มีผู้ถามท่านอมีรุลมุอ์มินีน (ผู้นำของปวงศรัทธาชน) คือท่านอิมามอะลี บินอบีฏอลิบ (อ.) เกี่ยวกับความศรัทธา (อีหม่าน) ท่านตอบว่า
ความศรัทธา (อีหม่าน) นั้นวางอยู่บนเสาหลัก 4 ประการ : คือ
ความอดทน (ซ็อบร์) ,ความเชื่อมั่น (ยะกีน), ความยุติธรรม (อัดล์), และ การต่อสู้ (ญิฮาด)
อันความอดทน (ซ็อบร์) มีสี่แขนง :
คือ ความมุ่งมาตรปรารถนา ความกลัว ความสมถะและการระมัดระวังตน : ผู้ใดก็ตามที่มุ่งมาตรปรารถนาต่อสวรรค์ เขาจะละวางจากกิเลสตัณหาทั้งหลาย และผู้ใดที่กลัวต่อไฟนรก เขาจะหลีกห่างจากสิ่งต้องห้ามทั้งหลาย ผู้ใดที่มีสมถะในโลกนี้ เขาจะมองเห็นความทุกข์ยากทั้งหลายเป็นเรื่องเล็กน้อย และผู้ใดที่เฝ้าระวังตนจากความตาย เขาจะรีบเร่งในการประกอบความดีงาม
ส่วนความเชื่อมั่น (ยะกีน) มีสี่แขนง :
คือ ความฉลาดหลักแหลม การเข้าถึงวิทยปัญญา (เบื้องลึกของปัญหา) การรับรู้อุทาหรณ์สอนใจ และการให้ความสนใจต่อแบบฉบับของปวงปราชญ์ : ดังนั้นผู้ใดก็ตามที่มีความฉลาดหลักแหลม วิทยปัญญาจะปรากฏสำหรับเขา และผู้ใดก็ตามที่วิทยปัญญาปรากฏสำหรับเขา เขาก็จะรับรู้ถึงอุทาหรณ์สอนใจ และผู้ใดที่รับรู้ถึงอุทาหรณ์สอนใจ ก็จะประหนึ่งว่าเขาได้อยู่ในหมู่ปวงปราชญ์
ส่วนความยุติธรรมนั้นก็มีสี่แขนง :
คือ ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ความรู้ที่ลึกล้ำ การตัดสินที่สวยงามและความสุขุมคัมภีรภาพ : ผู้ใดที่มีความเข้าใจ เขาก็จะรู้ซึ้งถึงความลึกล้ำแห่งวิทยาการ และผู้ใดที่มีความรู้ที่ลึกล้ำ เขาก็จะรับรู้ถึงข้อกำหนดต่างๆ ของการตัดสิน และผู้ใดที่มีความสุขุมเยือกเย็น เขาก็จะไม่ผิดพลาดในกิจการงานของตน และจะมีชีวิตอยู่ในหมู่ประชาชนในสภาพที่ได้รับการสรรเสริญ
ส่วนการญิฮาดก็มีสี่แขนง :
คือการกำชับความดี การห้ามปรามความชั่ว ความสัจจริงในสนามศึกต่างๆ (ของการต่อสู้ในทางของพระเจ้า) และความเป็นปรปักษ์ต่อเหล่าทรชน ผู้ใดก็ตามที่กำชับความดีงาม เขาได้ทำให้หลังของบรรดาผู้ศรัทธาเกิดความแข็งแกร่ง ผู้ใดที่ห้ามปรามความชั่ว เขาได้กดจมูกของพวกสับปลับ ผู้ใดที่สัจจริงในสนามศึกสงคราม เขาได้ปฏิบัติตามหน้าที่ของเขาแล้ว และผู้ใดที่เป็นปรปักษ์ต่อเหล่าทรชนและโกรธเพื่ออัลลอฮ์ อัลลอฮ์ก็จะพิโรธเพื่อเขา และจะทรงพึงพอพระทัยต่อเขาในวันกิยามะฮ์ (ปรโลก)
