ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ได้ลงนามร่างกฎหมายให้สัตยาบันสนธิสัญญาความร่วมมือทางยุทธศาสตร์กับอิหร่าน ข้อตกลงดังกล่าวลงนามโดยปูตินและประธานาธิบดีอิหร่าน มาซูด เปเซชเคียน โดยมีระยะเวลา 20 ปี และกำหนดกรอบทางกฎหมายสำหรับความร่วมมือในระยะยาวในหลายภาคส่วน
สำนักข่าว RIA ของรัสเซียรายงานเมื่อวันจันทร์ (21 เม.ย.) ว่า ปูตินได้ลงนามในกฎหมายที่ให้สัตยาบันต่อข้อตกลงความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ที่ลงนามกับอิหร่านเมื่อเดือนมกราคม โดยร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากสภาดูมาแห่งรัฐของรัสเซียเมื่อต้นเดือนนี้
ข้อตกลงดังกล่าวลงนามโดยปูตินและประธานาธิบดีอิหร่าน มาซูด เปเซชเคียน โดยมีระยะเวลา 20 ปี และกำหนดกรอบทางกฎหมายสำหรับความร่วมมือในระยะยาวในหลายภาคส่วน เช่น การป้องกันประเทศ พลังงาน อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงิน การขนส่ง วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และเทคโนโลยี
ข้อตกลงระยะยาวนี้มุ่งเน้นส่งเสริมการลงทุนด้านน้ำมัน ก๊าซ และการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติภาพเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายที่จะสร้างระบบการชำระเงินระหว่างประเทศที่เป็นอิสระจากประเทศที่สามและดำเนินการโดยใช้สกุลเงินของประเทศ
ซัยยิด อับบาส อาราฆชี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ระดับความร่วมมือระหว่างอิหร่านและรัสเซียได้ไปถึงจุดสูงสุดแล้ว
อาราฆชีได้พบกับปูตินและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซียคนอื่น ๆ ในระหว่างการเยือนมอสโกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
อาราฆชี เขียนในโพสต์บนแพลตฟอร์ม X เมื่อวันศุกร์ว่า “เราอยู่ในจุดสูงสุดของการร่วมมือกับรัสเซียในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์เก่าแก่ 500 ปีของเรา”
นักการทูตชั้นสูงกล่าวถึงประเทศเพื่อนบ้านทั้งสองว่าเป็น “พันธมิตรทางยุทธศาสตร์” ที่มุ่งมั่นที่จะแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน
เขาเขียนบนแพลตฟอร์ม X ว่า “ในช่วงเวลาสำคัญนี้ อิหร่านและรัสเซียเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ และจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันและเพื่อประโยชน์ของทั้งสองประเทศและโลก”
อารากชีกล่าวว่า จากการที่สหรัฐฯ คว่ำบาตรทั้งสองประเทศ ความร่วมมือระหว่างทั้งสองจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า “แน่นอน นี่ไม่ได้หมายความว่าทั้งสองประเทศยอมรับความชอบธรรมของการคว่ำบาตร แต่พวกเขาได้ออกแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในลักษณะที่แม้ว่าจะมีการคว่ำบาตร พวกเขาก็สามารถบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการได้”
ที่มา : สำนักข่าวเพรสทีวี
Copyright © 2025 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่