คำคาดการณ์เมื่อปีที่แล้วของผู้บัญชาการกองกำลังกุดส์เกี่ยวกับราคาบ้านในพื้นที่ที่ถูกยึดครอง
Powered by OrdaSoft!
No result.

 คำคาดการณ์เมื่อปีที่แล้วของผู้บัญชาการกองกำลังกุดส์เกี่ยวกับราคาบ้านในพื้นที่ที่ถูกยึดครอง

นายพลกออานี คาดการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ใหม่ๆ ในดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองว่าในช่วงใหม่ของสถานการณ์เหล่านี้ แรงกดดันอย่างรุนแรงจะเกิดขึ้นกับระบอบไซออนิสต์ผู้ยึดครองของอัล-กุดส์ (เยรูซาเล็ม)


               ปฏิบัติการพายุอัล-อักซอทำให้เกิดสถานการณ์ต่างๆ ในดินแดนที่ถูกยึดครอง ซึ่งไม่จำกัดเพียงประเด็นด้านความมั่นคง ตลอดจนความล้มเหลวทางด้านข่าวกรองและทางการทหารของระบอบไซออนิสต์เท่านั้น ปฏิบัติการนี้ได้เปิดเฟสใหม่ของสถานการณ์ต่างๆ ในปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง ซึ่งก่อให้เกิดคลื่นแห่งการอพยพของบรรดาผู้ตั้งถิ่นฐานชาวไซออนนิสต์ ในความเป็นจริง ระบอบไซออนิสต์ซึ่งตลอดช่วงนโยบายเจ็ดสิบปี ได้พยายามที่จะให้ชาวไซออนิสต์เข้ามาแทนที่พลเมืองชาวปาเลสไตน์นั้น วันนี้ได้เผชิญกับคลื่นของการอพยพย้อนกลับ

               ในเรื่องนี้ นายพลอิสมาอีล กออานี ผู้บัญชาการกองกำลังอัล-กุดส์ของกองทัพพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (IRGC) ได้คาคการณ์เกี่ยวกับแรงกดดันที่จะเกิดขึ้นกับระบอบไซออนิสต์ และการกลับมามีอำนาจอีกครั้งของประชาชนชาวปาเลสไตน์ โดยกล่าวว่า : "ไม่ว่าอเมริกาและอิสราเอลจะกดดันเราอย่างไรก็ตาม แรงกดดันหลายเท่าทวีคูณจะย้อนกลับไปยังพวกเขา พวกเขากำลังระดมพลังสื่อทั้งหมดของตนเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น วันที่พวกเขาลอบสังหาร ชะฮีดกอซิม สุไลมานี เราได้บอกพวกเขาว่า : "จงขายบ้านของพวกท่านเสียเถิดและจงออกไปจากปาเลสไตน์" วันนี้เรากำลังเห็นว่าในดินแดนที่ถูกยึดครองนี้ บุคคลสำคัญชาวยิวเก่าแก่ได้สร้างองค์กรต่างๆ เพื่ออพยพออกจากอิสราเอล ยังไม่สายเกินไปสำหรับวันที่ประชาชนชาวปาเลสไตน์จะขับไล่ชาวอิสราเอลออกจากปาเลสไตน์ วันนี้ชาวอิสราเอลตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก และพวกเขาก็ไม่ละอายใจกับการโฆษณาชวนเชื่อเชิงลบ" [1]

             การคาดการณ์ที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นในดินแดนที่ถูกยึดครองหลังจากเกิดอาฟเตอร์ช็อกทางเศรษฐกิจและสังคมจากการปฏิบัติการพายุอัล-อักซอ และสงครามครั้งนี้ได้บังคับค่าใช้จ่ายจำนวนมากให้กับเศรษฐกิจของระบอบการปกครองนี้ และวยกับการโจมตีฉนวนกาซาได้เพิ่มแรงกดดันทวีคูณให้กับอิสราเอล ในความเป็นจริงแล้วปัญหานี้กำลังทำงานเหมือนสปริงในดินแดนที่ถูกยึดครอง และยิ่งระบอบการปกครองสร้างแรงกดดันต่อชาวปาเลสไตน์มากเท่าใด ก็มีแนวโน้มมากขึ้นที่สปริงนี้จะถูกปล่อยตัวและผลักดันอิสราเอลให้ถอยกลับไปมากยิ่งขึ้น

ค่าเงินอิสราเอลอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา

             ในเรื่องนี้ รัสเซียทูเดย์ (RT) รายงานว่า หลังจากความขัดแย้งล่าสุดในดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง สกุลเงินของระบอบไซออนิสต์ลดลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา [2] ในช่วงเวลานี้ มูลค่าทางการเงินของสกุลเงิน "อิสราเอล" (ตัวเลข) ลดลง 4 จุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ดัชนี TA-35 ของตลาดหุ้นอิสราเอลก็ร่วงลงเช่นกัน
ธนาคารกลางแห่งอิสราเอลประกาศว่า มีแผนจะขายสกุลเงินต่างประเทศสูงถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อเพิ่มมูลค่าเชเขล และเพิ่มการขายนี้อีก 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ผ่านกลไกการแลกเปลี่ยน
แม้ว่าธนาคารกลางอิสราเอลในฐานะองค์กรธุรกิจจะเข้าดำเนินการในตลาดเสรีทันที แต่สถานการณ์กลับแย่ลงอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรลืมค่าใช้จ่ายของสงคราม

