บรรดาริวายะฮ์ (คำรายงาน) ได้พูดถึงฟิตนะฮ์ (วิกฤตการณ์) เฉพาะในดินแดนชาม (ซีเรีย) ที่จะเกิดขึ้นจะเกิดขึ้นก่อนการออกมาก่อกบฏของซุฟยานี ฟิตนะฮ์นี้ก็คือฟิตนะฮ์ทั่วไปของชาวตะวันตกและตะวันออกที่ชาวมุสลิมจะประสบกับมัน
มีรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งท่านกล่าวว่า :
يُوشِكُ أَهْلُ الشَّأْمِ أَنْ لا يُجْبَى إليهِم دِينَارٌ وَلَا مُدٌّ، قُلْنَا: مِنْ أَيْنَ ذَاكَ؟ قالَ: مِن قِبَلِ الرُّومِ، ثُمَّ سَكَتَ هُنَيْهَةً، ثُمَّ قالَ: قالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللَّهُ عليه وَآلِه: يَكونُ في آخِرِ أُمَّتي خَلِيفَةٌ يَحْثِي المَالَ حَثْيًا، لا يَعُدُّهُ عَدًّا
"อีกไม่นานชาวซีเรียจะไม่ได้รับดีนารและเครื่องตวง" พวกเราได้ถามว่า : "สิ่งนั้นจะเกิดจากใคร?" ท่านกล่าวว่า : "จากทางด้านพวกโรมัน" จากนั้นท่านก็นิ่งเงียบอยู่ครู่หนึ่งแล้วกล่าวว่า : "จะมีคอลีฟะฮ์ (ผู้ปกครอง) คนหนึ่งในยุคสุดท้ายของประชาชาติของฉัน เขาจะมอบทรัพย์สินอันเล็กน้อยแก่ประชาชนซึ่งไม่อาจนับมันได้" [1]
สาเหตุของการบีบคั้นทางด้านเศรษฐกิจ การเงินและอาหาร คือ ชาวโรมัน หมายถึง ชาวตะวันตก
มีรายงานจากญาบิร ญุอ์ฟีว่า มีผู้ถามท่านอิมามบากิร (อ.) เกี่ยวกับพระดำรัสของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง ซึ่งพระองค์ทรงตรัสว่า :
وَلَنَبْلُوَنَّكُمْ بِشَيْءٍ مِنَ الْخَوْفِ وَالْجُوعِ وَنَقْصٍ مِنَ الأَمْوَالِ وَالأَنفُسِ وَالثَّمَرَاتِ وَبَشِّرِ الصَّابِرِينَ
"และแน่นอน เราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยสิ่งหนึ่งจากความกลัว และความอดอยากและด้วยความขาดแคลนในทรัพย์สิน ชีวิต และพืชผล และจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ที่อดทนเถิด" [2]
ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า :
يَا جَابِرُ ذَلِكَ خَاصُّ وَ عَامٌّ فَأَمَّا اَلْخَاصُّ مِنَ اَلْجُوعِ فَبِالْكُوفَةِ وَ يَخُصُّ اَللَّهُ بِهِ أَعْدَاءَ آلِ مُحَمَّدٍ فَيُهْلِكُهُمْ وَ أَمَّا اَلْعَامُّ فَبِالشَّامِ يُصِيبُهُمْ خَوْفٌ وَ جُوعٌ مَا أَصَابَهُمْ مِثْلُهُ قَطُّ وَ أَمَّا اَلْجُوعُ فَقَبْلَ قِيَامِ اَلْقَائِمِ عَلَيْهِ السَّلاَمُ وَ أَمَّا اَلْخَوْفُ فَبَعْدَ قِيَامِ اَلْقَائِمِ عَلَيْهِ السَّلاَمُ
"โอ้ญาบิรเอ๋ย! ความอดอยากนั้นมีสองอย่าง คือ ความอดอยากเฉพาะและความอดอยากทั่วไป สำหรับความอดอยากเฉพาะนั้น จะเกิดขึ้นกับชาวกูฟะฮ์ ซึ่งอัลลอฮ์จะทรงทำให้เกิดเฉพาะกับบรรดาศัตรูของวงศ์วานของมุฮัมมัดและจะทรงทำให้พวกเขาพินาศ ส่วนความอดอยากทั่วไปนั้นจะเกิดขึ้นในดินแดนชาม (ซีเรีย) ซึ่งมันคือความอดอยากและความกลัวที่พวกเขาไม่เคยประสบมาก่อนจนกระทั่งถึงตอนนั้น สำหรับความอดอยากนั้น จะเกิดขึ้นก่อนการยืนหยัดต่อสู้ของกออิม ส่วนความกลัวนั้นจะเกิดขึ้นหลังจากการยืนหยัดต่อสู้ของกออิม (อ.) [3]
มีรายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) ซึ่งท่านกล่าวว่า :
