วันที่ 29 สิงหาคม วันต่อต้านการก่อการร้ายแห่งชาติในอิหร่าน
Powered by OrdaSoft!
No result.
วันที่ 29 สิงหาคม วันต่อต้านการก่อการร้ายแห่งชาติในอิหร่าน

วันนี้เป็นวันครบรอบ 43 ปี ของเหตุระเบิดที่นำไปสู่การเสียชีวิตของมูฮัมหมัด อะลี ราญาอีประธานาธิบดีอิหร่าน พร้อมด้วย มูฮัมมัด ญะวาด บาโฮนาร์ นายกรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอีก 6 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 23 ราย  

    วันที่ 29 สิงหาคมเป็นวันต่อต้านการก่อการร้ายแห่งชาติในอิหร่าน ในวันนี้เมื่อปี พ.ศ. 2524 องค์กร Mojahedin-e-Khalq (หรือเรียกอีกอย่างว่า MKO, MEK, PMOI) ได้ระเบิดสำนักงานนายกรัฐมนตรีของอิหร่าน และสังหารประธานาธิบดี มูฮัมหมัด อะลี ราญาอี, นายกรัฐมนตรีมูฮัมมัด-ญะวาด บาโฮนาร์ และเจ้าหน้าที่อีกหลายคน

    ในสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน สัปดาห์ก่อนถึงวันครบรอบการพลีชีพจะถูกกำหนดให้เป็น "สัปดาห์รัฐบาล" เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้นำทางการเมืองที่สำคัญของประเทศ

    เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2524 เกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่เมื่อเหยื่อเปิดกระเป๋าเอกสารที่เต็มไปด้วยวัตถุระเบิดที่นำมาโดยมัซอูด เคชมิรี ซึ่งเป็นสายลับของกลุ่มก่อการร้าย Mojahedin-e Khalq (MKO)

    การโจมตีเกิดขึ้นในช่วงบ่ายที่สำนักงานนายกรัฐมนตรีอิหร่าน บนถนนปาสเตอร์ ในระหว่างการประชุมพิเศษที่มีประธานาธิบดีราญาอี นายกรัฐมนตรีบาโฮนาร์ และเจ้าหน้าที่ทหารและความมั่นคงต่าง ๆ เข้าร่วม

    คนร้ายปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เสิร์ฟชาให้ผู้เข้าร่วมงานและวางกระเป๋าเอกสารที่บรรจุระเบิดไว้ใต้โต๊ะ การสืบสวนในเวลาต่อมาพบว่า กระเป๋าเอกสารดังกล่าวบรรจุทีเอ็นทีมากกว่า 1 กิโลกรัม ซึ่งใกล้เคียงกับเหตุระเบิดที่ฮาฟเตอติร์ เมื่อสองเดือนก่อน รายละเอียดของการโจมตีทั้งสองครั้งถูกเปิดเผยในภายหลัง ทำให้ไม่สามารถนำมาตรการรักษาความปลอดภัยเชิงป้องกันมาใช้ได้

    หลังจากวางระเบิดแล้ว ผู้ก่อการร้ายที่ปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ได้พูดคุยสั้น ๆ กับ โคสโรว์ เตห์รานี หัวหน้าหน่วยข่าวกรอง จากนั้นจึงออกจากการประชุมโดยอ้างว่า เป็นเรื่องเร่งด่วน และได้พบกับผู้ร่วมขบวนการที่จัตุรัสปาสเตอร์ ซึ่งช่วยเขาหลบหนี

    พยานรายงานว่า ระเบิดดังกล่าวระเบิดขึ้นเมื่อเหยื่อเปิดกระเป๋าเอกสาร ส่งผลให้ชั้น 1 และ 2 ของอาคารพังเสียหาย การระเบิดดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิต 8 ราย และบาดเจ็บอีก 23 ราย ซึ่งถูกนำส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีบาดแผลไฟไหม้รุนแรง ต่อมาได้มีการระบุตัวตนของ บาโฮนาร์ และ ราญาอี จากบันทึกทางทันตกรรม

บาโฮนาร์ และ ราญาอีเป็นใคร?

