การให้อภัย คือคุณลักษณะที่งดงามยิ่งประการหนึ่ง ที่เป็นเครื่องแสดงถึงระดับความสมบูรณ์และความสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิบัติดีต่อคนที่กระทำไม่ดีต่อเรา มันคือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความมีเกียรติ ความอดทนอดกลั้น ความมีจิตใจที่กว้างขวาง ความอ่อนน้อมถ่อมตนและคุณลักษณะต่าง ๆ ในตัวของผู้ให้อภัย ...
หนึ่งในเป้าหมายของท่านอิมามโคมัยนี (ร.ฮ.) ในการต่อสู้กับภัยคุกคามของชาวยิว คือ การเผชิญหน้าและการจัดการกับกลยุทธ์การขยายอำนาจและดินแดนของเนื้อมะเร็งนี้ ในภูมิภาคและโลกอิสลาม ซึ่งถูกกล่าวถึงในนาม "การสร้างมหานครอิสราเอล จากแม่น้ำไนล์ถึงยูเฟรตีส"...
เดือนรอมฎอนอันจำเริญซึ่งประตูแห่งฟากฟ้าได้ถูกเปิด เป็นโอกาสที่ดีที่สุดในสำหรับการสารภาพผิด (เตาบะฮ์) และหวนกลับสู่ความเมตตาและการอภัยโทษของพระผู้เป็นเจ้า....
“ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ชี้ถึงรางวัลที่ยิ่งใหญ่สามประการของการพยาบาลและการดูแลผู้ป่วย ชึ่งหนึ่งในรางวัลเหล่านั้นคือการช่วยเหลือของบรรดาทูตสวรรค์ (มลาอิกะฮ์) ในการผ่านข้ามความน่าสะพรึงกล้วต่างๆ ในวันแห่งการฟื้นคืนชีพไปสู่สรวงสวรรค์”
โองการต่างๆ ของคัมภีร์อัลกุรอานและบรรดาฮะดีษของอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) ชี้ให้เห็นว่าการคุกคามและการทำร้ายผู้อื่นนั้นไม่เพียงจะนำไปสู่โทษทัณฑ์ในปรโลกเท่านั้น แต่ยังจะทำให้ชีวิตทางโลกนี้เป็นเหมือนนรกที่ที่จะนำความทุกข์ยากมาสู่มนุษย์...
การไม่กระทำบาป การระวังรักษาจิตใจให้อยู่ในความสะอาดบริสุทธิ์ การดำรงตนอยู่ในความสำรวมตน การมีตักวา (ความยำเกรงพระผู้เป็นเจ้า) และการมีจิตมุ่งตรงต่อพระผู้เป็นเจ้า คือส่วนหนึ่งจากเงื่อนไขในการการตอบรับการกระทำความดี (อะมั้ล) ของมนุษย์ ดังนั้นใครก็ตามที่แม้เขาจะกระทำนมาซ แต่ในขณะเดียวกันเขายังกระทำบาป ยืนกรานในการกระทำดังกล่าวและไม่กลับเนื้อกลับตัว (เตาบะฮ์) ความชั่วและความผิดบาปนั้นจะเป็นสาเหตุทำให้การนมาซของเขาไม่ถูกยอมรับจากพระผู้เป็นเจ้า แม้ว่าในแง่ของศาสนบัญญัตินั้นการนมาซของเขาจะถูกต้องและไม่จำเป็นต้องกระทำชดเชย (กอฎออ์) ก็ตาม
ในกัรบาลา มีบุคคลสองท่านที่เป็น “บาบุลฮะวาอิจญ์” (ประตูแห่งการวิงวอนขอความต้องการต่างๆ จากอัลลอฮ์) ซึ่งการ “ตะวัซซุ้ล” ผ่านบุคคลทั้งสองจะได้รับการตอบรับจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) อย่างง่ายดาย ท่านหนึ่งคือ กอมัรบนีฮาชิม หรือท่านอบัลฟัฎลิ์ อัลอับบาส และอีกท่านหนึ่งคือ ท่าน “อะลี อัสฆัร” แม้ว่าเด็กทารกผู้นี้จะมีอายุเพียงหกเดือน แต่ท่านเป็นผู้มีเกียรติยิ่ง ณ อัลลอฮ์ (ซ.บ.)...
ในกัรบะลา อะฮ์ลุบัยติ์ (อ.) แต่ละท่าน จะมีตัวแทนของตนเข้าร่วมในสมรภูมิแห่งกัรบะลา แม้แต่ท่านอิมามฮะซัน (.อ) ก็เช่นกัน ซึ่งมีบุตรชายของท่านเป็นตัวแทน คือ ท่านกอซิม (อ.)....
ในคืนที่ห้าของมุฮัรรอมเราจะมาเป็นแขกของ “ท่านอิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา (อ.)” (ซิบฏุลอักบัร ของท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ)) ซึ่งบุตรชายสองคนของท่าน (คือกอซิมและอับดุลลอฮ์) ได้เป็นชะฮีดในเหตุการณ์กัรบะลาอ์ และอีกคนหนึ่ง (คือฮะซัน มุซันนา) ได้รับบาดเจ็บสาหัสและได้รอดชีวิต....
ก่อนการเดินทางสู่กัรบะลา ท่านอับดุลลอฮ์ บินญะอ์ฟัร ซึ่งเนื่องจากป่วยและมีอายุมมากจึงได้รับการยกเว้นจากการเดินทางไปยังกัรบะลา แต่ท่านได้ส่งบุตรชายสองคนผู้เป็นแก้วตาดวงใจของตน คือ อูนและมุฮัมมัด ให้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับท่านหญิงซัยนับ (ซะลามุลลอฮิ อะลัยฮา) ผู้เป็นมารดา...
ในคืนที่สามของมุฮัรรอมเราจะมาเป็นแขกของ "ฮุร บินยาซีด ริยาฮี" ผู้เป็นสัญลักษณ์ของเสรีภาพและความเป็นอิสระชน เรื่องราวของ "ฮุร บินยาซีด ริยาฮี" เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่แปลกประหลาดที่สุดและเป็นบทเรียนสอนใจมากที่สุดในกัรบะลา เขาเป็นนักรบที่กล้าหาญและเป็นผู้บัญชาการที่แข็งแกร่ง บางคนถือว่าเขาเป็น "บุรุษผู้กล้าหาญที่สุดแห่งกูฟะฮ์"
กองคาราวานของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้ออกเดินทางจากนครมักกะฮ์ในวันที่แปดของเดือนซุลฮิจญะฮ์ ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 60 และมาถึงยังแผ่นดินกัรบาลาในวันที่สองของเดือนมุฮัรรอม ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 61 หลังจากที่บนีอุมัยยะฮ์ ได้กดดันให้ท่านอิมามฮุเซน (อ.) เพื่อให้สัตยาบันต่อยาซีด ...
มี 922 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์