต่างๆ ของอิสลาม

     ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) กล่าวว่า :

زینوا اعیادکم بالتکبیر

“ท่านทั้งหลายจงประดับประดาความสวยงามของอีดของพวกท่านด้วยการกล่าวตักบีร” (2)

     ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวถึงเหตุผลของการกล่าวตักบีรต่างๆ ในวันอีดิลฟิฏรี่ ว่า :

إنما جعل التكبير فيها يعني في صلاة العيد أكثر منه في غيرها من الصلوات لأن التكبير إنما هو تعظيم لله وتمجيد على ما هدى وعافى، كما قال الله عزّ وجلّ: وَلِتُكَبِّرُوا اللَّهَ عَلَىٰ مَا هَدَاكُمْ وَلَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ

"อันที่จริงการกล่าวตักบีรในมัน หมายถึงในนมาซอีด ที่ถูกทำให้มีมากกว่าในมนาซอื่นๆ นั้น ก็เนื่องจากว่า แท้จริงการกล่าวตักบีรนั้นคือการเชิดชูความยิ่งใหญ่แด่อัลลอฮ์ และการสรรเสริญขอบคุณต่อสิ่งที่พระองค์ได้ทรงชี้นำและทรงประทานความสุขสมบูรณ์ต่างๆ ดังที่อัลลอฮ์ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกรได้ทรงตรัสว่า และเพื่อพวกเจ้าจะได้ประกาศความเกรียงไกรแด่อัลลอฮ์ในสิ่งที่พระองค์ทรงชี้นำแก่พวกเจ้า และเพื่อพวกเจ้าจะขอบคุณ" (3)

    และในอีกคำรายงาน (ริวายะฮ์) หนึ่ง ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวว่า :

انّما جُعِلَ یَوْمُ الفِطْر العیدُ، لِیكُونَ لِلمُسلِمینَ مُجْتمعاً یَجْتَمِعُونَ فیه و یَبْرُزُونَ لِلّهِ عزّوجلّ فَیُمجّدونَهُ عَلى‏ ما مَنَّ عَلیهم، فَیَكُونُ یَومَ عیدٍ و یَومَ اجتماعٍ وَ یَوْمَ زكاةٍ وَ یَوْمَ رَغْبةٍ و یَوْمَ تَضَرُّعٍ

“อันที่จริง การที่วันฟิฏรี่ถูกทำให้เป็นวันอีด (แห่งการเฉลิมฉลอง) นั้น เพื่อเป็นที่รวมตัวกันสำหรับชาวมุสลิม พวกเขาจะรวมตัวกันในวันนี้ และจะมาปรากฏตัวต่ออัลลอฮ์ ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร แล้วพวกเขาจะสรรเสริญขอบคุณพระองค์ต่อสิ่งที่พระองค์ได้ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อพวกเขา ดังนั้นมันจึงเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลอง วันแห่งการรวมตัว วันแห่งการเพิ่มพูน วันแห่งความมุ่งหวังและวันแห่งการวอนขอ” (4)


เชิงอรรถ :

(1) อัลกุรอาน บทอัลฮัจญ์ โองการที่ 32

(2) มีซานุ้ลฮิกมะฮ์, เล่มที่ 7, หน้าที่ 133

(3) อุยูน อัคบาร อัรริฎอ (อ.) เล่มที่1, หน้าที่ 122

(4) วะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่มที่ 5, หน้าที่ 141


บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2018 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 403 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

10535642
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
58830
55742
58830
9979155
341822
2045354
10535642

อ 05 พ.ค. 2024 :: 22:38:55