ศาสดาวงศ์วานผู้ทรงเกียรติ

การสมรสระหว่างอิมามอะลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) อยู่ในบทใดของอัลกุรอาน  1 ซุลฮิจญะฮ์ วันครบรอบการสมรสระหว่างอิมามอะลีและท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) เมื่อพิจารณาถึงโองการต่างๆ ของคัมภีร์อัลกุรอานสามารถกล่าวได้ว่า มีสองแห่งที่อัลกุรอานได้ชี้ถึงการสมรสระหว่างท่านอิมามอะลี (อ.) กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.)  บุตรีของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ซึ่งผลของการแต่งงานครั้งนี้ได้นำมาความดีงามและความจำเริญอันมากมายสำหรับมนุษยชาติ ซึ่งจะได้กล่าวถึงในเนื้อหาต่อไปนี้

การเป็นชะฮีด (มรณสักขี) ของท่านอิมามญะวาด (อ.) รัฐบาลอับบาซียะฮ์ได้เรียกตัวท่านอิมามญะวาด (อ.) ไปยังกรุงแบกแดดสองครั้ง การเดินทางครั้งแรกในสมัยของมะมูนนั้นไม่ยาวนานนัก ครั้งที่สอง ในปี ฮ.ศ. 220 ท่านได้ไปยังกรุงแบกแดดตามคำสั่งของมุอ์ตะซิม อับบาซี และได้ถูกสังหาร (มรณสักขี) ในเดือนซุลเกาะดะฮ์ในปีเดียวกันนั้น...

สถานภาพทางความรู้ (อิลม์) ในทัศนะของอิมามมุฮัมมัดญะวาด (อ.) โดยพื้นฐานแล้วในทัศนะของท่านอิมามญะวาด (อ.) นั้น ท่านถือว่าความรู้ (อิลม์) คือหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้คนเราบรรลุสู่ความสมบูรณ์ต่างๆ ทั้งในชีวิตทางโลกนี้และปรโลก ความรู้นั้นเปรียบประดุจดวงประทีปที่คอยส่องแสงสว่างแก่ปัญญาของมนุษย์.....

สองปัจจัยแห่งความผาสุกในคำพูดของอิมามริฎอ (อ.)  ท่านอิมามริฎอ (อ.) ซึ่งเราอยู่ในช่วงวันคล้ายวันถือกำเนิด (วิลาดัต) ของท่าน (วันที่ 11 ซุลเกาะดะฮ์ ) ท่านได้แนะนำให้รับรู้ถึงบรรทัดฐานประการหนึ่งสำหรับการมีชีวิตที่มีความผาสุกนั่นคือ การมีบ้านที่กว้างขวางและการมีเพื่อนหรือหมู่มิตรมากมาย ในทัศนะของท่านอิมามริฎอ (อ.) ความกว้างขวางของบ้านและการมีหมู่มิตรมากมายนั้น คือปัจจัยแห่งความผาสุกในชีวิตของมนุษย์

อิมามริฎอ (อ.) ผู้ทรงความรู้แห่งวงศ์วานของศาสดา (ซ็อลฯ)  อิมามแต่ละท่านจะมีสมญานามเฉพาะของท่าน ซึ่งชี้ให้เห็นถึงบทบาทและสถานภาพที่สำคัญของพวกท่านที่มีต่ออิสลามและประชาคมอิสลาม ถึงแม้ว่าในเนื้อหาต่างๆ ทางศาสนาจะกล่าวถึงอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ทั้งหมดในฐานะ [کلّهم نور واحد] (ทุกท่านเหล่านั้นคือนูร (รัศมี) หนึ่งเดียวกัน)..

วจนะของอิมามริฎอ (อ.) : การมีความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์ต้องอยู่คู่กับการกระทำ  ความรักต่อวงศ์วานของมุฮัมมัด (ซ็อลฯ) โดยปราศจากการกระทำ (อะมั้ล) และความพยายามนั้นไม่เกิดประโยชน์อันใด และความพยายามและการกระทำ (อะมั้ล) โดยปราศจากความรักต่อวงศ์วานของมุฮัมมัด (ซ็อลฯ) นั้นก็จะไม่ยังคุณประโยชน์อันใดเช่นกัน

อิมามริฎอ (อ.) ผู้แผ่ขยายความรู้จากอะฮ์ลุลบัยต์สู่การฟื้นฟูวิชาการในยุคสมัย ความเจริญก้าวหน้าด้านวิชาการและการแผ่ขยายของแนวทางจากวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ (อ) ในสมัยของท่านอิมามริฎอ (อ.) คือส่วนหนึ่งจากภารกิจหน้าที่ต่างๆ ที่สำคัญของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านอิมามริฎอ (อ.) ในด้านหนึ่งนั่นคือ.....

สถานภาพอันสูงส่งของท่านอิมามซอดิก (อ.) ในมุมมองของบรรดานักวิชาการผู้มีชื่อเสียงของอิสลาม  อิมามญะอ์ฟัร อัซซอดิก (อ.) อิมามท่านที่ 6 แห่งสายธารอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) ถือกำเนิดในปี ฮ.ศ. 80 หรือ 83 และเสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 148 ในนครมะดีนะฮ์ อิมามญะอ์ฟัร อัซซอดิก (อ.) เป็นผู้ที่มีสถานะอันสูงส่งทางด้านวิชาการและสั่งสอนอยู่ในเมืองมะดีนะฮ์ ในเนื้อหาสั้นๆ นี้เราจะมาพิจารณาถึงสถานภาพอันสูงส่งของท่านอิมามซอดิก (อ.) ในมุมมองของบรรดานักวิชาการผู้มีชื่อเสียงของอิสลาม.

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 176 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

25824132
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1070
10878
21221
25771458
11948
136052
25824132

พ 02 เม.ย. 2025 :: 07:38:25