(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ฮิกมะฮ์ที่ 31)
ตัวบท
سُئِلَ(عليه السلام) عَنِ الاِْيمَانِ، فَقَالَ: الاِْيمَانُ عَلَى أَرْبَعِ دَعَائِمَ: عَلَى الصَّبْرِ، والْيَقِينِ، وَالْعَدْلِ، وَالْجَهَادِ: فَالصَّبْرُ مِنْهَا عَلَى أَربَعِ شُعَب: عَلَى الشَّوْقِ، وَالشَّفَقِ، وَالزُّهْدِ، وَالتَّرَقُّبِ: فَمَنِ اشْتَاقَ إِلَى الْجَنَّةِ سَلاَ عَنِ الشَّهَوَاتِ، وَمَنْ أشْفَقَ مِنَ النَّارِ اجْتَنَبَ الْـمُحَرَّمَاتِ، وَمَنْ زَهِدَ فِي الدُّنْيَا اسْتَهَانَ بِالْمُصِيبَاتِ، وَمَنِ ارْتَقَبَ الْمَوْتَ سَارَعَ فِي الْخَيْرَاتِ. وَالْيَقِينُ مِنْهَا عَلَى أَرْبَعِ شُعَب: عَلَى تَبْصِرَةِ الْفِطْنَةِ، وَتَأَوُّلِ الْحِكْمَةِ، وَمَوْعِظَةِ الْعِبْرَةِ ، وَسُنَّةِ الاَْوَّلِينَ : فَمَنْ تَبَصَّرَ فِي الْفِطْنَةِ تَبَيَّنَتْ لَهُ الْحِكْمَةُ، وَمَنْ تَبَيَّنَتْ لَهُ الْحِكْمَةُ عَرَفَ الْعِبْرَةَ، وَمَنْ عَرَفَ الْعِبْرَةَ فَكَأَنَّمَا كَانَ فِي الاَْوَّلِينَ. وَالْعَدْلُ مِنْهَا عَلَى أَرْبَعِ شُعَب: عَلَى غائِصِ الْفَهْمِ، وَغَوْرِ الْعِلْمِ ، وَزُهْرَةِ الْحُكْمِ ، وَرَسَاخَةِ الْحِلْمِ: فَمَنْ فَهِمَ عَلِمَ غَوْرَ الْعِلْمِ، وَمَنْ عَلِمَ غَوْرَ الْعِلْمِ صَدَرَ عَنْ شَرَائِعِ الْحُكْمِ ، وَمَنْ حَلُمَ لَمْ يُفَرِّطْ فِي أَمْرِهِ وَعَاشَ فِي النَّاسِ حَمِيداً. وَالْجِهَادُ مِنْهَا عَلَى أَرْبَعِ شُعَب: عَلَى الاَْمْرِ بالْمَعْرُوفِ، وَالنَّهْي عَنِ الْمُنكَرِ، وَالصِّدْقِ فِي الْمَوَاطِنِ ، وَشَنَآنِ الْفَاسِقيِنَ: فَمَنْ أَمَرَ بِالْمَعْرُوفِ شَدَّ ظُهُورَ الْمُؤمِنِينَ، وَمَنْ نَهَى عَنِ الْمُنْكَرِ أَرْغَمَ أُنُوفَ الْمُنَافِقِينَ،مَنْ صَدَقَ فِي الْمَوَاطِنِ قَضَى مَا عَلَيْهِ، وَمَنْ شَنِىءَ الْفَاسِقِينَ وَغَضِبَ لله غَضِبَ اللهُ لَهُ وَأَرْضَاهُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ.
نهج البلاغه، حکمت 31.
บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ
Copyright © 2017 SAHIBZAMAN.NET-สื่อเรียนรู้อิสลามสำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่