ทำไมอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) จึงถูกเรียกว่า "กออิม"
Powered by OrdaSoft!
No result.

ทำไมอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) จึงถูกเรียกว่า "กออิม"

"พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงแสดงให้มลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) ได้เห็นบรรดาอิมาม (ผู้นำ) จากเชื้อสายของฮุเซน (อ.) มวลมลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) รู้สึกปิติยินดีกับสิ่งนั้น ในท่ามกลางบุคคลเหล่านั้น มีผู้หนึ่งได้ยืนอยู่และกำลังทำนมาซ พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า : ด้วยกับ "กออิม" (ผู้ยืน) คนนี้ ข้าจะทำการแก้แค้นพวกเขา (บรรดาผู้ที่สังหารฮูเซน)"

      ท่านอิมามมุฮัมมัดบากิร (อ.) - ในการตอบคำถามของอัซซุมาลี เกี่ยวกับเหตุผลในการตั้งชื่ออิมามมะฮ์ดีว่า "กออิม" นั้น - กล่าวว่า : เมื่อฮูเซน (อ.) ปู่ของฉันได้ถูกสังหาร มลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) ได้ร้องไห้คร่ำครวญต่อพระผู้เป็นเจ้า และทูลถามต่อพระองค์ว่า : "โอ้พระเจ้าของเรา โอ้นายของเรา! พระองค์จะไม่ใส่ใจต่อคนที่สังหารผู้ที่ถูกเลือกสรรของพระองค์ และบุตรของผู้ที่ถูกเลือกสรรของพระองค์และผู้ถูกสร้างที่ดีที่สุดของพระองค์เลยหรือ?

      พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร ได้ทรงดลยังทวยเทพเหล่านั้นว่า : "โอ้ทวยเทพของข้า! จงสงบนิ่งลงเถิด ข้าขอสาบานด้วยเกียรติและความยิ่งใหญ่ของข้าว่า ข้าจะแก้แค้นพวกเขาอย่างแน่นอน แม้ว่าระยะเวลาจะผ่านไปยาวนานก็ตาม"

      จากนั้นพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงแสดงให้มลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) ได้เห็นบรรดาอิมาม (ผู้นำ) จากเชื้อสายของฮุเซน (อ.) มวลมลาอิกะฮ์ (ทวยเทพ) รู้สึกปิติยินดีกับสิ่งนั้น ในท่ามกลางบุคคลเหล่านั้น มีผู้หนึ่งได้ยืนอยู่และกำลังทำนมาซ พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า : ด้วยกับ "กออิม" (ผู้ยืน) คนนี้ ข้าจะทำการแก้แค้นพวกเขา (บรรดาผู้ที่สังหารฮุเซน)"

ตัวบทฮะดีษ:

الإمامُ الباقرُ علیه السلام( و قد سَألهُ الثُّمالیُّ عن عِلّةِ تَسْمِیةِ القائم قائماً ) لَمّا قُتِلَ جَدّی الحسینُ صلَّی اللّه ُ علَیهِ ضَجّتِ المَلائکةُ إلَی اللّه ِ عزّ و جلّ بالبُکاءِ و النَّحیبِ ، و قالُوا : إلهَنا و سیّدنَا، أ تَغْفُلُ عَمَّن قَتلَ صَفْوتَکَ و ابنَ صَفْوتِکَ ، و خِیَرتَکَ مِن خَلْقِکَ ؟! فأوحَی اللّه ُ عزّ و جلّ إلَیهِم : قَرّوا مَلائکتی ، فَوَ عِزّتی و جلالی لَأنتقِمَنَّ مِنهُم و لو بعدَ حینٍ. ثُمّ کَشفَ اللّه ُ عزّ و جلّ عَنِ الأئمّةِ مِن وُلدِ الحسینِ علیه السلام للملائکةِ ، فسُرَّتِ الملائکةُ بذلکَ ، فإذا أحدُهُم قائمٌ یُصلّی ، فقالَ اللّه ُ عزّ و جلّ : بذلکَ القائمِ أنتَقِمُ مِنهُم.


ที่มา : (บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 51, หน้าที่ 28; มีซานุ้ลฮิกมะฮ์, เล่มที่ 1, หน้าที่ 376)


แปลและเรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2017 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้อิสลามสำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 682 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

9945424
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
25568
58984
420969
9045061
1796958
2060970
9945424

ส 27 เม.ย. 2024 :: 10:56:05