บรรทัดฐานการดำเนินชีวิต ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์
Powered by OrdaSoft!
No result.

บรรทัดฐานการดำเนินชีวิต ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์

มารยาททางสังคมที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งสำหรับมุสลิม และถือเป็นแนวทางในการคบหาสมาคมและการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมตามแบบอิสลามนั่นก็คือ “การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์”

     การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ หมายถึง การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับของผู้คน การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การทำคุณประโยชน์ให้แก่ประชาชน การรับใช้บริการเพื่อนมนุษย์ การร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเพื่อนมนุษย์ และอื่นๆ สิ่งเหล่านี้คือเคล็ดลับของความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางสังคมของมุสลิม และจะเป็นการสร้างพื้นฐานความรัก ความเมตตา การสนับสนุนและการปกป้องเราจากประชาชน

     ปลาจะมีชีวิตอยู่ได้ ก็ต้องอาศัยน้ำ และมุสลิมจะมีชีวิตทางสังคมที่ประสบความสำเร็จได้ ก็ขึ้นอยู่กับการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น เราจะต้องรับรู้ว่ามีสิ่งใดบ้าง พฤติกรรมการแสดงออกอย่างใดบ้าง อารมณ์ความรู้สึกใดบ้างที่จะสร้างพื้นฐานความรัก ความเมตตา ความเป็นที่เคารพเทิดทูน และการสนับสนุนจากประชาชน และผู้คนในสังคมที่มีต่อเรา?

     มนุษย์หากขาดปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ และการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นนั่น ย่อมหมายความว่า เขาเป็นคนหลงตนเอง บูชาตนเอง เป็นคนเห็นแก่ตัว และบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิตของเขา คือตัวของเขาเองเท่านั้น มิไม่สนใจใยดีต่อผู้อื่น คนประเภทนี้จะไม่ได้รับความเคารพให้เกียรติและความรักใดๆ ในสังคม คนที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์เท่านั้น ที่จะสามารถดึงดูดหัวใจของเพื่อนมนุษย์ได้ การดำรงอยู่ของเขา จะเป็นบ่อเกิดของความสงบสุข และความเจริญก้าวหน้าของสังคม ในวจนะของท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ถือว่าการมีคุณลักษณะเช่นนี้ หากเคียงคู่อยู่กับการมีความศรัทธา (อีหม่าน) ต่อพระผู้เป็นเจ้าของเจ้าแล้ว มันคือคุณธรรมความดีที่สูงส่งที่สุด ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) กล่าวว่า

خَصْلَتَانِ لَيْسَ فَوْقَهُمَا مِنَ الْبِرِّ شَيْءٌ الْإِيمَانُ بِاللَّهِ وَ النَّفْعُ لِعِبَادِ اللَّهِ وَ خَصْلَتَانِ لَيْسَ فَوْقَهُمَا مِنَ الشَّرِّ شَيْءٌ الشِّرْكُ بِاللَّهِ وَ الضَّرُّ لِعِبَادِ اللَّهِ

“คุณลักษณะสองประการที่ไม่มีคุณธรรมความดีใดจะสูงส่งไปกว่ามันอีก นั่นคือความศรัทธาต่ออัลลอฮ์และการยังคุณประโยชน์ต่อปวงบ่าวของอัลลอฮ์ และลักษณะสองประการที่ไม่มีความชั่วร้ายใดๆ จะเหนือไปกว่ามันอีกแล้ว นั่นคือการตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์และการยังอันตรายต่อปวงบ่าวของอัลลอฮ์” (1)

       ท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) กล่าวว่า

إِنَّ لِلَّهِ عِبَاداً مِنْ خَلْقِهِ فِي أَرْضِهِ يُفْزَعُ إِلَيْهِمْ فِي حَوَائِجِ الدُّنْيَا وَ الْآخِرَةِ- أُولئِكَ هُمُ الْمُؤْمِنُونَ حَقًّا آمِنُونَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ أَلَا وَ إِنَّ أَحَبَّ الْمُؤْمِنِينَ إِلَى اللَّهِ مَنْ أَعَانَ الْمُؤْمِنَ الْفَقِيرَ مِنَ الْفَقْرِ فِي دُنْيَاهُ وَ مَعَاشِهِ وَ مَنْ أَعَانَ وَ نَفَعَ وَ دَفَعَ الْمَكْرُوهَ عَنِ الْمُؤْمِنِينَ

 “แท้จริงอัลลอฮ์ทรงมีปวงบ่าวกลุ่มหนึ่ง จากท่ามกลางสิ่งถูกสร้างของพระองค์ที่อยู่ในแผ่นดิน พวกเขาจะเป็นที่พักพิงแก่ประชาชนในความจำเป็นต่างๆ ในโลกนี้และปรโลก พวกเขาเหล่านั้นคือผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) โดยแท้จริง และพวกเขาจะปลอดภัยในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ (กิยามะฮ์) พึงรู้เถิดว่า ผู้ศรัทธาที่เป็นที่รักยิ่งที่สุด ณ อัลลอฮ์ คือผู้ที่ช่วยเหลือผู้ศรัทธาที่ยากไร้ จากความยากไร้ในกิจการทางโลกและการดำรงชีวิตของเขา และบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือและสร้างคุณประโยชน์และปัดป้องสิ่งน่ารังเกียจให้พ้นไปจากปวงผู้ศรัทธา” (2)

       การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ ก็คือ การที่เราจะคอยให้การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม ความพยายามที่จะสร้างความสุขและความดีงามให้เกิดขึ้นกับเพื่อนร่วมสังคม และคอยรับใช้บริการพี่น้องร่วมสังคมของเรา ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า

