การไม่กระทำบาป การระวังรักษาจิตใจให้อยู่ในความสะอาดบริสุทธิ์ การดำรงตนอยู่ในความสำรวมตน การมีตักวา (ความยำเกรงพระผู้เป็นเจ้า) และการมีจิตมุ่งตรงต่อพระผู้เป็นเจ้า คือส่วนหนึ่งจากเงื่อนไขในการการตอบรับการกระทำความดี (อะมั้ล) ของมนุษย์ ดังนั้นใครก็ตามที่แม้เขาจะกระทำนมาซ แต่ในขณะเดียวกันเขายังกระทำบาป ยืนกรานในการกระทำดังกล่าวและไม่กลับเนื้อกลับตัว (เตาบะฮ์) ความชั่วและความผิดบาปนั้นจะเป็นสาเหตุทำให้การนมาซของเขาไม่ถูกยอมรับจากพระผู้เป็นเจ้า แม้ว่าในแง่ของศาสนบัญญัตินั้นการนมาซของเขาจะถูกต้องและไม่จำเป็นต้องกระทำชดเชย (กอฎออ์) ก็ตาม
ในทุกยุคและทุกๆ ช่วงเวลาในประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติ ทั้งในฝ่ายของธรรมะและฝ่ายอธรรม จะพบว่ามีบุคคลจำนวนหนึ่งที่แสดงตนขึ้นมาเพื่อรับบทบาทการเป็นผู้นำของกลุ่มชนในฝ่ายของตน บุคคลที่อยู่ในฝ่ายธรรมะคืออิมาม (ผู้นำ) แห่งทางนำ ส่วนบุคคลที่อยู่ในฝ่ายตรงข้ามคืออิมาม (ผู้นำ) แห่งความหลงผิด
ในการเปรียบเทียบระหว่างแนวทางของอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) กับการปกครองของบนีอุมัยยะฮ์นั้น ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างมากมาย โดยกล่าวว่า : "อย่ากดดันประชาชน คุณไม่รู้หรือว่ากฎของอูไมแยดนั้น มีทั้งดาบและพละกำลังและแรงกดดันและการกดขี่ ......
"ในอิสลาม "การทำดีต่อผู้อื่น" การแสดงเพื่อตอบโต้ต่อการกระทำที่ไม่ดีต่างๆ ของพวกเขาถูกนับว่าเป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อื่น ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นสื่อในการดึงดูดและปรับปรุงพฤติกรรมของพวกเขาเท่านั้น แต่ยังจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของสังคมอีกด้วย"...
แกนหลักของบรรดาผู้ศรัทธานั้น คือ พระผู้เป็นเจ้า ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) และจำเป็นเหนือพวกเขาที่จะต้องรวมตัวและประสานสัมพันธ์ต่อกันในทุกๆ กิจการบนแกนหลักนี้ และจงหลีกเลี่ยงจากความแตกแยกและการออกห่างจากกัน เพื่อจะทำให้พวกเขาบรรลุสู่เป้าหมายต่างๆ แห่งความศรัทธา (อีหม่าน) ของตน.....
มี 742 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์