ครรลองจริยธรรม
Powered by OrdaSoft!
No result.

เสรีภาพของมนุษย์ในวจนะของท่านอิมามอะลี (อ.) ความจริงประการหนึ่งเกี่ยวกับเสรีภาพของมนุษย์ที่ถูกนำเสนอเมื่อ 1400 ปีที่ผ่านมาโดยอิสลาม นับว่าเป็นเรื่องที่น่าพิจารณาใคร่ครวญ ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงเวลานั้น “เสรีภาพ” ไม่ได้ถูกรู้จักในฐานะหลักการสำคัญอันเป็นคุณค่าที่ดีงามประการหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันที่ความเป็นคุณค่าที่ดีงามของเสรีภาพเป็นเรื่องที่ชัดเจนที่ไม่มีใครปฏิเสธได้

การปฏิบัติ (อะมั้ล) ที่ดีที่สุดในรัตติกาลแห่งลัยละตุลก็อดริ์ ค่ำคืนที่ในตลอดทั้งปีจะไม่พบค่ำคืนใดที่มีความดีงามและประเสริฐยิ่งไปกว่าค่ำคืนแห่ง "ลัยละตุลก็อดริ์" การอิบาดะฮ์ (การนมัสการและการเคารพภักดี) ต่อพระผู้เป็นเจ้าในค่ำคืนนี้ประเสริฐกว่าและให้ภาคผลมากกว่าการอิบาดะฮ์หนึ่งพันเดือนในช่วงวันอื่นๆ......

การทดสอบของพระเจ้า ในมุมมองของอิมามอะลี (อ.) ในท่ามกลางเหตุการณ์และการทดสอบต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาแห่งยุคสุดท้ายของโลก (อาคิรุซซะมาน) นี้ มนุษย์จะต้องคิดที่จะพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ หรือในคำพูดโดยสรุป คือการรักษาความสมบูรณ์ของศาสนาไว้ให้ได้ และจะต้องให้ความสำคัญและวิงวอนขอ……

สามระดับขั้นของการถือศีลอดจากคำรายงานของอิมามอะลี (อ.)  คำรายงานบทหนึ่งของท่านอิมามอะลี (อ.) ได้แบ่งการถือศีลอดไว้สามระดับที่แตกต่างจากการถือศีลอดของท้อง (การงดเว้นจากการกินและการดื่ม) เป็นระดับที่ต่ำที่สุดของการถือศีลอด.....

เมื่อทูตแห่งความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า มาเยือน ณ ประตูบ้านหลังหนึ่ง ชั้นฟ้าทั้งหลายแทบจะพังทลายลงมาจากเบื้องบนของมัน ขณะที่มะลาอิกะฮ์ต่างก็แซ่ซ้องสรรเสริญสดุดีต่อองค์พระผู้อภิบาลของพวกเขา และขออภัยให้แก่ผู้ที่อยู่ในโลกนี้ พึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้น พระองค์เป็นผู้ทรงอภัยยิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ

ความกลัวโทษทัณฑ์และความหวังในความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า เราทุกคนทราบดีว่าหนึ่งในคุณลักษณะ (ซิฟัต) อันวิจิตรและสูงส่งของพระผู้เป็นเจ้าคือ พระองค์ทรงไว้ซึ่งความเมตตาอันสูงสุด นี่คือเหตุผลที่ทำให้มนุษย์ส่วนใหญ่เกิดความลำพองใจ และเป็นเหตุทำให้พวกเขาอาจหาญในการทำความชั่วและละเมิดฝ่าฝืนต่อพระผู้เป็นเจ้า.... 

ระเบียบวินัยและความพอประมาณในการประกอบ (อิบาดะฮ์) ความมีระเบียบ คือปรากฏการณ์หนึ่งซึ่งการสร้างสรรค์สรรพสิ่งมีอยู่ทั้งมวลเกิดขึ้นด้วยสื่อของมัน พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงรอบรู้ทรงสร้างโลกและจักรวาลนี้ขึ้นมาบนพื้นฐานของมัน โดยที่นักวิชาการท่านหนึ่งได้กล่าวว่า “ในโลกของการสร้างสรรค์ เท่าที่สติปัญญาและความรู้ของมนุษย์ได้รับรู้มันนั้น ไม่มีสิ่งใดที่ปราศจากความมีระบบระเบียบและความละเอียดอ่อน

ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับพฤติกรรมของมนุษย์ หนึ่งในปัจจัยหลักสำหรับการพัฒนาและการขัดเกลาคุณธรรม จริยธรรมและศีลธรรม คือประเภทของอาหารในด้านของการเป็นที่อนุมัติ (ฮะล้าล) และต้องห้าม (ฮะรอม) ตามศาสนบัญญัติ อาหาต่างๆ ที่หลากหลาย ชนิดของอาหารที่จะบริโภค ถือเป็นประเด็นที่สำคัญ....

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 497 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

24779300
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
29208
52431
206682
24215661
1044965
1618812
24779300

พฤ 21 พ.ย. 2024 :: 16:41:12