 مَنْ أَدْخَلَ عَلَى مُؤْمِنٍ سُرُوراً خَلَقَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ مِنْ ذَلِكَ السُّرُورِ خَلْقاً فَيَلْقَاهُ عِنْدَ مَوْتِهِ فَيَقُولُ لَهُ أَبْشِرْ يَا وَلِيَّ اللَّهِ بِكَرَامَةٍ مِنَ اللَّهِ وَ رِضْوَانٍ مِنْهُ ثُمَّ لَا يَزَالُ مَعَهُ حَتَّى يَدْخُلَ قَبْرَهُ فَيَقُولُ لَهُ مِثْلَ ذَلِكَ فَإِذَا بُعِثَ تَلَقَّاهُ فَيَقُولُ لَهُ مِثْلَ ذَلِكَ فَلَا يَزَالُ مَعَهُ فِي كُلِّ هَوْلٍ يُبَشِّرُهُ وَ يَقُولُ لَهُ مِثْلَ ذَلِكَ فَيَقُولُ لَهُ مَنْ أَنْتَ رَحِمَكَ اللَّهُ فَيَقُولُ أَنَا السُّرُورُ الَّذِي أَدْخَلْتَ عَلَى فُلَانٍ

“ผู้ใดที่สร้างความปีติยินดี (และความสุข) ให้เกิดขึ้นกับผู้ศรัทธาคนหนึ่ง อัลลอฮ์ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร จะทรงสร้างสิ่งถูกสร้างหนึ่งขึ้นมาจากความปีติยินดี (และความสุข) นั้น โดยที่มันจะมาพบกับเขาเมื่อเขาตายลง แล้วมันจะกล่าวกับเขาว่า จงปีติยินดีต่อเกียรติยศและความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮ์เถิด และมันจะคงอยู่ร่วมกับเขาจนกระทั่งเขาจะเข้าสุ่หลุมฝังศพ มันก็จะกล่าวกับเขาเหมือนเช่นเคย เมื่อเขาถูกทำให้ฟื้นคืนชีพ มันก็จะมาพบเขา และจะกล่าวกับเขาเหมือนเช่นเคย มันจะอยู่กับเขาในทุกๆ ความน่าสพรึงกลัว เพื่อแจ้งข่าวดีแก่เขา และจะกล่าวกับเขาเช่นเดียวกับสิ่งที่ได้กล่าวไป และเมื่อเขาถามมันว่า เจ้าเป็นใครกัน ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาเจ้า! มันจะกล่าวว่า ฉันคือความปีติยินดี (และความสุข) ที่ท่านได้ทำให้เกิดขึ้นกับบุคคลนั้นบุคคลนี้” (3)

       คำรายงานบทหนึ่งได้ชี้ให้เห็นว่า การที่คนเราปลดเปลื้องและคลี่คลายความทุกข์ยากออกไปจากผู้ศรัทธานั้น จะทำให้พระผู้เป็นเจ้าทรงปลดเปลื้องและทรงคลี่คลายความทุกข์ระทมออกไปจากหัวใจของเราในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ ท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า

مَنْ فَرَّجَ عَنْ مُؤْمِنٍ فَرَّجَ اللّهُ قَلْبَهُ يَوْمَ الْقِيامَةِ

“ผู้ใดที่คลี่คลายความทุกข์ออกไปจากผู้ศรัทธา อัลลอฮ์จะทรงคลี่คลายความทุกข์ออกไปจากหัวใจของเขาในวันกิยามะฮ์” (4)

       หลักเกณฑ์ทั่วไปประการหนึ่ง ท่านอิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา (อ.) ได้แนะนำถึงหลักเกณฑ์ทั่วไปประการหนึ่งสำหรับการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อประชาชน โดยกล่าวว่า

صَاحِبِ النَّاسَ مِثْلَ مَا تُحِبُّ أَنْ يُصَاحِبُوكَ بِهِ

“จงใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้คน เหมือนดังที่ท่านปรารถนาจะให้พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับท่าน” (5)

       ตัวอย่างของการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์หรือผู้ร่วมสังคมนั้นมีมากมาย เช่น การแสดงออกด้วยมารยาทและพฤติกรรมที่ดีงามต่อพวกเขา การให้อภัยและการไม่ถือโทษโกรธเคืองต่อความไม่ดีงามที่เกิดขึ้นจากพวกเขา การเสียสละและการให้ การแสดงความรักและความเมตตา ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความมีจิตใจที่เปิดกว้าง ยอมรับความคิดเห็นและอดทนอดกลั้นในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน การสอดส่องดูแลและการเอาใจใส่ต่อทุกข์สุขของเพื่อนร่วมสังคม และอื่นๆ หากเราสามารถปฏิบัติอย่างนี้ได้ เราจะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการดำเนินชีวิตทั้งในโลกนี้และปรโลก และจะทำให้ชีวิตทางสังคมเกิดความเจริญก้าวหน้าและความสงบสุขอย่างแท้จริง


แหล่งอ้างอิง :

1) ตุหะฟุลอุกูล, หน้า 35

2) ตุหะฟุลอุกูล, หน้า 376

3) อัลกาฟี, เล่ม 2, หน้า 192, ฮะดีษที่ 12  ; มุสตัดร็อก อัลวะซาอิล, เล่มท 2, หน้า 404, ฮะดีษที่ 4

4) อัลกาฟี, เล่ม 2, หน้า 160, ฮะดีษที่ 4 ; วะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่ม 16, หน้า 372 , ฮะดีษที่ 6

5) มีซานุลฮิกมะฮ์, เล่ม 3, หน้า 1978


ที่มา : คุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์, มัสยิดซอฮิบุซซะมาน (อ.)

โดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 1732 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

9896251
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
35379
66240
371796
9045061
1747785
2060970
9896251

ศ 26 เม.ย. 2024 :: 14:24:18