ศาสดาวงศ์วานผู้ทรงเกียรติ

ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) แบบอย่างของความเมตตาและความเอื้ออาทร  คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวถึงนามชื่อของบรรดาศาสดามากกว่า 25 ท่าน พร้อมกับกล่าวถึงคุณลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของแต่ละท่านไว้ แต่เมื่อเอ่ยถึงศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) อัลกุรอานไม่ได้หยิบยกแค่เพียงคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของท่านเพียงเท่านั้น แต่พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า :“แท้จริงเจ้าคือผู้ตั้งมั่นอยู่บนจริยธรรมอันยิ่งใหญ่”

ท่านหญิงคอดิญะฮ์ (อ.) ภรรยาผู้เป็นที่รักยิ่งของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)  เนื่องด้วยวันที่ 10 เดือนรอบีอุ้ลเอาวัล เป็นวันคล้ายวันสมรสของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) กับท่านหญิงคอดีญะฮ์ (อ.) จึงถือเป็นโอกาสที่ดีงามที่เราจะมารับรู้ถึงความประเสริฐบางประการของท่านหญิง (อ.) ผู้เป็นภรรยาที่รักยิ่งที่สุดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ).....

8 รอบิอุ้ลเอาวัล วันครบรอบปีการเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮะซัน อัสกะรี (อ.)  วันที่ 8 เดือนรอบิอุ้ลเอาวัล เป็นวันครบรอบปีการเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮะซัน อัสกะรี (อ.) อิมาม (ผู้นำ) ท่านที่ 11 แห่งวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ท่านอิมามผู้ถูกอธรรมที่ในตลอดช่วงอายุขัยที่แสนสั้นของท่านต้องทนแบกรับความทุกข์ทรมานและการกดขี่ต่างๆ อย่างมากมาย......

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เสียชีวิตโดยธรรมชาติหรือเป็นชะฮีด? ความคลุมเครือเกี่ยวกับการเสียชีวิต (วะฟาต) ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) หนึ่งในความอธรรมที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้รับภายหลังการจากไปของท่าน นั่นคือจวบจนถึงวันนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า ท่านเสียชีวิต (วะฟาต) โดยธรรมชาติ เนื่องจากความเจ็บป่วยหรือด้วยการเป็นชะฮีด ในขณะที่มุสลิมโดยทั่วไปจะรับรู้ว่า ท่านเสียชีวิตเนื่องจากความอาการป่วย แต่หากเราพิจารณาในบันทึกทางประวัติศาสตร์บางส่วนเราจะพบว่า มีการชี้ให้เห็นว่า ท่านได้เสียชีวิตอันเกิดจากผลของการถูกวางยาพิษโดยบรรดาศัตรูที่ปรารถนาจะดับรัศมี (นูร) แห่งพระผู้เป็นเจ้า

 เหตุใด อัรบะอีนอิมามฮุเซน (อ.) จึงมีความสำคัญสำหรับเรา  บรรดาศัตรูของท่านอิมาฮุเซน (อ.) พยายามที่จะทำให้เหตุการณ์กัรบะลาอ์ถูกลืมเลือนไปอย่างสมบูรณ์ และกระทั่งว่าบางครั้งพวกเขาจะจับกุม ทรมานและสังหารบรรดาผู้ที่เดินทางไปเยือน (ซิยาเราะฮ์) ท่านอิมามฮุเซน (อ.) บรรดาผู้ที่รักอิมาฮุเซน (อ.) จะใช้ทุกโอกาสเพื่อต้านทานกับการดำเนินการเหล่านี้ของพวกเขา และหนึ่งในโอกาสดังกล่าวคือเหตุการณ์ในวันอัรบะอีนหรือการครบรอบ 40 วัน ของการเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮุเซน (อ.) โดยปกติแล้วจะเดินเท้าจากเมืองนะญัฟ อัลอัชร็อฟ ไปยังกัรบะลา

อิมามซัจญาด (อ.) ป่วยในเหตุการณ์กัรบะลา ข้อพิสูจน์ (ฮุจญะฮ์) ของพระผู้เป็นเจ้า   นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ได้เขียนว่า ท่านอิมามซัจญาด (อ.) ได้ป่วยในเหตุการณ์กัรบะลา และอาการป่วยนี้คือฮิกมะฮ์ (วิทยปัญญา) และพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อประโยชน์ของประชาชาติ (อุมมะฮ์) อิสลาม ซึ่งอาการป่วยครั้งนี้ทำให้ข้อพิสูจน์ (ฮุจญะฮ์) ของพระผู้เป็นเจ้าได้ถูกพิทักษ์รักษาไว้ในแผ่นดิน....

การรณรงค์และฟื้นฟูรำลึกถึงนามของอิมามฮุเซน (อ.) ตามแนวทางของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์  ในโองการจำนวนมากของคัมภีร์อัลกุรอานได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการรำลึกถึงบรรดาศาสดาของพระผู้เป็นเจ้า และบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ การเล่าขานถึงเรื่องราวที่เป็นอุทาหรณ์และบทเรียนของพวกท่านเหล่านั้น มีจุดประสงค์ที่จะชี้ให้เรารับรู้เพียงในด้านส่วนตัว ด้านครอบครัวหรือเรื่องราวทั่วไปที่เกี่ยวกับชีวิตของบุคคลเหล่านี้เพียงเท่านั้น

ภาระหน้าที่ทางศาสนาในบทเรียนแห่งชีวิต ณ เหตุการณ์กัรบาลา   ความเป็นผู้มีศาสนาหรือมีความมั่นคงอยู่กับศาสนาของบรรดามุสลิมนั้น สามารถรับรู้ได้จากการที่บุคคลผู้นั้นมีความเคร่งครัดและปฏิบัติตามหน้าที่ทางศาสนาที่ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดในทุกๆ ด้านของการดำเนินชีวิตของเขา ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ส่วนบุคคลหรือหน้าที่ทางด้านสังคมก็ตาม...

ผู้เยี่ยมชมอยู่ขณะนี้

มี 31 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

25529132
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
912
5444
17910
25471781
165423
549412
25529132

พ 29 ม.ค. 2025 :: 05:49:21