لا بد أن يكون قدام القائم سنة يجوع فيها الناس ، ويصيبهم خوف شديد من القتل ، ونقص من الأموال والأنفس والثمرات ، فإن ذلك في كتاب لبين ، ثم تلا هذه الآية : ( وَلَنَبْلُوَنَّكُمْ بِشَئٍ مِنَ الْخَوْفِ وَالْجُوعِ وَنَقْصٍ مِنَ الأَمْوَالِ وَالأَنْفُسِ وَالثَّمَرَاتِ وَبَشِّرِ الصَّابِرِينَ )
"ก่อนการปรากฏตัวของกออิมปีซึ่งประชาชนจะอดยากจะมาถึงอย่างแน่นอน และความกลัวอย่างรุนแรงต่อการถูกฆ่า การขาดแคลนทรัพย์สินและพืชผลจะมาประสบกับพวกเขา และเรื่องนี้ได้ถูกอธิบายไว้ในอัลกุรอาน แล้วท่านก็อ่านโองการนี้ว่า “และแน่นอน เราจะทดสอบพวกเจ้าด้วยสิ่งหนึ่งจากความกลัว และความอดอยากและด้วยความขาดแคลนในทรัพย์สิน ชีวิต และพืชผล และจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ที่อดทนเถิด” [4]
การปรากฏขึ้นของการบีบครั้นทางด้านเศรษฐกิจในปีของการปรากฏตัว (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ด้วยกับคำพูดที่ว่า สภาพการณ์เช่นนี้มีมาก่อนการปรากฏตัว (ซุฮูร) ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว และจากนั้นก็มีความรุนแรงมากขึ้นในปีของการปรากฏตัว แล้วการปรากฏตัวก็เกิดขึ้นนั้นไม่มีความขัดแย้งกันแต่ประการใด
อย่างไรก็ตาม ตามริวายะฮ์ (คำรายงาน) ทั้งหลายนั้น ฟิตนะฮ์ของดินแดนชาม (ซีเรีย) จะมีระยะเวลาที่ยาวนาน และเมื่อใดก็ตามที่คิดว่ามันจะสิ้นสุดลง มันก็จะดำเนินต่อไปอีก โดยที่ประชาชนไม่สามารถหาทางออกจากมันได้ ดังที่ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า :
لا یظْهَرُ الْقَائِمُ حَتَّى یشْمَلَ النَّاسَ بِالشَّامِ فِتْنَةٌ یطْلُبُونَ الْمَخْرَجَ مِنْهَا فَلَا یجِدُونَهُ
“กออิมจะยังไม่ปรากฏตัวจนกว่าฟิตนะฮ์ (วิกฤตการณ์ที่เลวร้าย) จะปกคลุมประชาชนในเมืองชาม พวกเขาจะแสวงหาทางออกจากมัน แต่พวกเขาก็จะไม่พบทางออก” [5]
ตามริวายะฮ์ (คำรายงาน) ต่างๆ ฟิตนะฮ์นี้จะเข้าสู่บ้านของชาวอาหรับและมุสลิมทุกหลัง และ "เมื่อใดที่พวกเขาแก้ไขมันได้ทางด้านหนึ่ง มันก็จะไปปะทุขึ้นอีกด้านหนึ่ง หรือความวุ่นวายจะไปเกิดขึ้นอีกด้านหนึ่ง" [6]
ริวายะฮ์ (คำรายงาน) บางส่วนก็ได้เรียกเหตุการณ์เหล่านี้ว่า "ฟิตนะฮ์ของปาเลสไตน์" เช่นกันดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้จากต้นฉบับตัวเขียนของอิบนุฮัมมาด [7]
เชิงอรรถ :
1. บิฮารุลอันวาร, มัจญ์ลิซี, เล่ม 51, หน้า 92
2. อัลกุรอานบทอัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 155
3. บิฮารุลอันวาร, มัจญ์ลิซี, เล่ม 52, หน้า 229
4. บิฮารุลอันวาร, มัจญ์ลิซี, เล่ม 52, หน้า 229
5. บิฮารุลอันวาร, มัจญ์ลิซี, เล่ม 52, หน้า 298; อัล ฆ็อยบะฮ์, นุอ์มานี, หน้า 279
6. ต้นฉบับตัวเขียนของอิบนุ ฮัมมาด, หน้า 9 และ 10
7. ต้นฉบับตัวเขียนของอิบนุ ฮัมมาด, หน้า 63
บทความ : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ
Copyright © 2024 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่