ครรลองจริยธรรม
- รายละเอียด
- เขียนโดย Sahibzaman Taem
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 3711
ในเดือนนี้ ผู้ถือศีลอดได้รับโอกาสที่จะทำให้ตักวา (ความยำเกรงพระผู้เป็นเจ้า) เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงในชีวิตของเขา และหนึ่งในแนวทางที่จะได้มาซึ่งตักวานั้นก็คือ "มุฮาซะบะฮ์" มุฮาซะบะฮ์นั้นหมายถึง การตรวจสอบตนเอง หากเราพบว่าตนเองได้กระทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นความดีแล้ว เราก็จะวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าให้เราประสบความสำเร็จที่จะดำเนินสิ่งนั้นต่อไป
- รายละเอียด
- เขียนโดย Sahibzaman Taem
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 1623
อีกมิติหนึ่งของการถือศีลอดนั้น เกี่ยวข้องกับด้านทางสังคม โดยที่ผู้ถือศีลอดจะรับรู้และเข้าใจถึงสภาพของบรรดาผู้ยากจนและคนขัดสนของสังคม ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีใครสามารถที่จะอ้างได้ว่า ผมจะทำการช่วยเหลือคนยากจนเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็มแทนการถือศีลอดหนึ่งเดือนในเดือนรอมฎอน
- รายละเอียด
- เขียนโดย Sahibzaman Taem
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 12722
ในการวิเคราะห์ถึงสุขภาพพลานามัยของมนุษย์ จำเป็นจะต้องพิจารณาจากสองด้าน ด้านหนึ่งคือสภาพจิตใจและจริยธรรม ส่วนด้านที่สองคือด้านของร่างกาย เรื่องของสุขภาพพลานามัยเราไม่สามารถมองดูเฉพาะด้านร่างกายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะเราเองก็มีประสบการณ์อยู่เสมอว่า ความทุกข์กังวลของจิตใจ นอกจากจะก่อให้เกิดความบกพร่อง และความแปรปรวนทางความคิดและอารมณ์แล้ว ยังส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อร่างกาย และเป็นสาเหตุนำไปสู่ความเจ็บป่วยอีกด้วย
- รายละเอียด
- เขียนโดย Sahibzaman Taem
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 4548
ปัจจุบันเป็นยุคของความเจริญก้าวหน้าและเทคโนโลยี เราจะพบเห็นปัญหาต่างๆ ของมนุษย์ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน หนึ่งในปัญหาเหล่านี้ก็คือปัญหาความยากจนที่มีอยู่ในโลกขณะนี้ ความยากจนนับว่าเป็นปัญหาหนึ่งที่ร้ายแรงที่สุดในโลกปัจจุบัน
- รายละเอียด
- เขียนโดย Sahibzaman Taem
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 12513
ลักษณะเฉพาะของเสน่ห์ สีสันและความเย้ายวนทางวัตถุของโลกนี้ ก็คือการที่มันมีแรงดึงดูดใจที่ทรงพลังอันยาวไกล แต่เมื่อมนุษย์ได้เข้าไกลมันและได้รับมันมา มนุษย์ก็จะรู้สึกชินชาต่อมัน และสิ่งดังกล่าวก็จะสูญเสียแรงดึงดูดไป เหมือนกับยาเสพติด โดยที่บุคคลทั้งหลายก่อนที่จะได้รับมันมาและเสพมันนั้น มันจะมีความเย้ายวนและแรงดึงดูดใจสำหรับพวกเขา
- รายละเอียด
- เขียนโดย Sahibzaman Taem
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 18942
การครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะโดยวิธีการใดๆ อย่างเช่น โดยการลักขโมย การฉ้อโกง การหลอกลวง การโกงตราชั่ง หรือโดยการแสวงหารายได้ด้วยวิธีที่ไม่สุจริตอื่นๆ ทั้งหมดเหล่านี้ ในสำนวนริวายะฮ์ (คำรายงาน) และฮะดีษเรียกมันว่า “การบริโภคทรัพย์สินต้องห้าม” ซึ่งผลพวงต่างๆ ที่เลวร้ายที่ไม่อาจหลีกหนีได้นั้นได้ถูกเตือนและเน้นย้ำไว้อย่างชัดเจนในตัวบทต่างๆ ของอิสลาม
- รายละเอียด
- เขียนโดย Sahibzaman Taem
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 1187
ในทุกยุคทุกสมัยนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รูปแบบความเชื่อต่าง ๆ มากมาย ได้ปรากฏให้เห็นในหมู่มนุษยชาติทั้งหลาย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ แต่ละกลุ่มชนต่างเรียกร้องเชิญชวนมนุษยชาติไปสู่รูปแบบการศรัทธาและความเชื่อถืออันเป็นเฉพาะ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเหนือมนุษย์ทุกคนที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับหลักการต่าง ๆ ในการศรัทธาและเชื่อถือของตนเอง
- รายละเอียด
- เขียนโดย Sahibzaman Taem
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 1106
พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานว่า : ในวันกิยามะฮ์ (วันแห่งการฟื้นคืนชีพ) ไม่มีผลประโยชน์และความสุขใดๆ ของชีวิตทางโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติและลูกๆ ที่จะยังคุณประโยชน์แก่มนุษย์ และสิ่งเหล่านั้นจะไม่สามารถช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากการลงโทษและความทุกข์ทรมานของวันกิยามะฮ์ (วันแห่งการฟื้นคืนชีพ) ได้เลย มีเพียงสิ่งหนึ่งที่จะมีคุณค่าและยังคุณประโยชน์ และนั่นก็คือ หัวใจที่บริสุทธิ์และดีงาม