ความกังวลของธนาคารอิสราเอลเกี่ยวกับการลดอันดับของความน่าเชื่อถือ

              ด้วยกระบวนการนี้ ธนาคารกลางได้ทำให้ระบอบการปกครองนี้เผชิญกับปัญหาใหญ่ เนื่องจากมันได้ตกอยู่ระหว่างสองทางเลือก งเลือกแรก คือการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้นในช่วงสงคราม และทางเลือกที่สอง คือการรักษาอัตราดอกเบี้ยให้สูงเพื่อสนับสนุนสกุลเงิน

การอพยพย้อนกลับของบรรดาผู้ตั้งถิ่นฐาน

              การอพยพย้อนกลับในดินแดนที่ถูกยึดครองได้กลายเป็นจุดอ่อนของระบอบการปกครองนี้ เมื่อพิจารณาถึงกรณีที่ว่าการดำรงอยู่ของระบอบการปกครองนี้เกิดจากการอพยพมาของไซออนิสต์ ดังนั้นการอพยพย้อนกลับของระบอบการปกครองนี้ถือเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับมัน และจะส่งผลอย่างมากต่ออนาคตของอิสราเอล นี่คือเหตุผลที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนพิจารณาว่า ปฏิบัติการพายุอัล-อักซอเป็นการโจมตีการดำรงอยู่ของระบอบการปกครองนี้ เนื่องจากมันได้ลากสงครามจากฉนวนกาซามาสู่นิคมที่อยู่อาศัยของชาวไซออนิสต์

               ในเรื่องนี้ โฆษกกองทัพอิสราเอลกล่าวระหว่างแถลงข่าวเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมว่า : "ปัจจุบัน ชาวอิสราเอลประมาณครึ่งล้านคนต้องพลัดถิ่นภายในประเทศ" แถวต่างๆ ที่แออัดและยาวเหยียดของบรรดาผู้ตั้งถิ่นฐานที่ที่รวมตัวกันที่สนามบิน Ben-Gurion เพื่อเดินทางออกจากอิสราเอล เป็นสัญลักษณ์ของการอพยพย้อนกลับหลังสถานการณ์เหล่านี้ [3]
ตามที่ทัศนะของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ การปล่อยจรวดจำนวนมากจากฉนวนกาซาไปยังเมืองต่าง ๆ ของดินแดนที่ถูกยึดครองและในเวลาเดียวกัน ความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นกับขบวนการฮิซบุลลอฮ์ในชายแดนทางตอนเหนือได้นำไปสู่การบังคับอพยพของผู้อยู่อาศัยในเมืองต่างๆ ที่ถูกยึดครองรอบๆ ชายแดนที่ติดกับฉนวนกาซาและชายแดนเลบานอน และอัตราภาระหนี้ของสถาบันประกันภัยก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจนกลายเป็นภาระที่หนักหน่วงต่อคณะรัฐมนตรี

พวกไซออนิสต์จะไม่กลับมาบ้านของพวกเขา

              ตามรายงานของสำนักข่าว Fars นับตั้งแต่เริ่มการโจมตีโดยกลุ่มฮิซบุลลอฮ์แห่งเลบานอนยังตำแหน่งต่างๆ ของระบอบไซออนิสต์ ชาวไซออนิสต์หลายหมื่นคนถูกย้ายออกจากที่ตั้งถิ่นฐานและคิบบุตซ์ใกล้ชายแดนเลบานอน และที่ตั้งถิ่นฐานก็ก็ว่างเปล่าแล้วด้วยเช่นกัน
ทางการอิสราเอลประกาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่าประชาชน 27,000 คนถูกอพยพออกจากพื้นที่ใกล้ชายแดนเลบานอน นอกจากนี้ ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว งานอพยพผู้คนประมาณ 23,000 คนจากเมืองเคอร์ยัต ชโมนา ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนเลบานอน 3 กิโลเมตร ได้เริ่มขึ้นแล้ว
เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอิสราเอลยังประกาศด้วยว่า จะอพยพผู้อยู่อาศัยในเมืองอื่นๆ อีก 14 เมืองบริเวณชายแดนติดกับเลบานอน ซึ่งคาดว่าจะมีประชากรประมาณ 1,000 คน

              ขณะนี้ ชาวเมือง Mutulah ได้บอกกับหนังสือพิมพ์ Israel Hayom ว่า พวกเขาจะไม่กลับบ้าน ตราบใดที่กองกำลังของ Rezwan Brigade (นักสู้ชั้นสูงของฮิซบุลลอฮ์) ยังอยู่ใกล้ชายแดน
ตามคำพูดของหัวหน้าสมาคมโรงแรมแห่งระบอบการปกครองอิสราเอล การหลบหนีครั้งใหญ่ของผู้ตั้งถิ่นฐานจากชายแดนเลบานอนและชายแดนฉนวนกาซาได้กลายเป็นสาเหตุทำให้ห้องพักครึ่งหนึ่งของโรงแรมทั้งหลายจะถูกจัดสรรให้กับผู้พลัดถิ่นจากทั่วฉนวนกาซาและเลบานอน

