ครรลองจริยธรรม

ปรัชญาของการมีชีวิตจากคำสอนของท่านอิมามญะอ์ฟัร อัศซอดิก (อ.) อิมามซอดิก (อ.) กลว่าว่า ไม่มีสาเหตุใดๆ ที่จะมีอิทธิพลหรือมีอำนาจบีบบังคับให้พระองค์สร้างโลกนี้ขึ้นมา และเมื่อเหตุผลนั้นมิใช่เป็นสิ่งจำเป็นแล้ว ดังนั้นเมื่อมุวะหิด (ผู้ศรัทธาในพระเจ้า) คนหนึ่งคนใดจะกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างโลกนี้ขึ้นมาจากพระเมตตาธิคุณของพระองค์ จึงไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่ขัดแย้งต่อหลักเอกภาพ (เตาฮีด) แต่อย่างใด

รางวัลแห่งชัยชนะเหนือการทดสอบ ย่อมได้รับสิ่งทดแทนที่ดีกว่า คัมภีร์อัลกุรอานจะให้การช่วยเหลือมนุษย์ในทุกๆ สภาพการณ์ และไม่เคยทอดทิ้งเขาให้อยู่อย่างเดียวดายในทุกๆ สถานการณ์ การยึดมั่นต่อคัมภีร์อัลกุรอานจะทำให้เกิดความสงบมั่น ความรอดพ้น เกิดความหวัง แสงสว่างและกำลังใจ

บทเรียนหลักความศรัทธา เงื่อนไขการดำรงชีวิตของมนุษย์  บุคคลที่ไม่คิดพิจารณาเกี่ยวกับศาสนาหรือไม่เชื่อเรื่องโลกทัศน์ที่ถูกต้องแล้ว เขาจะไปไม่ถึงจุดสมบูรณ์ของมนุษย์อย่างแน่นอน ทว่าโดยหลักการแล้วไม่สามารถยอมรับได้ว่าเขาคือมนุษย์ที่แท้จริง    

บทเรียนหลักความศรัทธา ความสำคัญในการแสวงหาศาสนา  ในโลกนี้มีสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้และมิใช่สสารหรือวัตถุบ้างไหม ถ้ามีสิ่งดังกล่าวอยู่จริง อยากทราบว่าระหว่างโลกที่เร้นลับ โลกแห่งวัตถุ และความรู้สึกมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และถ้าสิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันจริง ถามว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีสามารถสัมผัสได้ในฐานะผู้รังสรรค์โลกแห่งวัตถุหรือ

บทเรียนหลักความศรัทธา ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา สิ่งที่ต้องการสร้างความเข้าใจกับท่านผู้อ่าน คือ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของศาสนาประเภทเทวนิยม (หลักศรัทธาของอิสลาม) หรือที่เรียกว่าหลักอุซูลุดดีน แต่สิ่งจำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจก่อนอันดับแรกคือ คำว่าศาสนา ในทัศนะของเทวนิยม เนื่องจากตามหลักตรรกศาสตร์แล้วจะเห็นว่ารากฐานสำคัญสำหรับการคิดคือ การอธิบายหรือการให้คำจำกัดความต่อสิ่งนั้นเป็นอันดับแรกก่อนอธิบายถึงเนื้อหาสาระ

ปรัชญาการละหมาดและการสรรเสริญอัลลอฮ์ (ซบ.) ในอิสลาม ปรัชญาการละหมาดในอิสลาม การละหมาดและการสรรเสริญอัลลอฮ์ (ซบ.) พระผู้เป็นเจ้า คือการสื่อสารระหว่างมนุษย์และพระเจ้า ระหว่างสิ่งถูกสร้างกับพระผู้สร้างที่ใกล้ชิดที่สุด การละหมาดมอบความอบอุ่นและความสงบเยือกเย็นให้แก่หัวใจที่ถูกทำให้อ่อนล้ากระวนกระวายและปั่นป่วน

ความพอเพียง ประตูแห่งความสุขสบาย  โดยสัญชาติญาณทางธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนมีความต้องการความสงบสุขและความสะดวกสบาย และหนึ่งในสิ่งที่จะทำให้บรรลุในเรื่องนี้คือคุณลักษณะทางด้านจริยธรรมอันได้แก่ความพอเพียง (กอนาอะฮ์) ความรู้สึกพอเพียงในสิ่งที่ตนเองได้รับนั้น จะทำให้เขาสัมผัสกับความหวานชื่นของความพึงพอใจ และจะไม่รู้สึกถึงความโลภหลง

ย่างก้าวแห่งการแสวงหาความรู้เทียบเท่ากับการเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า(อิบาดะฮ์) 1 ปี! ในคำสอนต่างๆ ของศาสนาอิสลามนั้น การแสวงหาความรู้ถูกเน้นย้ำไว้อย่างมากมาย และถูกกำชับแก่มนุษย์ว่า “จงแสวงหาความรู้นับจากเปลนอนจนกระทั่งถึงหลุมฝังศพ” และในหลายวาระเช่นกันที่ได้กำชับสั่งเสียให้ศึกษาเรียนรู้ความรู้ต่างๆ ที่จำเป็นและมีประโยชน์

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 160 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

26406407
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
5091
8184
40599
26283640
24374
234739
26406407

พฤ 03 ก.ค. 2025 :: 19:44:17