HOME I หน้าแรก
เบญจธรรม 5 สิ่งที่จะทำให้หัวใจเกิดรัศมี
- รายละเอียด
- หมวด: อัลกุรอาน-อัลฮะดิษ
- ฮิต: 14454
วันหนึ่งท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้กล่าวกับท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า : ห้าสิ่งที่จะทำให้หัวใจเกิดรัศมี ซึ่งได้แก่สิ่งต่อไปนี้ คือ การอ่านบท "กุล ฮุวัลลอฮุ อะฮัด" มากๆ การพูดน้อย การนั่งร่วมกับบรรดาผู้รู้ศาสนา การนมาซในยามค่ำคืน และการเดินไปยังมัสยิด
เยาวชน ช่วงวัยแห่งการตอบแทนความดีต่อบิดามารดา
- รายละเอียด
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 1584
การปกป้องตนเองจากความชั่วร้ายของบรรดาเยาวชนคนหนุ่มสาว ซึ่งในช่วงวัยนี้คือวัยแห่งความเบ่งบาน ความงดงาม หรือเป็นวัยที่จะต้องได้รับการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งเมื่อเราพูดถึงคนในวัยนี้เราจะพบว่า พวกเขาจะมีความคิดเป็นของตัวเอง มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง จึงต้องพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล
ปรัชญาของการมีชีวิตจากคำสอนของท่านอิมามญะอ์ฟัร อัศซอดิก (อ.)
- รายละเอียด
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 63277
อิมามซอดิก (อ.) กลว่าว่า ไม่มีสาเหตุใดๆ ที่จะมีอิทธิพลหรือมีอำนาจบีบบังคับให้พระองค์สร้างโลกนี้ขึ้นมา และเมื่อเหตุผลนั้นมิใช่เป็นสิ่งจำเป็นแล้ว ดังนั้นเมื่อมุวะหิด (ผู้ศรัทธาในพระเจ้า) คนหนึ่งคนใดจะกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างโลกนี้ขึ้นมาจากพระเมตตาธิคุณของพระองค์ จึงไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่ขัดแย้งต่อหลักเอกภาพ (เตาฮีด) แต่อย่างใด
สถานภาพอันสูงส่งของท่านอิมามซอดิก (อ.) ในมุมมองของบรรดานักวิชาการผู้มีชื่อเสียงของอิสลาม
- รายละเอียด
- หมวด: ศาสดาและวงศ์วานผู้ทรงเกียรติ
- ฮิต: 57949
อิมามญะอ์ฟัร อัซซอดิก (อ.) อิมามท่านที่ 6 แห่งสายธารอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) ถือกำเนิดในปี ฮ.ศ. 80 หรือ 83 และเสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 148 ในนครมะดีนะฮ์ อิมามญะอ์ฟัร อัซซอดิก (อ.) เป็นผู้ที่มีสถานะอันสูงส่งทางด้านวิชาการและสั่งสอนอยู่ในเมืองมะดีนะฮ์ ในเนื้อหาสั้นๆ นี้เราจะมาพิจารณาถึงสถานภาพอันสูงส่งของท่านอิมามซอดิก (อ.) ในมุมมองของบรรดานักวิชาการผู้มีชื่อเสียงของอิสลาม.
สี่สัญลักษณ์ของชาวสวรรค์ ในวจนะของอิมามซอดิก (อ.)
- รายละเอียด
- หมวด: อัลกุรอาน-อัลฮะดิษ
- ฮิต: 59232
ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้ชี้ถึงสัญลักษณ์สี่ประการของชาวสวรรค์ไว้ในฮะดีษ (วจนะ) บทหนึ่งเกี่ยวกับการมีกิริยามารยาทที่ดีและการมีใบหน้าที่ยิ้มแย้ม เป็นหนึ่งในคุณความดีที่ได้รับการเน้นย้ำอย่างมากในคำสอนจากคัมภีร์อัลกุรอานและอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.)....