    เหยื่อที่มีชื่อเสียงที่สุดสองรายจากการโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายคือ ฮัมหมัด อะลี ราญาอีประธานาธิบดีอิหร่าน และมูฮัมมัด ญะวาด บาโฮนาร์ นายกรัฐมนตรีอิหร่าน

    ราญาอี ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Tarbiat Moallem และเป็นอาจารย์สอนคณิตศาสตร์ เสียชีวิตขณะมีอายุได้ 48 ปี หลังจากชัยชนะของการปฏิวัติอิสลามในปี 1979 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นครั้งแรก โดยดำรงตำแหน่งอยู่ 7 เดือน

    จากนั้นในช่วงกลางทศวรรษ 1980 เขาได้เข้าสู่รัฐสภาอิหร่านหรือ Majles ในฐานะตัวแทนของประชาชนชาวเตหะราน เขาดำรงตำแหน่งดังกล่าวเป็นเวลา 15 เดือน

    ราญาอีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี และหลังจากที่ อบูฮัสซัน บานิซาดร์ ถูกปลดออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี เขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนที่สอง โดยมีคะแนนเสียงมากกว่า 13 ล้านคะแนน

    บาโฮนาร์เป็นนักศาสนศาสตร์อิสลามที่มีชื่อเสียง สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัย Qom และมหาวิทยาลัยเตหะราน ซึ่งเขาได้รับปริญญาเอก บาโฮนาร์ เสียชีวิต (มรณสักขี) ขณะมีอายุได้ 47 ปี

    นอกจากนี้ เขายังทำหน้าที่เป็นเลขาธิการพรรคสาธารณรัฐอิสลาม (Islamic Republican Party)หลังจากการสละชีพของอยาตุลลอฮ์ ฮุเซน เบเฮชติ และเขายังเป็นสมาชิกของสมัชชาผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐธรรมนูญที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของอิหร่านอีกด้วย

    ทั้งบาโฮนาร์และราญาอีพร้อมด้วยเหยื่อจากเหตุระเบิดฮาฟเตตีร์ก่อนหน้านี้ ได้รับการฝังไว้ในสุสานฮาฟเตตีร์ที่สุสานเบเฮชท์-เอ ซะฮ์รอ ทางตอนใต้ของเตหะราน

    นอกจาก บาโฮนาร์ และ ราญาอี แล้ว ยังมีผู้พลีชีพอีก 6 รายจากเหตุระเบิดครั้งนี้ด้วย

    ในกรุงเตหะราน เมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคม การพิจารณาคดีครั้งที่ 15 ในคดีอาชญากรรมของสมาชิกกลุ่มก่อการร้าย Mujahedin-e Khalq Organization (MKO)

    การพิจารณารอบใหม่นี้จัดขึ้นที่ศาลอาญาแห่งที่ 11 ในจังหวัดเตหะราน ในคดีที่พิจารณาโดยบุคคลธรรมดา 104 ราย รวมถึงนิติบุคคล 1 รายในทางลับ

    ผู้พิพากษาเดห์กานี ซึ่งเป็นประธานในการพิจารณาคดีครั้งนี้ กล่าวว่า ได้ส่งหนังสือแจ้งการพิจารณาคดีไปยังจำเลยทั้งหมดในคดี ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญาอิสลามแห่งอิหร่านแล้ว และเน้นย้ำว่า จำเลยทั้งหมดไม่ได้ว่าจ้างทนายความหรือยื่นคำให้การต่อศาล

    MKO ได้ก่อเหตุโจมตีทางการก่อการร้ายต่อพลเรือนชาวอิหร่านและเจ้าหน้าที่รัฐมาแล้วหลายครั้ง นับตั้งแต่ชัยชนะในการปฏิวัติอิสลามในปี 2522 จากชาวอิหร่านเกือบ 17,000 คนที่เสียชีวิตจากการโจมตีทางการก่อการร้ายในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา มีเหยื่อจากการก่อการร้ายของ MKO ประมาณ 12,000 คน


ที่มา : สำนักข่าว mehrnews

Copyright © 2024 SAHIBZAMAN.NET- สื่อเรียนรู้สำหรับอิสระชนคนรุ่นใหม่

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 555 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

21605282
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
15298
52506
322784
20904429
1089819
2496676
21605282

ส 21 ก.ย. 2024 :: 06:50:56