ผู้ช่วยให้รอด เป็นแนวคิดสากลที่ปรากฏอยู่ในศาสนาและวัฒนธรรมต่าง ๆ ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เรากำลังพยายามเปรียบเทียบผู้ช่วยให้รอดในแนวคิดของโลกตะวันตกโดยเน้นที่ศาสนาคริสต์และปรัชญาสมัยใหม่กับผู้ช่วยให้รอดในหลักความเชื่อของชีอะฮ์สิบสองอิมาม (ชีอะฮ์ อิสนา อะชะรียะฮ์) การเปรียบเทียบนี้จะช่วยให้เราเข้าใจความเหมือนและความแตกต่างของทั้งสองมุมมองนี้ได้ดีขึ้น
คำถามที่สำคัญมากก็คือว่า : ผู้ช่วยให้รอดในชีอะฮ์นั้นมีเหตุผลมากกว่าหรือในศาสนาคริสต์?
คำนำ : ผู้ช่วยให้รอด เป็นแนวคิดสากลที่ปรากฏอยู่ในศาสนาและวัฒนธรรมต่าง ๆ ในรูปแบบที่แตกต่างกัน
เรากำลังพยายามเปรียบเทียบผู้ช่วยให้รอดในแนวคิดของโลกตะวันตกโดยเน้นที่ศาสนาคริสต์และปรัชญาสมัยใหม่กับผู้ช่วยให้รอดในหลักความเชื่อของชีอะฮ์สิบสองอิมาม (ชีอะฮ์ อิสนา อะชะรียะฮ์)
การเปรียบเทียบนี้จะช่วยให้เราเข้าใจความเหมือนและความแตกต่างของทั้งสองมุมมองนี้ได้ดีขึ้น
พระผู้ช่วยให้รอด (The Savior) ในโลกตะวันตกและรากฐานทางศาสนา
ในศาสนาคริสต์ พระเยซูคริสต์เป็นที่รู้จักในฐานะพระผู้ช่วยให้รอดของมนุษยชาติที่จะเสด็จกลับมาในอนาคต (การเสด็จมาครั้งที่สอง / Second Coming) และช่วยโลกให้หลุดพ้นจากความชั่วร้าย
ความเชื่อนี้เป็นหนึ่งในรากฐานหลักของเทววิทยาคริสเตียน และมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อวัฒนธรรมและแนวคิดของอารยธรรมตะวันตก
ในปรัชญาสมัยใหม่ แนวคิดต่างๆ อย่างเช่น ความก้าวหน้าของมนุษย์และการบรรลุสังคมในอุดมคติ (Utopia) ส่วนหนึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากพระผู้ช่วยให้รอด นักปรัชญา อย่างเช่น เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel) และมาร์กซ์ (Karl Marx) เชื่อในแนวคิดเรื่องจุดจบของประวัติศาสตร์และการปรากฏขึ้นของสังคมที่ยุติธรรม
ผู้ช่วยให้รอด (มุนญี) ในชีอะฮ์สิบสองอิมาม
ในชีอะฮ์สิบสองอิมาม ความเชื่อในอิมามซะมาน (มะฮ์ดีผู้ถูกสัญญาไว้) ในฐานะผู้ช่วยให้รอดในยุคสุดท้าย ถือเป็นหนึ่งในหลักการพื้นฐานทางความเชื่อ
อิมามซะมาน (อ.) เป็นอิมามท่านสุดท้ายของชีอะฮ์สิบสองอิมามที่อยู่ในสภาพเร้นกาย (ฆ็อยบะฮ์) และจะปรากฏตัวในอนาคตเพื่อชำระล้างโลกจากความอธรรมและการกดขี่
อิมามซะมาน (อ.) เป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำแห่งพระเจ้า ผู้ธำรงความยุติธรรม และผู้ปฏิรูปโลก การปรากฏตัวของท่านจะมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโลกและการสถาปนาความยุติธรรมที่สมบูรณ์แบบ
ชาวชีอะฮ์มีหน้าที่จะต้องรอคอยการปรากฏตัวของอิมามซะมานในช่วงเวลาแห่งการเร้นกาย (ฆ็อยบะฮ์) ของท่าน และพร้อมกับการเตรียมจิตวิญญาณและการปฏิบัตินั้นจะต้องอุตสาห์พยายามและต่อสู้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นในโลก แนวคิด "การรอคอยการปรากฏตัว" (อินติซ๊อร อัล ฟะร็อจญ์) หมายถึง ความหวังและพยายามในการสร้างเงื่อนไขต่างๆ ที่เหมาะสมสำหรับการปรากฏตัว (ซุฮูร)
การเปรียบเทียบผู้ช่วยให้รอดในชีอะฮ์และในโลกตะวันตก
ความหวังในความรอดพ้น : ทั้งสองมุมมองมีความหวังในการปรากฏตัวของผู้ช่วยให้รอดซึ่งจะช่วยโลกให้รอดพ้นจากความชั่วร้าย
ความยุติธรรม : ทั้งในศาสนาคริสต์และในชีอะฮ์ ผู้ช่วยให้รอดเป็นที่รู้จักในนามผู้ธำรงความยุติธรรมและผู้สร้างสันติภาพโลก
มิติข้ามชาติ : ผู้ช่วยให้รอดในทั้งสองมุมมองไม่ได้จำกัดอยู่เพียงภูมิภาคหรือประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ ทว่าจะปรากฏตัวขึ้นสำหรับมนุษยชาติทั้งมวล
ความแตกต่าง ผู้ช่วยให้รอดในชีอะฮ์และในโลกตะวันตก
อัตลักษณ์ของผู้ช่วยให้รอด : ในศาสนาคริสต์ ผู้ช่วยให้รอดคือพระเยซูคริสต์ ในขณะที่ชีอะฮ์ ผู้ช่วยให้รอดคืออิมามซะมาน (มะฮ์ดี ผู้ถูกสัญญาไว้)
เวลาของการปรากฏตัว : ในศาสนาคริสต์ เวลาการเสด็จกลับมาของพระคริสต์ไม่แน่นอน แต่ในชีอะฮ์ มีสัญญาณต่างๆ บ่งบอกถึงการปรากฏตัวของอิมามซะมาน (อ.)