รางวัลแห่งชัยชนะเหนือการทดสอบ ย่อมได้รับสิ่งทดแทนที่ดีกว่า
- รายละเอียด
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 15365
คัมภีร์อัลกุรอานจะให้การช่วยเหลือมนุษย์ในทุกๆ สภาพการณ์ และไม่เคยทอดทิ้งเขาให้อยู่อย่างเดียวดายในทุกๆ สถานการณ์ การยึดมั่นต่อคัมภีร์อัลกุรอานจะทำให้เกิดความสงบมั่น ความรอดพ้น เกิดความหวัง แสงสว่างและกำลังใจ
บทเรียนหลักความศรัทธา เงื่อนไขการดำรงชีวิตของมนุษย์
- รายละเอียด
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 1165
บุคคลที่ไม่คิดพิจารณาเกี่ยวกับศาสนาหรือไม่เชื่อเรื่องโลกทัศน์ที่ถูกต้องแล้ว เขาจะไปไม่ถึงจุดสมบูรณ์ของมนุษย์อย่างแน่นอน ทว่าโดยหลักการแล้วไม่สามารถยอมรับได้ว่าเขาคือมนุษย์ที่แท้จริง
บทเรียนหลักความศรัทธา ความสำคัญในการแสวงหาศาสนา
- รายละเอียด
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 1082
ในโลกนี้มีสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้และมิใช่สสารหรือวัตถุบ้างไหม ถ้ามีสิ่งดังกล่าวอยู่จริง อยากทราบว่าระหว่างโลกที่เร้นลับ โลกแห่งวัตถุ และความรู้สึกมีความสัมพันธ์กันอย่างไร และถ้าสิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันจริง ถามว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีสามารถสัมผัสได้ในฐานะผู้รังสรรค์โลกแห่งวัตถุหรือ
บทเรียนหลักความศรัทธา ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา
- รายละเอียด
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 1155
สิ่งที่ต้องการสร้างความเข้าใจกับท่านผู้อ่าน คือ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของศาสนาประเภทเทวนิยม (หลักศรัทธาของอิสลาม) หรือที่เรียกว่าหลักอุซูลุดดีน แต่สิ่งจำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจก่อนอันดับแรกคือ คำว่าศาสนา ในทัศนะของเทวนิยม เนื่องจากตามหลักตรรกศาสตร์แล้วจะเห็นว่ารากฐานสำคัญสำหรับการคิดคือ การอธิบายหรือการให้คำจำกัดความต่อสิ่งนั้นเป็นอันดับแรกก่อนอธิบายถึงเนื้อหาสาระ
ปรัชญาการละหมาดและการสรรเสริญอัลลอฮ์ (ซบ.) ในอิสลาม
- รายละเอียด
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 22669
ปรัชญาการละหมาดในอิสลาม การละหมาดและการสรรเสริญอัลลอฮ์ (ซบ.) พระผู้เป็นเจ้า คือการสื่อสารระหว่างมนุษย์และพระเจ้า ระหว่างสิ่งถูกสร้างกับพระผู้สร้างที่ใกล้ชิดที่สุด การละหมาดมอบความอบอุ่นและความสงบเยือกเย็นให้แก่หัวใจที่ถูกทำให้อ่อนล้ากระวนกระวายและปั่นป่วน
อย่าผูกหัวใจไว้กับโลกอันไม่จีรังยั่งยืนนี้
- รายละเอียด
- หมวด: อัลกุรอาน-อัลฮะดิษ
- ฮิต: 1542
ในภาพสะท้อนที่ชัดเจนที่สุดของตักวา (ความยำเกรงและความสำรวมตนต่อพระผู้เป็นเจ้า) คือการที่มนุษย์จะไม่ผูกหัวใจของตนไว้กับโลกอันไม่จีรังยั่งยืนและหลอกลวงนี้ ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กำชับสั่งเสียไว้อย่างมากมายเกี่ยวกับเรื่องความยำเกรงและความสำรวมตนต่อพระผู้เป็นเจ้า และได้กำชับสั่งเสียและตักเตือนไว้อย่างมากมายและชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องของการผูกหัวใจไว้กับโลกนี้
ความพอเพียง ประตูแห่งความสุขสบาย
- รายละเอียด
- หมวด: ครรลองจริยธรรม
- ฮิต: 1409
โดยสัญชาติญาณทางธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนมีความต้องการความสงบสุขและความสะดวกสบาย และหนึ่งในสิ่งที่จะทำให้บรรลุในเรื่องนี้คือคุณลักษณะทางด้านจริยธรรมอันได้แก่ความพอเพียง (กอนาอะฮ์) ความรู้สึกพอเพียงในสิ่งที่ตนเองได้รับนั้น จะทำให้เขาสัมผัสกับความหวานชื่นของความพึงพอใจ และจะไม่รู้สึกถึงความโลภหลง