ชาวไซออนิสต์ซ่อนตัวอยู่ในบ้านและกดดันต่อเศรษฐกิจของอิสราเอล

             ในสถานการณ์ที่สงครามทางอากาศกำลังเกิดขึ้นในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยมีการตอบโต้นกันด้วยระเบิดและจรวด ผู้ตั้งถิ่นฐานจำนวนมากซ่อนตัวอยู่ในบ้านของตนและไม่ออกไปที่ถนน เนื่องจากสถานการณ์ด้านความปลอดภัย ร้านค้าและศูนย์จำหน่ายหลายแห่งในอิสราเอลว่างเปล่า ผู้คนไม่สนใจออกจากบ้าน ซึ่งจะทำให้การบริโภคลดลง

             ปัจจัยเหล่านี้ พร้อมด้วยต้นทุนที่สูงในการจัดหาเงินทุนในการทำสงคราม ตลอดจนความเสียหายทางการเงินเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดกับบริษัทและคนงาน แสดงให้เห็นว่าการยกระดับและความต่อเนื่องของสงครามจะกดดันเศรษฐกิจอิสราเอลอย่างรุนแรง [4] กองทัพอิสราเอลเรียกคน 36,000 คนเข้าประจำการในกองทัพ คนเหล่านี้จำนวนมากเป็นพนักงานของบริษัทเทคโนโลยีของอิสราเอล ซึ่งปัจจุบันไม่มาทำงาน

แรงกดดันทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์ล่าสุดต่อระบอบไซออนิสต์

             ขณะที่รัฐบาลของเนทันยาฮูกำลังเผชิญกับการขาดดุลงบประมาณอย่างรุนแรง และด้วยการปรากฏตัวของผู้ตั้งถิ่นฐานที่ถูกเรียกให้เข้าร่วมรบในกองทัพอิสราเอล ธุรกิจจำนวนมากในระบอบการปกครองนี้จึงถูกทิ้งไว้โดยไม่มีแรงงาน และสร้างความเสียหายมากมายให้กับอิสราเอลในเรื่องนี้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เองที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า หากประเทศตะวันตกไม่ช่วยเหลือระบอบการปกครองนี้ อิสราเอลจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงสำหรับการดำเนินสงครามต่อไป และด้วยการดำเนินอยู่ของสงครามความเสียหายก็จะเพิ่มขึ้น
ในการประเมินสถานะของตลาดการเงินของ "อิสราเอล" ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์เตือนว่า อัตราเงินเฟ้อที่หดตัวอย่างรุนแรงและการขาดดุลงบประมาณจำนวนมากพร้อมกับกระบวนการสงครามอันยาวนานที่ดำเนินต่อไปได้จะคุกคามต่อเศรษฐกิจของเทลอาวีฟ
ในเรื่องนี้ หน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ "Standard & Poor's", "Moody's" และ "Fitch" ได้ประกาศอันดับความน่าเชื่อถือของระบอบไซออนนิสต์ว่า "ติดลบ" หลังจากการปฏิบัติการพายุอัล-อักซอ

             ตามคำกล่าวของ "เจเบต ออร์ " หนึ่งในนักวิเคราะห์เศรษฐกิจชั้นนำของอิสราเอล ผลที่ตามมาของสงครามทำลายล้างครั้งนี้อาจทำให้การผลิตทางเศรษฐกิจต่อหัวของอิสราเอลลดลง 2-3% ในไตรมาสที่สามหรือสี่ของปีนี้ [5] ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวกันว่า เมื่อพิจารณาว่าเศรษฐกิจของอิสราเอลได้รับความเสียหายและการโจมตีของกลุ่มฮามาสทำให้กรณีเหล่านี้รุนแรงขึ้น ด้วยความที่สงครามยังคงดำเนินต่อไปและขาดการจัดการทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของระบอบนี้ได้


แหล่งอ้างอิง :

[1] https://www.farsnews.ir/razavi/news/14010209000366
[2] https://www.tasnimnews.com/fa/news/1402/07/17/2969037
[3] https://www.farsnews.ir/news/14020725000244
[4]https://donya-e-eqtesad.com/%D8%A8%D8%AE%D8%B4-%D8%A8%D8%A7%D8%B2%D8%A7%D8%B1-%D9%BE%D9%88%D9%84-%D8%A7%D8%B1%D8%B2-116/4014672-%D8%AD%D9%85%D9%84%D9%87-%D9%85%D9%88%D8%B4%DA%A9%DB%8C-%D8%A8%D9%87
[5] https://www.mehrnews.com/news/5920062/


ที่มา : ฟาร์ส

แปล/เรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

Copyright © 2023 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้อิสลามสำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 920 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

10076742
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
29778
67809
97587
9524455
1928276
2060970
10076742

จ 29 เม.ย. 2024 :: 09:49:13