บทบาทของมนุษย์ : ในชีอะฮ์ มีการเน้นย้ำอย่างมากเกี่ยวกับบทบาทของมนุษย์ในการเตรียมเงื่อนไขต่างๆ สำหรับการปรากฏตัว (ซุฮูร) ในขณะที่ศาสนาคริสต์ ปัญหานี้ถูกให้ความสำคัญน้อยกว่า
สรุป
ผู้ช่วยให้รอดในโลกตะวันตกและชีอะห์อิมามสิบสองเป็นทั้งภาพสะท้อนของความปรารถนาของมนุษย์เพื่อความรอดพ้นและความยุติธรรม อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างที่สำคัญในอัตลักษณ์ของผู้ช่วยให้รอด เวลาของการมาปรากฏตัว และบทบาทของมนุษย์ในสองมุมมองนี้
การทำความเข้าใจความเหมือนและความแตกต่างเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจแนวคิดเรื่องผู้ช่วยให้รอดได้ดีขึ้น และรู้ว่าศาสนาและแนวทางใดมีความคาดหวังแบบไดนามิกและสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์มากกว่า
ความมีตรรกะมากกว่าในชีอะฮ์สิบสองอิมาม
ความรับผิดชอบของมนุษย์ : ในชีอะฮ์ การเน้นที่ "การรอคอยอย่างแข็งขัน" หมายความว่ามนุษย์ต้องทำงานเพื่อสร้างเงื่อนไขต่างๆ สำหรับการปรากฏตัว ทัศนคตินี้มีเหตุผลมากกว่า เพราะแทนที่จะรอผู้ช่วยให้รอดจากภายนอก ทัศนคตินี้จะส่งเสริมให้ผู้คนลงมือปฏิบัติและมีความรับผิดชอบ
ความชัดเจนและรายละเอียด : ในชีอะฮ์ มีการอธิบายอัตลักษณ์ของผู้ช่วยให้รอดและอัตลักษณะของท่านอย่างละเอียด ในขณะที่ในโลกตะวันตก (โดยเฉพาะในศาสนาคริสต์) ช่วงเวลาและลักษณะของการปรากฏตัวของผู้ช่วยให้รอดนั้นคลุมเครือ ความชัดเจนนี้ทำให้ความเชื่อในผู้ช่วยให้รอดในมุมมองของชีอะฮ์ดูมีเหตุผลมากกว่า
ความสอดคล้องกับสัญชาติญาณทางธรรมชาติ (ฟิฏเราะฮ์) ของมนุษย์ : การเน้นย้ำของชีอะฮ์ในการสร้างความยุติธรรมและการขจัดการกดขี่นั้นสอดคล้องกับความปรารถนาตามสัญชาติญาณทางธรรมชาติที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่มีความยุติธรรม
เฮนรี คอร์บิน กับมุมมองเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี (อ.) ตามความเชื่อของชีอะฮ์
ด้วยเหตุนี้เอง เฮนรี คอร์บิน (Henry Corbin) นักปรัชญาและนักบูรพาคดี (Orientalist) ชาวฝรั่งเศสมีคำพูดที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับผู้ช่วยให้รอด (อิมามมะฮ์ดี) ของชีอะฮ์ว่า : "ชีอะฮ์สิบสองอิมาม เป็นสำนักคิดเดียวที่รักษาความหวังแห่งอนาคตที่สดใสไว้ในหัวใจของผู้ปฏิบัติตามและเรียกร้องพวกเขาไปสู่การต่อสู้และการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นในระดับโลก"
เฮนรี คอร์บินยังกล่าวอีกว่า : "ชีอะฮ์เป็นสำนักคิดเดียวที่สามารถรักษาความเชื่อมโยงและความผูกพันของตนเองกับโลกอันสูงส่งและวิวรณ์ (วะห์ยู) แห่งพระเจ้า และจะรักษาความเชื่อมโยงนี้ให้คงอยู่ตลอดประวัติศาสตร์"
เนื่องจากเป็นสำนักคิดเดียวในโลกที่เชื่อในผู้ช่วยให้รอดที่มีชีวิตและดำรงอยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นคุณลักษณะเดียวที่ไม่มีศาสนาอื่นใดในโลกมี
บทความ : มุศฏอฟา อะมีรี
แปลและเรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ
Copyright © 2025 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่